โรคเท้าปุก (Clubfoot) โดย นายแพทย์อำนวย จิระสิริกุล ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ

ศุกร์ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๐ ๑๔:๔๙
นายแพทย์อำนวย จิระสิริกุลศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ

? เป็นความผิดรูปของเท้าแต่กำเนิดชนิดหนึ่ง

? เกิดขึ้นในเด็กที่ไม่มีความผิดปกติอื่นๆที่สามารถอธิบายการเป็นโรคชนิดนี้

? ต้องการการรักษาเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้ และอย่างถูกต้องด้วยวิธีที่ไม่ใช่การผ่าตัด

? มิฉะนั้นเด็กจะมีความพิการอย่างมากทำให้ต้องเดินด้วยหลังเท้าหรือปลายเท้า ปวดเท้า ใส่รองเท้าไม่ได้ และไม่สามารถประกอบอาชีพได้เหมือนอย่างคนอื่นๆ

พ่อแม่ของเด็กทารกที่เป็นเท้าปุก (Clubfoot) ควรได้รับการ เน้นย้ำจากแพทย์ว่า ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกด้องโดยแพทย์ที่มีความชำนาญ เด็กจะหายกลับมามีเท้าที่ปกติ สามารถใช้งานได้เช่นเท้าปกติทั่วไป ไม่เป็นปมด้อยของเด็กอีกต่อไป

เท้าปุก (Clubfoot) ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างกลับมาเป็นปกติ ภายหลังจากได้รับการดัดเท้าและเข้าเฝือก ในเวลาเพียง 6-8 สัปดาห์ การรักษาอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับ กายวิภาค และความสัมพันธ์ของกระดูกของเท้า การเคลื่อนไหวของกระดูกเท้า รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการตอบสนองของตัวกระดูก, เอ็น และกล้ามเนื้อต่อการดัดแบบค่อยเป็นค่อยไป

ในจำนวนเท้าปุก (Clubfoot) ทั้งหมด มีไม่ถึง 5% ที่มีความรุนแรงมากจนการดัดเท้าไม่ได้ผลสมบูรณ์ และต้องรักษาต่อด้วยการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดควรทำเมื่อการดัดเท้าไม่ได้ผลเท่านั้น

เด็กที่เป็นเท้าปุก (Clubfoot) ควรได้รับการรักษาภายในสองสามอาทิตย์แรกหลังคลอด อาศัยความได้เปรียบในขณะที่เนื้อเยื่อของเอ็นข้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และเยื่อหุ้มข้อ ยังพอมีความยืดหยุ่นอยู่บ้าง ด้วยการดัดที่ถูกต้องทุกๆอาทิตย์ tissue เหล่านี้จะค่อยๆยืดออก ภายหลังการดัดแต่ละครั้ง เท้าจะได้รับการเข้าเฝือกจากปลายเท้าถึงโคนขาในท่าที่เข่างอ 90 องศา เพื่อบังคับเท้าให้อยู่ในท่าที่ดัดได้ ดังนั้น เท้าจะค่อยๆถูกดัดให้เป็นปกติในที่สุด

โดยทั่วไปจะใช้เฝือกเพียง 5-7 อัน แม้แต่ เท้าปุก (Clubfoot) ที่เป็นมากๆ ก็ใช้เฝือกไม่เกิน 8-9 อัน ก่อนใส่เฝือกอันสุดท้ายเด็กจะได้รับการตัดเอ็นร้อยหวาย เพื่อทำให้ข้อเท้ากระดกขึ้น เฝือกอันสุดท้ายจะใส่อยู่ 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้เอ็นที่ถูกตัดติดกันในท่าที่ยืดยาวขึ้น

หลังจากหายแล้ว เด็กที่เคยมีเท้าปุก (Clubfoot) อาจกลับเป็นใหม่ได้ เพราะฉะนั้น หลังสิ้นสุดการเข้าเฝือก จะต้องใส่กายอุปกรณ์เท้า (abduction foot orthosis) ทั้งวันทั้งคืน 2-3 เดือน และใส่เฉพาะกลางคืนหรือเวลานอนอีก 4 ปี

การวินิจฉัยโรคเท้าปุก (Clubfoot) ใช้เพียงตาดูก็สามารถเห็นได้ บางครั้งไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพ x-ray สำหรับการตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อดูว่ามีโรคอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่

ในผู้ป่วยบางรายที่รักษาหายแล้ว อาจมีความไม่สมดุลของเอ็นในการดึงเท้า ทำให้ดูเหมือนว่าเท้ายังผิดรูปอยู่ อาจมีการผ่าตัดเพื่อย้ายเอ็นให้มีแนวดึงที่ตรงขึ้น (Tibialis Anterior transfer)

จากรายงานต่างๆที่บอกว่า การดัดและการเข้าเฝือกไม่ได้ผล แสดงว่า วิธีของท่านเหล่านั้นไม่ถูกต้อง ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เกี่ยวกับ กายวิภาคและการเคลื่อนไหวของเท้า ทำให้ดัดไม่ถูกวิธีและไม่ได้ผลดังกล่าวข้างต้น ส่วนการผ่าตัดในรายที่การดัดและเข้าเฝือกไม่ได้ผล ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 023103000 โรงพยาบาลกรุงเทพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๓๘ โอซีซี มอบฝาขวดน้ำ เพื่อทำเก้าอี้ให้น้อง ๆ ในโรงเรียนขาดแคลน
๑๑:๑๘ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดศูนย์ทดสอบหลักสูตร CISA ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๑๑:๓๕ 'ราชบุรี มีลาย' อนุรักษ์มรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ชูอัตลักษณ์ 'ลายผ้าราชาบุรี (กาบโอ่งนกคู่) รองผู้ว่าฯ เมืองโอ่ง
๑๑:๕๓ พีทีที สเตชั่น ร่วมกับ ทิพยประกันภัย มอบความสะดวกและรวดเร็ว ซื้อประกันภัยผ่าน QR Code
๑๑:๐๙ FTI จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผถห.อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น
๑๐:๑๙ รมว.อว. เป็นประธานเปิดบูธนิทรรศการผลงาน @ Thai Pavilion พร้อมให้กำลังใจนักประดิษฐ์ไทย นำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ครั้งที่
๑๐:๔๖ BRIDGESTONE TURANZA T005 EV ยางพรีเมียมสมรรถนะสูงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เหนือระดับด้วยเทคโนโลยี ENLITEN(R)ได้รับเลือกเป็นยางล้อมาตรฐานติดตั้งในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ MG4 XPOWER
๐๙:๑๔ อพท. เปิดรับสมัคร สุดยอดนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน เพื่อพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ชิงเงินรางวัลกว่า 130,000
๐๙:๔๑ หนังสือ Royal Thai Cuisine ตำรับอาหารไทยชาววัง วิทยาลัยดุสิตธานี
๑๘ เม.ย. เด็ก ม.กรุงเทพ ยกทีม คว้าชนะเลิศครีเอทคลิปสั้นได้ใจฟูมาก