มาตรการป้องกันการระบาดของโคโรนาไวรัสมีผลต่อการเติบโตของรายได้ผู้ประกอบการโทรคมนาคมไทย

พุธ ๒๐ พฤษภาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๒๑
ฟิทช์กล่าวว่ารายได้จากการให้บริการของผู้ประกอบการโทรคมนาคมไทย น่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย ในปี 2563 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงจากสถานะการโคโรนาไวรัส ฟิทช์คาดว่ากระแสเงินสดสุทธิ (Free Cash Flow) ของอุตสาหกรรมจะติดลบในปี 2563 เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการชำระค่าคลื่นความถี่ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอยู่ในระดับสูงกว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงาน

ฟิทช์คาดว่ารายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับผู้ประกอบการโทรคมนาคมไทย จะปรับตัวลดลงร้อยละ 2-3 ในปี 2563 (ปี 2562: ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6) แต่จะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของประเทศไทย ที่ฟิทช์คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 5.1 ฟิทช์เชื่อว่าธุรกิจโทรคมนาคมจะได้รับผลกระทบในระดับจำกัด ในช่วงที่สภาวะทางเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากการสื่อสารและโทรคมนาคมเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของประชาชน

รายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เติบโตในอัตราที่ต่ำในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ที่ร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่หดตัวร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ (ปี 2562: เติบโตร้อยละ 3.6) รายได้จากการให้บริการโรมมิ่งต่างประเทศ (International Roaming) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 ของรายได้จากการให้บริการ ปรับตัวลดลงอย่างมากในอัตราร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งขาเข้าและขาออกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563

นอกจากนี้ รายได้ในไตรมาสที่ 1 ยังได้รับผลกระทบจากการลดลงของจำนวนผู้ใช้บริการ และความล่าช้าของการย้ายฐานลูกค้าจากผู้ใช้บริการระบบเติมเงินไปเป็นระบบรายเดือนซึ่งมีค่าบริการที่สูงกว่า เนื่องจากการปิดศูนย์บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั่วคราว ในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2563 ภายใต้มาตรการป้องกันการระบาดของโคโรนาไวรัส จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ และลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (ไตรมาสที่ 4 ของปี 2562: เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้)

ฟิทช์คาดว่ารายได้จากการให้บริการจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 หากเศรษฐกิจมีการหดตัวมากขึ้นในเดือนเมษายน และพฤษภาคม การปิดการให้บริการของธุรกิจบางประเภทที่ไม่จำเป็นในชีวิตประจำวัน น่าจะเพิ่มแรงกดดันต่อการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ ในขณะที่อัตราการว่างงานที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นอกจากนี้การเติบโตของรายได้ของธุรกิจโทรคมนาคมน่าอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่าการเติบโตของปริมาณใช้งานข้อมูล เนื่องจากผู้ประกอบการมีการแข่งขันในการให้ส่วนลด และการเสนอแพคเก็จแบบใช้ข้อมูลได้แบบไม่จำกัด เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการมีการใช้บริการด้านข้อมูลมากขึ้น

ฟิทช์คาดว่ากระแสเงินสดสุทธิของอุตสาหกรรม จะปรับตัวเป็นลบในปี 2563 ซึ่งสะท้อนแนวโน้มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของฟิทช์ที่เป็นลบในปีนี้ ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (รวมการชำระค่าคลื่นความถี่) ของผู้ประกอบการโทรคมนาคมไทย น่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงที่ประมาณร้อยละ 40 ของรายได้ในปี 2563 เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการชำระคลื่นความถี่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามฟิทช์คาดว่าผู้ประกอบการน่าจะมีความสามารถในการบริหารจัดการอัตราส่วนหนี้สินของบริษัทได้ โดยการปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนในระบบ 5G หรือปรับลดการจ่ายเงินปันผล หากความต้องการใช้บริการต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

ฟิทช์เชื่อว่า ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการชำระค่าคลื่นความถี่ที่อยู่ในระดับสูง น่าจะทำให้อัตราส่วนหนี้สินของผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่สุดของไทย ซึ่งได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จากัด (มหาชน) หรือ AIS (อันดับเครดิตที่ BBB+/AA+(tha) แนวโน้มเครดิตมีเสถียรภาพ) และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่อันดับที่สาม ซึ่งได้แก่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จากัด (มหาชน) หรือ DTAC (อันดับเครดิตที่ BBB/AA(tha) แนวโน้มเครดิตเป็นลบ) ปรับตัวสูงขึ้นในปี 2563 AIS ได้ประกาศว่า ค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนของบริษัท (ไม่รวมการชำระค่าคลื่นความถี่) จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.5-4 หมื่นล้านบาทในปี 2563 จาก 2.3 หมื่นล้านบาทในปี 2562 ถึงแม้ว่า DTAC ยังไม่มีการประกาศค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนสำหรับปี 2563 ฟิทช์คาดว่าบริษัทน่าจะมีค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน (ไม่รวมการชำระค่าคลื่นความถี่) ที่ 1.5-1.8 หมื่นล้านบาทในปี 2563 (ปี 2563: 1.8 หมื่นล้านบาท)

ฟิทช์คาดว่าอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียน (FFO Net Leverage) ของ AIS และ DTAC จะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ระดับ 1.3 และ 1.9 เท่า ตามลำดับ ในปี 2563 จาก 1 เท่า และ 1.7 เท่าในปี 2562 อย่างไรก็ตาม AIS มีอัตราส่วนหนี้สินสุทธิอยู่ในระดับต่ำที่ 0.8 เท่า ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 ซึ่งทำให้บริษัทมีความสามารถในการรองรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นได้ DTAC อาจได้รับประโยชน์จาก Rating Headroom ที่เพิ่มขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การอันดับเครดิตตาม Corporate Rating Criteria โดยภายใต้การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ดังกล่าว ฟิทช์จะพิจารณาค่าเช่าภายใต้สัญญาเช่าทางการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงานของบริษัทในภาคธุรกิจอุตสาหรรมส่วนใหญ่ เป็นค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน แทนที่จะปรับปรุงค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้เป็นหนี้สิน อัตราส่วนหนี้สินที่ปรับปรุงและไม่ปรับปรุงของ DTAC มีความแตกต่างที่ประมาณ 1.2 เท่า ซึ่งสูงกว่าบริษัทอื่นๆ ในธุรกิจโทรคมนาคม โดยหนี้สินที่เกิดจากปรับปรุงค่าใช้จ่ายภายใต้สัญญาเช่าของ DTAC คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47 ของหนี้ที่ปรับปรุงแล้วทั้งหมดของบริษัทในปี 2562

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้