ก.ล.ต. แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการ ก.ต.ท. เห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนใน high yield bond กรณีที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

ศุกร์ ๑๐ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๔:๔๙
คณะกรรมการ ก.ต.ท. เห็นชอบหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในตราสารที่ต่ำกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ (high yield bond) เพื่อช่วยเหลือบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19

ในการประชุมคณะกรรมการกำกับตลาดทุน (ก.ต.ท.) ครั้งที่ 13/2563 โดยนางสาว

รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุน high yield bond ที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ออกตราสารหนี้ high yield bond ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ (bridge financing) สร้างสภาพคล่องและเสถียรภาพให้กับตลาดตราสารหนี้ high yield bond รวมถึงเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนรายใหญ่เปลี่ยนมาลงทุนผ่านมืออาชีพแทนการลงทุนโดยตรงในตราสารดังกล่าว

ในเรื่องนี้ การประชุมคณะกรรมการ ก.ต.ท. เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุน high yield bond และ ก.ล.ต. ได้จัดประชุมหารือร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจแล้วเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563

สำหรับหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนและกลไกคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสมได้มีข้อสรุป ดังนี้

(1) กำหนดประเภทผู้ลงทุน โดยเปิดให้เฉพาะผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่เท่านั้น

(2) สามารถจัดตั้งในรูปแบบกองทุนรวมหรือกองทรัสต์ (โดยจัดตั้งภายในปี 2564)

(3) กำหนดอายุกองทุนไม่น้อยกว่า 2 ปี และเป็นกองทุนปิด (non-redeemable) ซึ่งระหว่างทาง

ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่สามารถขอไถ่ถอนหน่วยลงทุนได้ก่อนครบอายุโครงการ โดยสามารถกำหนดเงื่อนไข การขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (auto redemption) และเสนอขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้

(4) สามารถลงทุนใน high yield bond ซึ่งไม่มีประเด็นเชิงลบเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) สามารถลงทุนได้ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง ส่วนที่เหลือสามารถลงทุนในหลักทรัพย์อื่นที่กองทุนรวมตราสารหนี้สามารถลงทุนได้ และห้ามลงทุนในตราสารหนี้ด้อยคุณภาพ (distressed bond)

(5) มีการกระจายการลงทุนโดยสามารถลงทุนหุ้นกู้ของบริษัทผู้ออกรายใดรายหนึ่งได้ไม่เกิน ร้อยละ 25 ของ NAV ณ วันที่ลงทุน

(6) ยกเว้นหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการกระจุกตัวในการลงทุนของมูลค่าการเสนอขาย

ตราสารหนี้และ/หรือภาระหนี้สินของกิจการที่ลงทุน (concentration limit)

(7) กระบวนการเสนอขายจะต้องมีความรัดกุมเทียบเท่าการขายตราสารที่มีความเสี่ยงสูง และเปิดเผยความเสี่ยงอย่างชัดเจน

(8) กำหนดเงื่อนไขให้บริษัทผู้ออกตราสารหนี้นำเงินที่ระดมได้ไปชำระหนี้หุ้นกู้เดิม หรือใช้ในการดำเนินธุรกิจโดยต้องชำระหนี้หุ้นกู้เดิมเป็นลำดับแรก และจะกำหนดให้มีกลไกบริหารจัดการหรือติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามเงื่อนไข

“การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจจะจัดตั้งกองทุนที่ลงทุนใน high yield bond สามารถดำเนินการได้ในกรอบที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และหากมีการจัดตั้งขึ้น เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งบริษัทผู้ออกตราสารหนี้ ผู้ลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนตลาดทุนและภาวะเศรษฐกิจ” นางสาวรื่นวดี กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4