ในปี 2020 การค้าขายถูกบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลง แต่ความคาดหวังของผู้บริโภคจะยิ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น

จันทร์ ๑๗ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๐๙:๔๔
นับตั้งแต่ต้นปีนี้ เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการทำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้บริโภคและธุรกิจหลายรายเริ่มก้าวเข้าสู่การค้าขายในรูปแบบดิจิตัลเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ อย่างไรก็ดี ความสะดวกสบายแบบใหม่นี้ได้เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ในชีวิตประจำวันและกำลังเปลี่ยนความคาดหวังของพวกเขาที่มีต่อการค้าขายอย่างมีนัยสำคัญ

บทความโดย นายซาฟดาร์ คาน ประธานฝ่ายภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ มาสเตอร์การ์ด

สำหรับคนส่วนใหญ่ โควิด-19 ส่งผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หากประเมินจากความรุนแรงที่เกิดขึ้น โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในระดับบุคคล ไปจนถึงระดับประชาคมระหว่างประเทศและเศรษฐกิจโลก ตามความเห็นส่วนตัว ผมรู้สึกได้ว่าการปรับตัวตามผลกระทบของโรคระบาดนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิธีการค้าขายที่เราเคยทำอยู่ตามปกติ ซึ่งตัวเลขจากผลสำรวจสามารถยืนยันคำพูดนี้ได้

การสำรวจผลกระทบของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจประเทศของมาสเตอร์การ์ด (Mastercard Impact Studies(TM)) ฉบับล่าสุดชี้ให้เห็นว่าวิกฤตการณ์มีอิทธิผลต่อผู้บริโภคและนักธุรกิจในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยตลาดหลักๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมแพลตฟอร์มดิจิตัลคอมเมิร์ซ ในอัตราที่สูงแบบก้าวกระโดด ยกตัวอย่างเช่น ผลสำรวจในเดือนมิถุนายนเผยให้เห็นว่าเกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์และไทยซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นในระยะเวลาหนึ่งเดือน ในขณะเดียวกันกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามจากมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย ใช้บริการส่งของถึงบ้านมากขึ้น ผลสำรวจยังพบอีกว่าราว 60-70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้เงินสดน้อยลง และหลายคนใช้จ่ายแบบคอนแทคเลสผ่านบัตรและสมาร์ทโฟนมากขึ้น ซึ่งสามารถมองได้ว่าเป็นวิธีลดการสัมผัสกับผู้อื่น ข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นชัดว่า วิถีการดำเนินธุรกิจของเราได้เปลี่ยนไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ต่อไปแม้จะผ่านช่วงล็อกดาวน์และการเว้นระยะห่างทางสังคมไปแล้วก็ตาม

นับว่าเราโชคดีที่มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้หลายๆ ด้านของชีวิตยังดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ สิ่งที่น่าคิดคือ วิกฤติอันเดียวกันนี้ที่ไล่เราออกจากสำนักงาน ออกจากการพบปะสังสรรค์ และส่งเรากลับไปให้อยู่แต่ในบ้าน กลับทำให้เราเชื่อมต่อกับผู้คนมากกว่าที่เคยและยังทำให้หลายๆ คนเร่งสปีดในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ด้วยพฤติกรรมการซื้อสินค้าและการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไปตลอดกาล คำถามที่อยู่ในใจของทุกคนในตอนนี้คือ ผู้คนทั่วโลกกำลังสร้างวิถีชีวิตใหม่ที่ “คงที่แล้ว” หรือกำลังอยู่ในยุควิวัฒนาการทางการค้า ซึ่งผมเชื่อว่ามันเป็นแบบหลัง

สำหรับผู้บริโภคหลายรายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้พวกเขาได้ลองใช้ อีคอมเมิร์ซเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งหากคุณลองคิดตาม มันเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะแต่ก่อนผู้คนต้องออกไป

นอกบ้าน อาจขับรถหรือมอเตอร์ไซค์เพื่อไปซูเปอร์มาร์เก็ตหรือห้างสรรพสินค้า ควักเงินสดออกจากกระเป๋าสตางค์ และหิ้วของกลับบ้าน แต่ตอนนี้พวกเขาต้องเปลี่ยนวิถีเดิมเหล่านี้เป็นการเลือกสินค้าผ่านสมาร์ทโฟน อาจเลือกยืนยันการชำระเงินด้วยการสแกนลายนิ้วมือ และให้ของมาส่งที่บ้านในวันนั้นแทน ซึ่งนับเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่อัตราการโตของอีคอมเมิร์ซสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งในกลุ่มผู้สูงอายุที่ปกติจะชอบซื้อสินค้าที่ร้านค้าและตลาดมากกว่า

เราเรียกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ว่า การก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจแบบ “ไร้รอยต่อ” เมื่อผู้บริโภคต้องนับเงิน ยื่นให้แคชเชียร์และรอเงินทอน นี่ถือเป็นตัวอย่างของการชำระเงินที่มีรอยต่อ แต่ถ้าผู้บริโภคเพียงแค่หยิบบัตรหรือสมาร์ทดีไวซ์ออกมา ยื่นไปเหนืออุปกรณ์รับชำระเงินเพื่อจ่ายแบบคอนแทคเลส เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นการชำระเงินที่ไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น เมื่อผู้บริโภคคาดหวังความราบรื่นในการใช้ชีวิตมากขึ้น การลดรอยต่อในการดำเนินชีวิตของผู้คนจึงจะกลายเป็นแนวทางหลักในการทำธุรกิจที่ธุรกิจต่างๆ ต้องแข่งขันกันในจุดนี้

ที่มาสเตอร์การ์ด เราพัฒนาและวางระบบพื้นฐานที่รองรับการชำระเงินหลายรูปแบบให้กับธุรกิจและรัฐบาลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการชำระเงินแบบทันทีไม่ว่าจะชำระผ่านแพลตฟอร์มหรืออุปกรณ์ใดก็ตาม ปัจจุบันการชำระเงินมักอยู่ในรูปแบบของบัตรเครดิตและเดบิต สมาร์ทโฟน และสมาร์ทวอทช์ แต่เทคโนโลยี IoT ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับอินเตอร์เน็ตกำลังขยายช่องทางการชำระเงิน ซึ่งจะช่วยลดรอยต่อของระบบเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของเราไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดก็ตาม

ตอนนี้หากหยิบยกตัวอย่างของตู้เย็นอัจฉริยะที่สั่งของเองได้โดยอัตโนมัติก็คงจะจำเจ แต่มันเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีกำลังมุ่งไปในทิศทางใด ซึ่งแน่นอน เรื่องเล็กๆ นี้ไม่ใช่เป้าหมายของการพัฒนาอย่างแน่นอน ระบบพื้นฐานที่รองรับการชำระเงินหลากหลายรูปแบบจะทำให้เกิดวิถีชีวิตแบบไร้รอยต่อได้จริงๆ พร้อมทั้งทำให้เกิด “บทสนทนาดิจิทัล” ระหว่างผู้ค้าและผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น สมาร์ทวอชท์อาจจดจำพฤติกรรมการซื้อสินค้าบางอย่างของผู้สวมใส่ จากนั้นจะเสนอโปรโมชั่นหรือข้อเสนอพิเศษให้แก่ผู้สวมใส่โดยอัตโนมัติ แน่นอนว่าการชำระเงินจะเป็นสิ่งที่ประสานประสบการณ์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างราบรื่น

เหมือนกับที่เราไม่ต้องคิดมากเวลาหมุนก๊อกเพื่อเปิดน้ำหรือกดสวิตช์เพื่อเปิดไฟ การค้าขายในอนาคตจะเป็นไปในรูปแบบที่โครงสร้างการชำระเงินถูกวางไว้เพื่อให้เราสามารถจ่ายในสิ่งที่ต้องการได้ทุกเมื่อด้วยความพยายามเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่ต้องพยายามเลย ที่มาสเตอร์การ์ด เราไม่เพียงคำนึงถึงจุดที่เราสามารถพัฒนาการชำระเงินได้ แต่เรายังมองถึงรูปแบบการค้าขายที่มีความเป็นไปได้ในอนาคตในมุมมองที่การค้าขายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงวิธีที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีจะสามารถช่วยให้ทุกคนเติบโตและก้าวผ่านอุปสรรคได้อย่างไรบ้าง

เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด

มาสเตอร์การ์ด เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกด้านการชำระเงิน เป้าหมายของเราคือการเชื่อมต่อและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้ครอบคลุมและเป็นประโยชน์แก่คนทุกคนในทุกพื้นที่ โดยการทำให้ธุรกรรมการเงินเป็นเรื่องปลอดภัย สะดวก และเข้าถึงได้ ด้วยข้อมูลที่ปลอดภัยและเครือข่ายพันธมิตร ทำให้เรามีนวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ ที่สามารถช่วยบุคคลทั่วไป สถาบันการเงิน รัฐบาล และธุรกิจให้ตระหนักถึงศักยภาพของตัวเอง การทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อคนในองค์กร คือวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนทั้งภายในและภายนอกองค์กรของเรา ด้วยเครือข่ายในกว่า 210 ประเทศและพื้นที่ เราได้สร้างโลกที่ยั่งยืนและปลดล็อคความเป็นไปได้ในหลายๆ ด้าน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest