อายุรแพทย์ชี้ผู้ที่ติดอาหารรสเค็ม เสี่ยงเป็นโรคเรื้องรัง พบคนไทยบริโภคเกลือสูงเกินมาตรฐาน 2 เท่า

ศุกร์ ๑๙ เมษายน ๒๐๑๓ ๑๕:๐๒
แพทย์หญิงจุฑาธิป ลิ้มคุณากูล อายุรแพทย์ สังกัดศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ให้ความรู้ว่า การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนทุกวันนี้มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล บริโภคอาหารที่มีรสชาติหวานจัด มันและเค็มจัดมากเกินไป อีกทั้งยังขาดการออกกำลังกายจนส่งผลเสียต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ซึ่งจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2554 พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 21.4 หรือ 1.5 ล้านคน โรคไต ร้อยละ 17.5 หรือ 7.6 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด ร้อยละ 1.4 หรือ 0.75 ล้านคน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ร้อยละ 1.1 หรือ 0.5 ล้านคน โรคกลุ่มนี้เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะการกินอาหารรสเค็มจัด คือ อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง โดยเฉพาะจากเครื่องปรุงรสเค็ม ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ้วขาว เกลือ กะปิ และซอสหอยนางรม โดยมีการสำรวจพบว่าคนไทยบริโภคเกลือและโซเดียมสูงเกินที่แนะนำ 2 เท่า หรือเกลือ 10.8 กรัม หรือโซเดียม 5,000 มิลลิกรัมต่อวัน

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับเกลือโซเดียมเพื่อที่จะปรับพฤติกรรมการกินอาหาร “โซเดียม” เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีในอาหารธรรมชาติ เช่น ข้าว แป้ง หมู ปลา ไข่ ผัก ผลไม้ และยังมีอยู่ในเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซอสหอยนางรม ผงชูรส รวมทั้งมีในอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง อาหารหมัก ดอง เป็นต้น ดังนั้นแม้จะไม่ได้ปรุงอาหารเพิ่มเราก็ได้รับโซเดียมจากอาหารธรรมชาติแล้ว สำหรับหน้าที่ของโซเดียมคือคอยควบคุมการกระจายตัวของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และมีผลอย่างมากต่อความดันโลหิต ดังนั้นการกินอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปจึงมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และทำให้มีการสะสมของน้ำตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย อาทิ เกิดภาวะบวมน้ำ และการที่มีความดันโลหิตสูงในระยะยาวส่งผลต่อหลอดเลือดแดงและนำไปสู่ภาวะอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ และนำไปสู่การเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และไตวายในที่สุด

สำหรับปริมาณโซเดียมตามปกติที่ควรได้รับคือประมาณ 2,000 — 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งในแต่ละวันเรารับประทานอาหารหลักจากธรรมชาติจะมีปริมาณโซเดียมอยู่แล้ว 350 — 450 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นเมื่อนำไปหักจากปริมาณโซเดียมที่แนะนำต่อวัน เราจึงสามารถเติมเครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ ได้อีกประมาณ 1,650 — 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือป่น 1 ช้อนชาต่อวัน หรือ ซีอิ้วขาว 3 — 4 ช้อนชาต่อวัน ดังนั้นหากซื้ออาหารปรุงสำเร็จรับประทานก็ควรหลีกเลี่ยงการเติมพริกน้ำปลาหรือซอสปรุงรสต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็มลงครึ่งหนึ่ง นับเป็นการป้องกันการเกิดโรคเรื้องรังต่างๆ และสร้างสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital