สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป ให้คำแนะนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน กลยุทธ์สำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19 และเพื่อสร้างการเติบโตระยะยาวในอาเซียน

ศุกร์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๔๕
คณะสภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป (EU-ASEAN Business Council: EU-ABC) คณะทำงานหลักเพื่อภาคธุรกิจของยุโรปในภูมิภาคอาเซียน ได้เผยแพร่ “กำหนดการความก้าวหน้าอาเซียนจากระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” เอกสารดังกล่าว ได้บรรจุโครงร่างของมูลค่าโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาด กลยุทธ์ดังกล่าวเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของภูมิภาคในการรวมกลุ่มของอาเซียน โดย EU-ABC ได้วางกลยุทธ์การใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นตัวเร่งในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมให้คำแนะนำที่ไม่ใช่แค่เพียงบรรเทาความเสียหายทางเศรษฐกิจซึ่งมีสาเหตุมาจากโควิด 19 แต่ยังผลักดันการเติบโตในระยะยาวได้
สภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป ให้คำแนะนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน กลยุทธ์สำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19 และเพื่อสร้างการเติบโตระยะยาวในอาเซียน

ทั้งนี้ โมเดลการผลิตแบบเส้นตรง (Linear Economy คือ การผลิตโดยใช้ทรัพยากรผลิตสินค้า และกำจัดทิ้ง) ซึ่งเป็นรูปแบบการผลิตที่ใช้ทรัพยากรแบบไร้ขีดจำกัด ซึ่งเป็นต้นเหตุและจุดอ่อนของความไม่ยั่งยืน ทั้งนี้ แบบจำลองเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนได้รับการออกแบบมาเพื่อแยกการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการใช้ทรัพยากร ช่วยให้ธุรกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเติบโตได้อย่างสมดุล โดยมีหลักการ 3 ประการ ประกอบด้วย 1) การลดของเสียและมลพิษ 2) การเพิ่มศักยภาพของผลิตภัณฑ์และวัสดุ และ 3) การทำให้ระบบนิเวศทางธรรมชาติมีโอกาสเติบโต โดยหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรที่ใช้ซ้ำไม่ได้

โดนัลด์ แคแนก ประธานสภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป และ Eatspring Investments ได้กล่าวว่า “โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นรากฐานการสร้างความยืดหยุ่น ความพร้อม และขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมทุกระดับ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นเรื่องสำคัญต่อการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจและประชากรของอาเซียน" นายโดนัลล์กล่าวเสริมว่า “กลยุทธ์ของเศรษฐกิจหมุนเวียนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ระดับภูมิภาคที่การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 36 ที่ผ่านมา กล่าวถึง ซึ่งผู้นำกล่าวย้ำถึงความจำเป็นในกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุม ซึ่งมีความเข้มแข็ง มีองค์รวมครอบคลุมทุกเพศทุกวัย และรักษาการเติบโตและอุดมสมบูรณ์ในระยะยาวให้แก่ภูมิภาค”

ขณะที่แนวทางของเศรษฐกิจหมุนเวียนได้เกี่ยวข้องกับการกำจัดของเสียทุกแง่มุม ดังนั้น EU-ABC จึงเน้นถึงความเร่งด่วนของการจัดการกับขยะพลาสติก จากข้อมูลของสหประชาชาติ เมืองต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีขยะพลาสติกมากถึง 60% ของทั่วโลก โดยในเขตเทศบาลเมืองทั่วอาเซียนผลิตขยะพลาสติกถึง 18% ปัญหานี้ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการทิ้งขยะและการเผาขยะที่ไม่ได้รับการควบคุม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่จำกัดต่อการกำจัดขยะพลาสติกที่เหมาะสม

การปฏิบัติเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปในทางที่แย่ลง แต่ยังทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สำคัญสำหรับอาเซียน ทั้งนี้ เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม คาดการณ์ว่าขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะมูลค่า 80,000 – 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ขณะที่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) พบเศษขยะพลาสติกจากภาคการท่องเที่ยว การประมง และอุตสาหกรรมการขนส่ง ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกำจัดขยะราว 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

เลสลี่ ชอง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางและแอฟริกา FrieslandCampina กล่าวว่า “ระบบหมุนเวียนเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินงานอย่างสมดุลกับธรรมชาติ วัตถุประสงค์ของ FrieslandCampina เน้นเรื่องเกี่ยวกับโภชนาการที่ยั่งยืนและการทำให้ห่วงโซ่ทั้งหมดยั่งยืนมากขึ้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมต้องอาศัยความร่วมมือนับตั้งแต่ภาครัฐบาล ผู้บริโภค ผู้ค้าปลีก บริษัท และซัพพลายเออร์ เพื่อผลักดันให้เกิดสิ่งใหม่ เราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการสร้างเศรษฐกิจสีเขียว”

เฮอร์แมนน์ อัลธอฟฟ์ รองประธานอาวุโสหน่วย Performance Chemicals ของ BASF ในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่า “ที่ BASF เรามุ่งมั่นสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อเปลี่ยนการผลิตแบบเส้นตรงเป็นเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน สารเติมแต่งพลาสติกของเราเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดขยะพลาสติก การใช้พลาสติกซ้ำช่วยยืดอายุการใช้งานก่อนนำไปกำจัดทิ้งสำหรับเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน”

คำแนะนำจาก EU-ABC

แนวทางระยะสั้นสำหรับรัฐบาลแห่งชาติ

โอกาสแรกสุดรัฐบาลควรจัดทำกระบวนการที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติก เช่น การเก็บขยะ การแยกขยะ และการนำกลับมาใช้ซ้ำ ควรเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อลดการใช้งานพลาสติกเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ควรจัดให้คำปรึกษาทั้งแบบสาธารณะ และส่วนตัว ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการหารือเกี่ยวกับแผนการริเริ่มที่ยั่งยืนในระยะยาวแนวทางระยะกลางถึงระยะยาวสำหรับรัฐบาลแห่งชาติ

แนวทางระยะกลางถึงระยะยาว รัฐบาลควรพยายามให้การสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เริ่มต้นด้วยการให้การศึกษาและการฝึกอบรมก่อนจะย้ายไปยังศูนย์บ่มเพาะนวัตกรรม ควรกำหนดระเบียบและกรอบการทำงานที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมการจัดเก็บขยะ ด้วยการฝึกอบรมที่เหมาะสมแก่พนักงานในภาคอุตสาหกรรม ท้ายที่สุดการสร้างมาตรฐานของฉลากรีไซเคิลจะช่วยสร้างความมั่นใจในระดับภูมิภาคได้ในระดับอาเซียน

การสร้างความเคลื่อนไหวให้อาเซียน สำนักเลขาธิการอาเซียน สามารถเป็นหัวหอกการวิจัยและสร้างนวัตกรรมให้แก่โพลิเมอร์และบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน ซึ่งใช้เป็นทางเลือกทดแทนการใช้พลาสติกได้ ข้อตกลงกรอบกว้างของอาเซียนเกี่ยวกับมลพิษพลาสติกยังนำมาเจรจาสร้างแนวทางร่วมกันระดับภูมิภาคได้ เพื่อเป็นการยืนยันคำมั่นสัญญาและความสามารถของรัฐสมาชิกในการแก้ไขปัญหาท้าทายร่วมกัน

เอกสารของ EU-ABC ออกเผยแพร่ในเวลาที่เหมาะสมมาถึงในเวลาที่เหมาะสมเนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนเริ่มหารือและดำเนินการตามกลยุทธ์การฟื้นฟูหลัง Covid-19 สร้างโอกาสปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผู้นำอาเซียนมีกำหนดประชุมอีกครั้งผ่านระบบประชุมทางไกล ในวันที่ 30 กรกฎาคมเพื่อหารือถึงแผนการฟื้นฟูหลังเกิดโรคระบาดใหญ่ในภูมิภาค ซึ่งการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้จำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างเด่นชัดมากยิ่งขึ้น อันสำคัญยิ่งต่อการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระยะยาวของอาเซียน แม้ว่าการเติบโตอย่างยั่งยืนจะเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้น ๆ สำหรับผู้นำอาเซียน

การใช้วิธีการแบบหมุนเวียน สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มการค้าขาย และการลงทุนกับคู่ค้าที่มีแนวคิดเหมือนกัน เช่น สหภาพยุโรป และเกาหลีใต้ และผลักดันการสร้างงาน สร้างระบบนิเวศที่ดี ที่ช่วยให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตเจริญเติบโต สถาบันวิจัยเศรษฐกิจสำหรับอาเซียนและเอเชียตะวันออก (ERIA) ยังพบว่าการใช้แบบจำลองเศรษฐกิจหมุนเวียนในเอเชียสามารถนำมาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ 324,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสร้างงาน 1.5 ล้านตำแหน่งภายในปี 2568 ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดต้นทุน กลยุทธ์นี้ จะช่วยฟื้นฟูผลกระทบของ Covid-19 ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน

เอกสารเผยแพร่ ระบุว่าเนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมเป็นอันตรายต่อกลุ่มคนล่างสุดของสังคมมากที่สุด การใช้เศรษฐกิจแบบหมุนเวียนไม่เพียงเป็นสิ่งที่ช่วยต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือสร้างรายได้เพิ่มเติม แต่ยังเป็นสิ่งที่กำหนดอนาคตสำหรับคนอาเซียน รัฐบาลควรเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้น ชี้นำ และเชิญชวนองค์กรต่างๆ ให้เข้าร่วมและรับทราบถึงประโยชน์ของเศรษฐกิจหมุนเวียน

เกี่ยวกับคณะสภาธุรกจิอาเซียน-สหภาพยุโรป

คณะสภาธุรกจิอาเซียน-สหภาพยุโรป EU-ASEAN (EU-ABC) เป็นหน่วยงานหลัก สำหรับธุรกิจในยุโรปที่ทำตลาดครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด

คณะสภาธุรกจิอาเซียน-สหภาพยุโรปได้รับการยอมรับจากคณะกรรมาธิการยุโรปและสำนักเลขาธิการอาเซียนและเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองภายใต้ภาคผนวก 2 ของกฎบัตรอาเซียน จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลผลประโยชน์ของธุรกิจในยุโรปที่ดำเนินงานภายในอาเซียน และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างยุโรปและภูมิภาคอาเซียน EU-ABC ทำงานบนพื้นฐานของหลากหลายอุตสาหกรรมเพื่อช่วยปรับปรุงเงื่อนไขการลงทุนและการค้าสำหรับธุรกิจในยุโรปที่ดำเนิธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน มีอิทธิพลต่อนโยบายและผู้มีอำนาจตัดสินใจทั่วทั้งภูมิภาคและในสหภาพยุโรป รวมทั้งทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวคิดระหว่างสมาชิก และผู้เล่นระดับภูมิภาคในภูมิภาคอาเซียน

สมาชิก EU-ABC ประกอบด้วย บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในยุโรปและหอการค้ายุโรป 9 แห่งจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ EU-ABC แสดงให้เห็นถึงอุตสาหกรรมที่หลากหลายของยุโรปที่เกือบทุกรูปแบบเชิงพาณิชย์ตั้งแต่การผลิตรถยนต์ไปจนถึงบริการทางการเงิน และรวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค สมาชิกทุกองค์กรมีความสนใจร่วมกันในการส่งเสริมการค้า และการลงทุนระหว่างยุโรปและอาเซียน

ผู้อำนวยการบริหารของสภาธุรกิจ EU-ASEAN คือ นายคริส ฮัมฟรีย์และประธานคือ นายโดนัลล์ แคแนก สภานำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งประกอบด้วยผู้นำองค์กรที่เป็นตัวแทนของภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญและตัวแทนของหอการค้ายุโรป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4