ผู้สมัครเกือบครึ่งหมื่น เข้าร่วม โครงการ “ควบคุมเบาหวาน เพื่อคุณภาพชีวิต” ปี 3

อังคาร ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๑๒ ๑๔:๐๖
การแข่งขันเพื่อสุขภาพที่ดีและชีวิตที่มีความสุขขึ้นจัดการกับโรคเบาหวาน ปลุกพลังในตนเอง!ต่อยอดความสำเร็จด้วยการเปิดตัวโครงการฯ ปี 3 รุ่นที่ 2 เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิ.ย. ศกนี้

โครงการควบคุมเบาหวานเพื่อคุณภาพชีวิต ปีที่ 3 หรือ Diabetes Control for Life (DCFL) โครงการด้านโภชนาการ กิจกรรม และไลฟ์สไตล์ ซึ่งจัดขึ้นปีละครั้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดูแลสภาวะร่างกายได้ดีขึ้น กลับมาดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วประเทศ ด้วยจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการในปีนี้กว่า 4,900 คน หลังจากปิดรับสมัครไปตั้งแต่สิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ล่าสุดต่อยอดความสำเร็จด้วยการประกาศเตรียมความพร้อมเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ DCFL ปี 3 รุ่นที่ 2 เพิ่ม เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ถึง 30 มิถุนายน 2555 ระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการฯ เริ่ม 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2555 รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อ Abbott Cares ได้ที่เบอร์ 02 252 2448

เบาหวาน หนึ่งในสิบโรคร้ายที่คร่าชีวิตของผู้ป่วยทั่วโลกไปก่อนเวลาอันควร เป็นโรคร้ายชนิดหนึ่งที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อีกทั้งอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงหลายอย่างด้วยกัน นอกจากโรคเบาหวานจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดอาการต่างๆ ของโรคหัวใจ รวมถึงเป็นสาเหตุให้สูญเสียความสามารถในการมองเห็นจนตาบอดได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานยังต้องเสี่ยงกับการติดเชื้อรุนแรงที่เกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนต่างๆ เช่น การติดเชื้อบริเวณเท้า การติดเชื้อจากยีสต์ ท่อปัสสาวะติดเชื้อ รวมถึงอาการติดเชื้อในบริเวณแผลผ่าตัดซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดและอาจถูกมองข้ามอยู่บ่อยๆ

การศึกษาโดยสมาพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติในปี 2554 ระบุว่าอาการแทรกซ้อนที่มากับโรคเบาหวานส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยกว่า 170 ล้านคนทั่วโลก โดยคิดเป็นจำนวนถึงหนึ่งในหกของประชากรโลกทั้งหมด และเพื่อแสดงถึงความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ สถิติระบุว่า ในทุกๆ สิบวินาทีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานนี้หนึ่งร้าย และคาดว่าจะมีอัตราการตายจากโรคนี้เพิ่มขึ้นอีก 25% ในช่วงทศวรรษที่กำลังจะมาถึง1

1 ข้อมูลจาก Diabetes Atlas, พิมพ์ครั้งที่ 5? จากข้อมูลสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ปี 2554

ในประเทศไทย สถิติจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมป์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระบุว่าประชากรประมาณ 6% ของผู้ที่มีอายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไป หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณถึง 3.5 ล้านคน มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคเบาหวาน และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ในจำนวนนั้นยังมีประชากรอีกมาก ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างเป็นกิจลักษณะ ทำให้ไม่ทราบแน่ชัดว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

เบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยสูงวัย ซึ่งหมายความว่ายิ่งคุณอายุมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคนี้มากขึ้นเท่านั้น ในประเทศไทยหนึ่งในสิบของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ทั้งที่ได้รับการตรวจโรคมาแล้วและยังไม่ได้รับการตรวจโรค ล้วนแต่เป็นผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น แม้ว่าโรคเบาหวานนี้ไม่ได้เป็นโรคที่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ โดยตรงต่อผู้ป่วย แต่อาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน เช่น โรคประสาทเสื่อม เส้นเลือดเสื่อม นำไปสู่โรคติดเชื้อร้ายแรงอื่นๆ เช่น เป็นแผลเรื้อรัง เท้าเน่าถูกตัดขา ไตเสีย ต้องฟอกเลือด เป็นสาเหตุของโรคไตวายเรื้อรัง เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจตีบ ต้อกระจก เส้นเลือดฝอยในตาถูกทำลาย ทำให้ตาบอดในที่สุด เส้นเลือดในสมองตีบตัน โรคเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปลายมือปลายเท้าอุดตัน เป็นต้น โดยโรคเหล่านี้สามารถนำไปสู่การตายก่อนเวลาอันควรได้ ที่ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยมักจะเกิดอาการซึมเศร้าอันสืบเนื่องมาจากโรคเบาหวาน ในปัจจุบันมีงานวิจัยที่พบว่าโรคเบาหวานสามารถทำให้ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ และยังมีงานวิจัยอื่นๆ ที่ระบุว่าโรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นนี้สามารถทำให้อาการแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานทวีความรุนแรงขึ้นได้

ผู้ป่วยเบาหวานต้องอยู่กับโรคนี้ไปตลอดชีวิต และผู้ป่วยต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งด้านร่างกายและจิตใจจากคนรอบข้าง แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือตัวผู้ป่วยเองที่จะต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับอาการของตน รวมถึงการเริ่มต้นจัดการกับอาการของโรคด้วยตัวเอง หากจะพูดให้ชัดเจนก็คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำเป็นต้องมี “พลังในตนเอง” ในการเริ่มต้นศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน อาการแทรกซ้อนที่ตามมากับโรค รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเพื่อให้สามารถควบคุมโรคเบาหวานได้ตลอดชีวิต

โครงการ “ควบคุมเบาหวาน เพื่อคุณภาพชีวิต” เป็นกิจกรรมโภชนาการกึ่งไลฟ์สไตล์ที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเบาหวานในการควบคุมโรคได้ดีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สามารถสร้างสมดุลย์ของอาการเบาหวานของตนเองได้ จากความสำเร็จอันงดงามของโครงการทั้ง 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 2,800 คนในปีที่แล้ว ทำให้มีการจัดการแข่งขันขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 3 ในปี 2555 นี้ และได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากผู้ป่วยเบาหวานและประชาชนทั่วไป โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการเกือบ 5,000 คน ซึ่งสูงกว่าสองปีที่ผ่านมา โครงการนี้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการเริ่มต้นทำอะไรสักอย่างเพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดของตนทุกคนเข้ามาสมัครเข้าร่วมการประกวดที่มีระยะเวลา 6 เดือนนี้ และปีนี้ได้เปิดการแข่งขันเพิ่มขึ้นโดยมีทั้งแบบประเภทเดี่ยว หรือทีม (ทีมละ 5 คน) และเริ่มการแข่งขันตั้งแต่ 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน 2555 นี้ และล่าสุด ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สมัครเข้าร่วมโครงการ “ควบคุมเบาหวาน เพื่อคุณภาพชีวิต” กว่า 400 คน ยังได้มีโอกาสเข้าร่วมงานปฐมนิเทศของโครงการฯ ที่โรงพยาบาลเทพธารินทร์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งภายในงานฯ ได้รับเกียรติจากแพทย์ นักโภชนาการ และผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำและเคล็ดลับในการควบคุมเบาหวานด้วยตนเองเพื่อให้ผู้แข่งขันสามารถดูแลและควบคุมตัวเองได้ตลอด 6 เดือนของการแข่งขัน อาทิ กิจกรรมให้ความรู้ในการควบคุมและคำนวณปริมาณน้ำตาลจากอาหารต่าง ๆ เพื่อค่าน้ำตาลสะสมเฉลี่ยที่ดีขึ้น วิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งสามารถใช้ได้ในสถานการณ์ประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

คุณเกษมศักดิ์ แพนคำ อายุ 67 ปี หนึ่งในผู้สมัครโครงการฯ ปีที่ 3 กล่าวว่า “ผมรู้ตัวว่าเป็นเบาหวานเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยก่อนหน้านี้ผมมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่นิยมทานของหวาน อาทิ กล้วยเป็นหวี ๆ และข้าวเหนียวมะม่วงปริมาณเยอะ ๆ ผมได้ทราบข่าวโครงการนี้จากสถานีอนามัยในจังหวัด และมาเข้าร่วมโครงการฯ นี้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากการปฐมนิเทศไปใช้ในการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมเบาหวานในชีวิตประจำวันควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มั่นใจว่าเบาหวานแม้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดแต่สามารถควบคุมได้หากออกกำลังกายและควบคุมอาหารอย่างมีวินัย และสม่ำเสมอ พร้อมทั้งทำจิตใจให้สดชื่น ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั่นเอง”

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำด้านโภชนาการผ่าน “Abbott Cares” โดยมีทีมนักโภชนาการที่พร้อมให้บริการทั้งด้านการจัดตารางการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแบบวันต่อวัน รวมถึงการให้คำปรึกษาและช่วยกระตุ้นผู้เข้าแข่งขันแบบรายตัวให้สามารถควบคุมเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ขั้นตอนแรก โดยระดับน้ำตาลในเลือดและข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยจะได้รับการบันทึกไว้เป็นระยะๆ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบได้ว่าตลอดระยะเวลาการแข่งขัน 6 เดือนนั้น ผู้เข้าแข่งขันท่านใดจะสามารถลดหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มากที่สุด โดยการตัดสินดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก และระดับค่าน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ช่วงที่เริ่มเข้าแข่งขันของผู้ป่วย โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับรางวัลเป็นเงินสดและถ้วยเกียรติยศจากโครงการ

นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้เตรียมโปรแกรมบนเว็บไซต์ของโครงการที่ www.dcfl.in.th ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่รวบรวมข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับโรคเบาหวาน รวมถึงคำแนะนำในการควบคุมน้ำตาล บทความอันเป็นสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพมากกว่า 70 เรื่อง ไปจนถึงบริการส่งบทความจากระบบอัตโนมัติแบบรายสัปดาห์ไปยังอีเมล์ของผู้สมัคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและแนะนำผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เข้าแข่งขันในโครงการนี้ให้มีวินัยที่เคร่งครัดในการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตนเอง เว็บไซต์นี้ยังมีบริการเครื่องมือและโปรแกรมที่ช่วยดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาทิ แผนผังสำหรับตรวจสอบระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดประจำสัปดาห์ กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน และ BMI Calculator หรือเครื่องมือคำนวณดัชนีมวลกายสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานให้สามารถใช้ชีวิตที่แข็งแรงและมีความสุขได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

คุณสุเทพ ลือสิงหนาถ ผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันปี 2 เล่าประสบการณ์ว่า “ผมป่วยเป็นโรคเบาหวานมากว่า 10 ปี และถึงแม้ว่าจะดูแลสุขภาพของตนเองเป็นอย่างดี ผมก็ยังต้องประสบกับความเจ็บป่วยจากอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวานอยู่เป็นระยะๆ หลังจากที่ป่วยมาได้พักใหญ่ ผมก็คิดกับตัวเองว่าหากปล่อยให้ตัวเองป่วยหนักขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่ตัวผมเองที่จะเป็นคนที่ล้มลง แต่ภรรยา ลูกๆ รวมไปถึงหลานๆ ของผมก็จะพากันล้มลงไปหมดด้วย ผมอยากมีสุขภาพที่แข็งแรงเพื่อพวกเขา เพื่อที่ผมจะได้อยู่กับลูกหลานไปอีกนานๆ เมื่อคิดได้อย่างนี้แล้วก็เป็นจุดที่ทำให้เกิดความมุ่งมั่นในการหันมาควบคุมอาการของโรคเบาหวานให้ดีขึ้น ถึงแม้เบาหวานจะเป็นโรคที่ควบคุมได้ยาก แต่ก็ไม่ยากเสียจนเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ คุณไม่ใช่คนเดียวในโลกนี้ที่ต้องประสบกับปัญหานี้เพราะยังมีผู้ป่วยเบาหวานอีกมากมายที่เป็นอย่างคุณ คุณจะสามารถอยู่อย่างมีความสุขกับโรคเบาหวานได้ไปตลอดชีวิตหากว่าคุณใส่ใจและมีวินัยด้านโภชนาการและดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเคร่งครัด”

เรือเอกเชิด รุ่งอุทัย ผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันปีแรก เล่าประสบการณ์ของตัวเองเกี่ยวกับการแข่งขันในปีแรก: “ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ผมป่วยหนัก โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ พากันรุมเร้าเนื่องจากเป็นโรคเบาหวาน อาการป่วยแย่ลงๆ ทุกที จนในที่สุดผมเริ่มหมดกำลังใจลงทุกวันๆ แต่คนในครอบครัวของผมช่วยกันดูแลและช่วยเหลือผมเป็นอย่างดี ผมจึงตัดสินใจฮึดสู้ขึ้นมาอีกครั้งและลงสมัครแข่งขันในโครงการ ‘ควบคุมเบาหวาน เพื่อคุณภาพชีวิต’ นี้ ผมขอแนะนำเคล็ดลับในการปฏิบัติตนโดยการรักษา ‘วินัยสามประการ’ ซึ่งจะนำไปสู่ชีวิตที่มีความสุขยิ่งขึ้น 1. การบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม 2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ 3. การพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัน หากคุณสามารถปฏิบัติตามวินัยสามประการนี้อย่างเคร่งครัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณให้เป็นระเบียบแบบแผน คุณก็จะสามารถหลีกเลี่ยงอาการป่วยแทรกซ้อนต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานได้”

ศาตราจารย์ นายแพทย์สุรัตน์ โคมินทร์ อาจารย์ประจำหน่วยโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานว่า “ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือนักโภชนาการเกี่ยวกับแผนการบริโภคอาหารในแต่ละวันเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอและเหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์ของตนเองเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง โดยจะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน รวมถึงวิธีปฎิบัติตนเมื่อเป็นโรค หลีกเลี่ยงนิสัยการบริโภคที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้สมาชิกในครอบครัวหรือญาติ ก็มีบทบาทที่สำคัญในการเข้ามาช่วยสนับสนุนและให้กำลังใจแก่ผุ้ป่วยโรคเบาหวานโครงการ “ควบคุมเบาหวาน เพื่อคุณภาพชีวิต” ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อสร้างแรงกระตุ้นและเสริมสร้างกำลังใจแก่ผู้ป่วยที่กำลังท้อแท้ต่อชีวิตและโรคที่กำลังรุมเร้า โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักโภชนาการที่มีความเข้าใจในเรื่องโรคเบาหวาน คอยให้คำปรึกษาและดูแลอย่างใกล้ชิด นอกจากโอกาสที่จะได้รับรางวัลเงินสดจากการชนะการประกวด สิ่งที่สำคัญกว่าเงินทองคือการมีโอกาสที่จะได้รับสุขภาพที่ดีกลับมา พร้อมทั้งยังสามารถดำรงชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานต่อไปได้อย่างมีความสุขตลอดชีวิต” ” นายแพทย์สุรัตน์ กล่าว

โครงการควบคุมเบาหวาน เพื่อคุณภาพชีวิต ปีที่ 3 รุ่นที่ 2 มีระยะเวลาในการเข้าร่วมโครงการ 6 เดือน นับตั้งแต่ 1 ก.ค. ถึง 31 ธ.ค. 2555 ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2555 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “Abbott Cares” หมายเลขโทรศัพท์ 0-2252-2448 ตั้งแต่ 8.00 ถึง 17.00 น. ทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.DCFL.in.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital