มาสเตอร์การ์ดเผยพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน พบว่า 79% ของประชากรทั่วโลก ใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส

ศุกร์ ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๖:๐๓
ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกของมาสเตอร์การ์ดเผย ประชากรเกือบ 8 ใน 10 ใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสในเอเชียแปซิฟิก ช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม การใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสในร้านสะดวกซื้อและร้านขายยามีเปอร์เซ็นต์การเติบโตสูงกว่าการใช้จ่ายที่ไม่ใช่คอนแทคเลส 2.5 เท่าเอเชียแปซิฟิกขึ้นแท่นผู้นำโลกด้านการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลส เชื่อว่าเป็นช่องทางชำระเงินที่ปลอดภัยกว่า
มาสเตอร์การ์ดเผยพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน พบว่า 79% ของประชากรทั่วโลก ใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส

มาสเตอร์การ์ดเผยผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลกที่กำลังเปลี่ยนไป จาก 19 ประเทศ พบว่า การใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสมีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ต่อไปเหมือนเดิมหลังจากผ่านวิกฤติโรคโควิด-19 ครั้งนี้ไปแล้ว

ทั้งนี้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมา หลายประเทศออกกฎระเบียบคุมเข้มมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ทำให้ผู้คนจำนวนมากหันไปใช้จ่ายแบบ “คอนแทคเลส” หรือ “การใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส” ในการจับจ่ายของใช้ในชีวิตประจำวัน จากผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคทั่วโลกของมาสเตอร์การ์ด 79% ของประชากรทั่วโลกและ 91% ของประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า ตอนนี้พวกเขาได้หันมาใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสแล้ว โดยให้เหตุผลเรื่องความปลอดภัยและลดความกังวลในการสัมผัสเงินสดและอุปกรณ์ต่างๆของการชำระเงิน

ทั้งนี้เมื่อต้องออกไปซื้อของข้างนอก พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปสามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อถึงเวลาจ่ายเงินที่แคชเชียร์ ผู้คนเริ่มแสดงความต้องการชำระสินค้าด้วยรูปแบบคอนแทคเลส รวมทั้งแสดงความกังวลเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยของจุดชำระเงิน

ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคของมาสเตอร์การ์ด เผย:

บัตรคอนแทคเลสถูกเก็บเป็นใบแรกๆ ในกระเป๋าเงิน – การคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกในการแตะเพื่อจ่ายทำให้ผู้คนหันมาใช้บัตรคอนแทคเลสมากขึ้น 46% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ทั่วโลกได้เปลี่ยนบัตรชำระเงินที่ใช้เป็นประจำเป็นบัตรที่รองรับระบบคอนแทคเลส เช่นเดียวกันกับ 51% ของประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่หันมาใช้บัตรที่รองรับระบบคอนแทคเลสแล้วเช่นกันผู้คนมั่นใจกับการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลส – โรคโควิด-19 ทำให้เกิดความกังวลในการใช้เงินสดและนำไปสู่ทัศนคติที่ดีต่อการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและความสบายใจ 82% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกมองว่าการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสเป็นช่องทางการชำระเงินที่ลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของเชื้อที่ดีกว่า ซึ่ง 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียแปซิฟิกมองแบบเดียวกัน นอกจากนี้ เพราะการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสเร็วกว่าการใช้จ่ายที่ไม่ใช่คอนแทคเลสถึง 10 เท่า ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้า-ออกร้านค้าได้เร็วขึ้น ผู้คนจึงมีความมั่นใจต่อการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสมากขึ้นการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสจะอยู่กับเราต่อไป – ตอนนี้เป็นช่วงที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับวิธีการชำระเงินเป็นอย่างมาก การใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสในประเทศที่มีการใช้อย่างแพร่หลายอยู่แล้วถูกนำมาปรับใช้มากขึ้นอีก ในขณะเดียวกันก็เกิดการกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเงินแบบคอนแทคเลสในประเทศ ที่วิธีนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จากผลสำรวจ 74% ของประชากรทั่วโลก และ 75% ของประชากรในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า พวกเขาจะยังคงใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสต่อไปแม้จะผ่านวิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ไปแล้ว

“ผลสำรวจของมาสเตอร์การ์ดแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนไปใช้จ่ายแบบคอนแทคเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้วิธีการชำระเงินและการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันของผู้คนเปลี่ยนไป” แซนดีป มอลโฮทรา รองประธานกรรมการบริหารฝ่ายผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มาสเตอร์การ์ด กล่าว “ความจริงที่ว่า 3 ใน 4 ของประชากรมีความตั้งใจที่จะใช้จ่ายแบบคอนแทคเลส หรือ แตะเพื่อจ่ายต่อไป แม้สถานการณ์โควิดจะจบลง เป็นสัญญาณที่ชัดเจนจากผู้บริโภคถึงประโยชน์ของการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสในระยะยาวในเรื่องของความปลอดภัย ความสะอาด ความรวดเร็วและความรับผิดชอบต่อสังคม”

การเติบโตของการใช้จ่ายแบบคอนแทคเลส

มาสเตอร์การ์ดเป็นผู้นำในการผลักดันให้มีการใช้ระบบคอนแทคเลสในการชำระเงินทั่วโลก เพื่อให้มีความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย สอดคล้องกับความต้องการปัจจุบันของผู้บริโภคที่มองหาวิธีที่พวกเขาสามารถเข้า-ออกร้านค้าได้เร็วที่สุดโดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับจุดชำระเงิน มาสเตอร์การ์ดพบว่ายอดการทำธุรกรรมแบบคอนแทคเลสเติบโตกว่า 40% ทั่วโลกในไตรมาสแรกของปี 20201 โดยที่กว่า 80% ของการทำธุรกรรมมีมูลค่าต่ำกว่า 25 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 800 บาท ซึ่งโดยปกติจะเป็นการใช้จ่ายด้วยเงินสดเสียมากกว่า

แม้ว่าแต่ละประเทศจะอยู่ในช่วงที่ต่างกันของการนำคอนแทคเลสมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ด้วยพฤติกรรมและการเลือกวิธีการชำระเงินของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ข้อมูลเชิงลึกจากผลสำรวจของมาสเตอร์การ์ดพบว่า แนวโน้มการจับจ่ายด้วยบัตรคอนแทคเลสเพื่อซื้อสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวันในร้านสะดวกซื้อและร้านขายยาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยที่การใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสทั่วโลกเติบโตสูงกว่าการใช้จ่ายที่ไม่ใช่คอนแทคเลส 2 เท่า1 และ 2.5 เท่าสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก2

ในเดือนที่ผ่านมามาสเตอร์การ์ดได้ประกาศเพิ่มวงเงินสำหรับบัตรคอนแทคเลสใน 50 กว่าประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะในทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน และประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของมาสเตอร์การ์ดในการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค ร้านค้าและธุรกิจขนาดเล็กว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีเครื่องมือในการทำธุรกรรมการเงินที่ปลอดภัยและจะยังคงดำเนินกิจการต่อไปได้ในช่วงวิกฤติโควิดนี้

หมายเหตุ

เปอร์เซ็นต์การเติบโตคำนวณจากเปอร์เซ็นต์ของการทำธุรกรรมแบบคอนแทคเลสเทียบกับเปอร์เซ็นต์ของการทำธุรกรรมแบบที่ไม่ใช่คอนแทคเลส โดยคำนวณเทียบข้อมูลจากเดือนมีนาคมปี 2020 และเดือนมีนาคมปี 2019 ในหมวดหมู่การจับจ่ายใช้สอยตามร้านสะดวกซื้อและร้านขายยา ข้อมูลจาก Mastercard Data Warehouseเปอร์เซ็นต์การเติบโตคำนวณจากเปอร์เซ็นต์ของการทำธุรกรรมแบบคอนแทคเลสเทียบกับเปอร์เซ็นต์ของการทำธุรกรรมแบบที่ไม่ใช่คอนแทคเลส โดยคำนวณเทียบข้อมูลจากเดือนมีนาคมปี 2020 และเดือนกุมภาพันธ์ปี 2020 ในหมวดหมู่การจับจ่ายใช้สอยตามร้านสะดวกซื้อและร้านขายยา ข้อมูลจาก Mastercard Data Warehouse

วิธีการสำรวจ

สัมภาษณ์ผู้บริโภค 17,000 คนใน 19 ประเทศทั่วโลกผ่านช่องทางออนไลน์ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ที่มีบัญชีธนาคารจากประเทศต่อไปนี้ประเทศละ 1,000 คน: สหรัฐอเมริกา แคนาดา (ทวีปอเมริกาเหนือ); ออสเตรเลีย สิงคโปร์ (ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก); สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ (ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา); สหราชอาณาจักร อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน โปแลนด์ รัสเซีย เนเธอร์แลนด์ (ทวีปยุโรป)ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ที่มีบัญชีธนาคารจากประเทศต่อไปนี้ประเทศละ 500 คน: บราซิล คอสตาริกา โดมินิกัน รีพับบลิค โคลอมเบีย (ภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน)ผลการสำรวจถูกจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 10-12 เมษายน 2020มีการสุ่มตัวอย่างที่สามารถใช้เป็นตัวแทนของประชากรประเทศนั้นๆ ได้มีการสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มประชากรต่อไปนี้:Gen Z และมิลเลนเนียลผู้ที่มีฐานะดี (ตามการจำแนกของประเทศนั้นๆ)ผู้ที่ใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสผู้ที่ซื้อของเป็นประจำผู้ที่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคโควิดเป็นอย่างมาก

เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด

มาสเตอร์การ์ด เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกด้านการชำระเงิน เป้าหมายของเราคือการเชื่อมต่อและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้ครอบคลุมและเป็นประโยชน์แก่คนทุกคนในทุกพื้นที่ โดยการทำให้ธุรกรรมการเงินเป็นเรื่องปลอดภัย สะดวก และเข้าถึงได้ ด้วยข้อมูลที่ปลอดภัยและเครือข่ายพันธมิตร ทำให้เรามีนวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ ที่สามารถช่วยบุคคลทั่วไป สถาบันการเงิน รัฐบาล และธุรกิจให้ตระหนักถึงศักยภาพของตัวเอง การทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อคนในองค์กร คือวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนทั้งภายในและภายนอกองค์กรของเรา ด้วยเครือข่ายในกว่า 210 ประเทศและพื้นที่ เราได้สร้างโลกที่ยั่งยืนและปลดล็อคความเป็นไปได้ในหลายๆ ด้าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ