เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง ผลักดันการลงทุนเพื่อความยั่งยืน คาดเม็ดเงินลงทุนลดโลกร้อนจะมีมูลค่า 5.5 ล้านล้านดอลลาร์

พุธ ๒๖ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๓:๓๗
KBank Private Banking (เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง) พร้อมขับเคลื่อนภาคการลงทุนไทยสู่ความยั่งยืนทั้งในมิติของกระบวนการและเป้าหมาย ชี้โลกกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจใหม่ และภาคการลงทุนจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจที่สร้างความยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะธุรกิจที่มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุน 5.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 173 ล้านล้านบาทต่อปี ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไปจนถึงปี 2573
เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง ผลักดันการลงทุนเพื่อความยั่งยืน คาดเม็ดเงินลงทุนลดโลกร้อนจะมีมูลค่า 5.5 ล้านล้านดอลลาร์

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า รูปแบบการดำเนินเศรษฐกิจที่สร้างความเติบโต โดยเน้นการผลิตและการบริโภคที่ใช้ทรัพยากรมหาศาล ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาวะแวดล้อมและสังคมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังถูกปล่อยออกมาในอัตราเดิมไปจนถึงสิ้นศตวรรษนี้จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันถึง 550 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่าขนาดเศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี 2562 ถึง 7 เท่าเลยทีเดียว

นายจิรวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่การปฏิวัติเพื่อความยั่งยืน (The Sustainability Revolution) และเปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบที่สามารถสร้างความเติบโตโดยไม่ทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้กับโลก เพื่อมุ่งสู่ CLIC Economy ซึ่งย่อมาจาก Circular คือการใช้ทรัพยากรแบบหมุนเวียน Lean คือการลดความสูญเปล่าหรือใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า Inclusive คือความเท่าเทียมกันทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม และ Clean คือเศรษฐกิจบนสิ่งแวดล้อมสะอาด การปฏิวัติครั้งนี้จะแบ่งแยกระหว่างธุรกิจที่เป็นผู้ชนะหรือกลุ่มที่ตระหนักและปรับตัวเข้ากับระบบเศรษฐกิจใหม่ได้ และผู้แพ้หรือกลุ่มที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะถูกจำกัดการดำเนินธุรกิจ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ไม่ได้รับการยอมรับในกลุ่มผู้บริโภค และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในที่สุด

เทรนด์ด้านความยั่งยืนถือเป็นโอกาสสำคัญอย่างยิ่งของนักลงทุนในการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว หนึ่งในมิติด้านความยั่งยืนที่กำลังเปลี่ยนภูมิทัศน์ของการลงทุนคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Transition เนื่องจากมีผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและเพิ่มความเสี่ยงแก่ธุรกิจที่ยังคงอิงกับอุตสาหกรรมหนักแบบเก่าอย่างมหาศาล ขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสเติบโตให้ธุรกิจในรูปแบบใหม่อย่างไร้ขีดจำกัดเช่นกัน โดยเป้าหมายร่วมของโลกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 50% ภายในปี 2573 หมายถึงโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 5.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้า

การบรรลุเป้าหมายในการลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกต้องอาศัยทั้งการสร้างสรรค์เทคโนโลยีสะอาด ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมหนักที่ยังมีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจให้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนมากขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนหลัก 4 ประการ คือ 1) นโยบายจากภาครัฐ ที่จะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในทางสะอาดและควบคุมธุรกิจที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon credit) ส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้น 2) ผู้บริโภค ที่มีความตระหนักรู้ต่อสถานการณ์และหลีกเลี่ยงการใช้สินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและมีราคาถูกลง เอื้อให้ธุรกิจสามารถสร้างกำไรไปพร้อมๆ กับความยั่งยืนได้ และ 4) เงินของนักลงทุน ที่จะสนับสนุนบริษัทที่มุ่งสู่ความยั่งยืน โดยลอมบาร์ด โอเดียร์ (Lombard Odier) ผู้ให้บริการไพรเวทแบงก์ระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ที่ดำเนินธุรกิจมากว่า 220 ปี พันธมิตรของ KBank Private Banking ได้แบ่งธุรกิจที่มีศักยภาพไว้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ธุรกิจผู้ชนะในโลกที่มีการจำกัดปริมาณคาร์บอน (Carbon-constrained world) ได้แก่ ธุรกิจที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการที่ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Solution provider) โดยตรง เช่น พัฒนาซอฟต์แวร์ให้การใช้ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น และ 2) ธุรกิจผู้ชนะในโลกที่ได้รับความเสียหายจากคาร์บอน (Carbon-damaged world) ได้แก่ กลุ่มธุรกิจที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจากภาวะโลกร้อน เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงแข็งแรงขึ้น และธุรกิจที่วิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงด้านการเงินจากปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

KBank Private Banking มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ผ่านการบริการบริหารความมั่งคั่งครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการนำตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลกมาประยุกต์และถ่ายทอดแก่ลูกค้า และเปิดโอกาสในการลงทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ยั่งยืนในระดับสากล ที่ผ่านมา เรานำเสนอกองทุนภายใต้ธีมความยั่งยืนแก่ลูกค้ามาอย่างต่อเนื่อง เช่น K-HIT และ K-CHANGE ล่าสุดเราจะแนะนำกองทุน K Climate Transition ซึ่งเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ LO Funds – Climate Transition , (USD), I Class A (กองทุนหลัก) โดยเป็นกองทุนที่คำนึงถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกองทุนแรกและหนึ่งเดียวของไทย มุ่งเน้นลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศซึ่งเป็นปัญหาใกล้ตัวและต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวจากธุรกิจหลากหลายทั่วโลก เพราะเราเชื่อว่าธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีและยั่งยืนกว่าธุรกิจที่เมินเฉยสิ่งเหล่านี้ โดยจะเปิดขายIPO ครั้งแรกในช่วงวันที่ 1 ถึง 15 กันยายน นี้ นอกจากนี้เรายังได้จัดงานสัมมนาในหัวข้อ 'Sustainability Revolution: A Call for Action’ โดยมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอย่าง มร. อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 45 และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2550 มาร่วมในการสร้างความตระหนักรู้และขับเคลื่อนโลกเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย” นายจิรวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้