ทิศทางตลาดทุนไทย รายย่อย VS หุ่นยนต์ไปทางไหนดี งานนี้มีคำตอบจากกูรูแวดวงตลาดทุน 23 มีนาคมนี้

ศุกร์ ๐๖ มีนาคม ๒๐๒๐ ๐๘:๑๑
การลงทุนในตลาดหุ้นเผชิญความผันผวนที่มากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากปัจจัย ทั้งภายในประเทศ และนอกประเทศ ประกอบกับ ปัจจุบันที่กำลังส่งผลกระทบอย่างมากจาก COVID-19 ด้วยปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้กลุ่มนักลงทุนรายย่อยปรับตัวอย่างไร การซื้อขายผ่านระบบโปรแกรมเสนอซื้อ - ขายหุ้นโดยคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติ (Algorithmic Trading) เป็นจุดเปลี่ยนได้หรือไม่ เป็นเรื่องน่าคิด โดยมาร่วมฟังมุมมองของปรมาจารย์ด้านตลาดทุนอย่างรอบด้าน กับงานสัมมนาวิชาการครั้งใหญ่ประจำปี “ทิศทางตลาดทุนไทย รายย่อย VS หุ่นยนต์ไปทางไหนดี” ทั้งมุมมองของนักวิชาการ “ศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช” ที่จะมาให้ความรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ รวมถึง มุมมองของนักลงทุนรายย่อย “คุณวัชระ แก้วสว่าง” การปรับตัว บทบาทของโบรกเกอร์ โดย “คุณพิเชษฐ สิทธิอำนวย” และความคิดเห็นของนักลงทุนสถาบัน โดย “คุณวิน พรหมแพทย์” ร่วมเปิดโลกใบใหม่การลงทุน Algorithmic Trading ตัวช่วยตลาดทุนจริงหรือ
ทิศทางตลาดทุนไทย รายย่อย VS หุ่นยนต์ไปทางไหนดี งานนี้มีคำตอบจากกูรูแวดวงตลาดทุน 23 มีนาคมนี้

ทั้งนี้ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบงานสัมนา ยกเลิกการจัดงานที่ตลท. และสามารถรับชมผ่าน Facebook Live เท่านั้น ผ่านช่องทาง https://www.facebook.com/set.or.th ในวันและเวลาเดิม วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563 เวลา 13.00 น. - 16.00 น.

สถาบันวิทยาการตลาดทุน นักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุนรุ่นที่ 24 (วตท.24) ร่วมกับสมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุน แถลงข่าวการจัดงานเสวนาวิชาการครั้งใหญ่ประจำปี 2563 เพื่อตอบโจทย์นักลงทุนที่ต้องการข้อมูลในยุคแห่งดิจิทัลเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งเสถียรภาพทางการเมือง สงครามการค้า แม้กระทั้ง COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบกับตลาดฯ ในช่วงสั้น ภายใต้หัวข้อสัมมนา “ทิศทางตลาดทุนไทย รายย่อย VS หุ่นยนต์ไปทางไหนดี”

โดยการเสวนานี้ จัดขึ้นเพื่อนำมาประเมินว่าการซื้อขายผ่านระบบโปรแกรมเสนอซื้อ - ขายหุ้นโดยคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติมีผลดีผลเสียอย่างไร ระบบการซื้อขายนี้เกิดจากโบรกเกอร์แข่งขันในการเสนอผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ให้กับนักลงทุนที่มีความต้องการเครื่องมือการลงทุนที่หลากหลาย มีลักษณะของการเข้าออกตลาดได้รวดเร็ว ทำให้ อัลกอร์ เทรดดิ้ง มักถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งในการซ้ำเติมตลาดหุ้น

โดยเฉพาะเมื่อตลาดปรับลดลงแรง หรือการที่สามารถสั่งคำสั่งซื้อตรงผ่านระบบ

DMA (Direct Market Access) ที่อนุญาตให้ผู้ลงทุนสั่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากระบบซื้อขายของนักลงทุนผ่านมายังระบบของโบรกเกอร์ เข้าสู่ระบบซื้อขายของตลาดเพื่อไปจับคู่อัตโนมัตินั้น อาจก่อให้เกิดความได้เปรียบแก่นักลงทุนที่เป็นอัลกอร์เทรดดิ้ง

ทั้งนี้การซื้อขายผ่านอัลกอร์ เทรดดิ้ง (Algorithmic Trading) ในปี 2562 มีสัดส่วนการซื้อขายถึง 1 ใน 4 ของปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ทั้งตลาด ขณะที่สัดส่วนการซื้อหลักทรัพย์ของนักลงทุนรายย่อยโดยเฉลี่ยลดต่ำไปกว่าครึ่ง ของตลาดจริงหรือไม่ การซื้อขายผ่าน อัลกอร์ เทรดดิ้ง ส่งผลต่อการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยเทรดลดน้อยลง ประเด็นเหล่านี้ จึงเป็นข้อถกเถียงที่ในหลายประเทศมีทางออกที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีหรือการจำกัดสัดส่วนของ อัลกอร์ เทรดดิ้ง

ดังนั้น ในการเสวนาครั้งนี้จึงจะเป็นการนำเสนอความคิดเห็นต่อทิศทางของตลาดทุนไทยต่อการเข้ามามีบทบาทของ อัลกอร์ เทรดดิ้ง และการปรับตัวของนักลงทุนรายย่อย เพื่อให้ตลาดทุนไทยไม่พลาดโอกาส และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ภายใต้มุมมองของนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร.อาณัติ ลีมัคเดช ที่จะมาให้ความรู้กับสิ่งที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ มุมมองของนักลงทุนรายย่อย คุณวัชระ แก้วสว่าง การปรับตัวบทบาทของโบรกเกอร์ คุณพิเชษฐ สิทธิอำนวย และความคิดเห็นของนักลงทุนสถาบัน คุณวิน พรหมแพทย์ โดยงานเสวนา “ทิศทางตลาดทุนไทย รายย่อย VS หุ่นยนต์ไปทางไหนดี” จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563

เนื่องด้วยความสนใจที่มีมาก และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อยู่ในช่วงการเฝ้าระวัง เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ทางผู้จัดจึงขอเปลี่ยนรูปแบบงานสัมมนา โดยยกเลิกการเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนไว้ และผู้ที่สนใจ สามารถรับชมผ่านทาง Facebook Live เท่านั้น ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://www.facebook.com/set.or.th ในวันและเวลาเดิม วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563 เวลา 13.00 น. - 16.00 น.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ