ไทยนำอาเซียนหารือจีน ยกระดับความตกลงทางการค้า เร่งเปิดตลาดเสรีเพิ่มเติม หลังโควิด-19 คลี่คลาย

พุธ ๐๕ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๒๓
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมกำกับการดำเนินงานภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน (ASEAN - China Free Trade Agreement - Joint Committee : ACFTA-JC) ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2563
ไทยนำอาเซียนหารือจีน ยกระดับความตกลงทางการค้า เร่งเปิดตลาดเสรีเพิ่มเติม หลังโควิด-19 คลี่คลาย

ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกอาเซียน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และ Ministry of Commerce สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง สศก. ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะองค์ประกอบผู้แทนไทย ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การประชุมดังกล่าว ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินการตามประเด็นที่จะเจรจาต่อไปในอนาคต (Future Work Programme) ภายใต้พิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน - จีน (ACFTA Upgrading Protocol) ได้แก่ การหารือแนวทางการเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม การหารือการเปิดเสรีและการคุ้มครองการลงทุน รวมถึงการหารือความร่วมมือในสาขาใหม่ๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือ ACFTA อาทิ อุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และขณะเดียวกันที่ประชุมก็ได้เน้นย้ำถึงถ้อยแถลงร่วมของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน - จีน ที่ได้แสดงเจตจำนงร่วมกันเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระดับโลกและภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในด้านการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ความมุ่งมั่นในการรักษาตลาดที่เปิดกว้าง การส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนเพื่อรักษาห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการใช้มาตรการเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดและปรับปรุงเสถียรภาพของเศรษฐกิจในภูมิภาค

รองเลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า สำหรับกรอบความตกลง ACFTA จะช่วยให้ภาคการเกษตรของไทยได้โอกาสในการขยายตลาดการส่งออกสินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดประเทศจีนมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการหารือเพื่อขยายความร่วมมือในด้านวิชาการและการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทย ตลอดจนประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีน นับเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับที่ 1 ของไทย ซึ่งระหว่างปี 2560 - 2562 ทั้งสองฝ่ายมีสัดส่วนการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันเฉลี่ยปีละ 284,482 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยปีละ 219,691 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้าเฉลี่ยปีละ 64,791 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเฉลี่ยปีละ 154,900 ล้านบาท สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางธรรมชาติ ทุเรียน และมันสำปะหลัง ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ พืชผักแห้ง สัตว์น้ำแช่แข็ง แอปเปิ้ล เห็ดหูหนู และองุ่นสด เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๒ บูติคนิวซิตี้ สนับสนุนนักออกแบบคนรุ่นใหม่ Collaboration แบรนด์ GSP X Alex ออก 2 คอลเลคชั่นพิเศษฮีลใจและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๑๖:๐๑ ดั๊บเบิ้ล เอ มอบหน้ากากอนามัยฯให้รพ.สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า สมุทรสงคราม
๑๖:๔๘ ไวไว ร่วมต้อนรับนักท่องเที่ยว ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ประจำปี 2567
๑๖:๑๘ งานสัมมนาออนไลน์ เปิดโลก Open Source Cloud ประตูบานใหม่ของโลกไอที
๑๖:๔๑ ม.ศรีปทุม ปิดจ๊อบ วุฒิปลอม พัฒนาระบบ Digital Transcript ตรวจสอบวุฒิออนไลน์ง่ายๆ ผ่านมือถือ
๑๖:๕๐ โครงการเพื่อสตรีของคาร์เทียร์ ประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ 33 คน ประจำปี 2024 เตรียมพร้อมประกาศรางวัลชนะเลิศ ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณะรัฐประชาชนจีน 22 พฤษภาคม
๑๖:๔๖ Cryptomind วิเคราะห์เจาะลึก Bitcoin Halving ครั้งที่ 4 โอกาส? หรือกับดัก? นักลงทุน
๑๖:๔๖ 'อ้วน' ปัญหาเชิงมหภาค! แนะภาครัฐต้อง 'จัดการตรงจุด' แบ่งกลุ่มรักษา ย้ำ 'ประชาชน' คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสุขภาพดี
๑๖:๔๖ SPA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น E-AGM ประจำปี 2567
๑๖:๒๖ 'นวดกดจุด' หรือ 'นวดทุยหนา' (Tuina) ศาสตร์แพทย์แผนจีนที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต