สพฉ.ดึง 10 ประเทศอาเซียน ร่วมงานรำลึก 10 ปีสึนามิ เปิดเวทีวิชาการถอดบทเรียนระบบการแพทย์ฉุกเฉินในสถาบการณ์ภัยพิบัติจากอตีตสู่ปัจจุบันเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา

พฤหัส ๑๑ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๒:๑๕
เตรียมพัฒนาทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติให้กระจายลงสู่พื้นที่อย่างครอบคลุม ผุดโครงการ ASEAN SURVEY สร้างเครือข่ายการช่วยเหลือภัยพิบัติในระดับอาเซียน

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข JICA และโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต เตรียมจัดงานสัมมนาถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิภูเก็ตเพื่อก้าวต่อไปของการป้องกันการสูญเสียให้เป็นศูนย์ (10 Years Tsunami Phuket : The Next Tsunami Zero Lost) ระหว่างวันที่ 7-12 ธันวาคม พ.ศ.2557 ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ โดยมีตัวแทนจาก 10 ประเทศอาเซียน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ภัยพิบัติ เข้าร่วมสัมมนาและถอดบทเรียนในครั้งนี้ด้วย

นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้เป็นการรำลึกเหตุการณ์ 10 ปีสึนามิที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย และในอีกหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงในหลายประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราควรมาช่วยกันถอดบทเรียนเพื่อหาแนวทางในการป้องกันหากมีเหตุการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้นอีก ซึ่งการประชุมในครั้งนี้นั้นจะแบ่งการประชุมออกเป็น 3 ส่วน โดยในวันที่ 7-9 ธันวาคม จะเป็นการประชุมในเชิงปฏิบัติการในเรื่องการเก็บสถิติข้อมูลและการศึกษาวิจัยในด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติเพื่อนำมาใช้ถอดบทเรียนองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกามาให้ความรู้ในเรื่องนี้ด้วย ส่วนในวันที่ 10-11 ธันวาคม จะเป็นการประชุมวิชาการ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติจากประเทศญี่ปุ่นมาให้ความรู้ในการจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงการถอดบทเรียนจากผู้ปฏิบัติการในเหตุการณ์สึนามิของประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน และการปาฐกถาจาก ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ในเรื่องการป้องกันและการเตรียมพร้อมในการจัดการภัยพิบัติของกลุ่มประเทศอาเซียนอีกด้วย

นอกจากนี้ในวันที่ 12 ธันวาคม 57 จะเป็นการประชุมของ 10 ประเทศอาเซียนเพื่อจัดวางกรอบการดำเนินงานร่วมกันในการพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพในภาวะภัยพิบัติ (Disaster Health Management) ซึ่งเป็นวาระสำคัญของอาเซียนบวกสาม (ASEANplus3) โดยมีประเทศไทยและประเทศเวียดนามเป็นประเทศผู้นำในการดำเนินงานหลังจากเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015 และมีประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้สนับสนุนทางด้านเทคนิควิชาการและงบประมาณบางส่วน โดยการประชุมครั้งนี้มุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ภัยพิบัติของ 10 ประเทศอาเซียน และหลังจากนี้จะมีโครงการ ASEAN Survey เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในแต่ละประเทศ รวมทั้งศึกษาแบบแผนการช่วยเหลือด้านการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ภัยพิบัติของแต่ละประเทศเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะทำให้เกิดเครือข่ายในการให้ความช่วยเหลือ และเมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนเกิดเหตุภัยพิบัติ ประเทศภาคีเครือข่ายก็จะสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที

นพ.ภูมินทร์ กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์ภัยพิบัติในประเทศไทยนั้น ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติมาอย่างต่อเนื่อง โดยในทีมนี้จะมีบุคลากรครบทุกฝ่ายทั้งแพทย์ พยาบาล ผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายสนับสนุน ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที โดยปัจจุบันได้มีการขยายทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติได้แล้วจังหวัดละ 1 ทีม ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อไปโดยให้แต่ละอำเภอมีทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในภาวะภัยพิบัติ ขนาดเล็กเป็นของตนเองด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๑ PRM ร่วมงาน OppDay มั่นใจธุรกิจปี 67 สดใส
๑๗:๓๘ Bitkub Chain ร่วม OpenGuild และ Polkadot เปิดพื้นที่รวมตัว Community รับ SEA Blockchain Week 2024
๑๗:๔๙ HOYO SOFT AND SAFE ผู้ผลิตคอกกั้นเด็กคุณภาพสูง มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ได้รับการไว้วางใจจากประสบการณ์ลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก
๑๗:๓๗ แนวทางสร้างสมดุลระหว่าง อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ คำมั่นสัญญาของ Generative AI
๑๖:๔๖ Maison Berger Paris เผยเครื่องหอมสำหรับบ้านรูปแบบใหม่ล่าสุด 'Mist Diffuser' ภายใต้คอลเลคชันยอดนิยมตลอดกาล Lolita
๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน