ฉลองปีใหม่อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ

ศุกร์ ๒๖ ธันวาคม ๒๐๑๔ ๑๘:๑๔
ฉลองปีใหม่อย่างไร ไม่ให้ทำลายสุขภาพ

โดย โรงพยาบาลกรุงเทพ

เทศกาลคริสมาสต์และส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ใกล้เข้ามานี้ หลายท่านคงเตรียมตัววางแผนเฉลิมฉลอง กลับบ้านต่างจังหวัด เดินทางท่องเที่ยวทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะเป็นวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน แต่อย่าสนุกเพลินจนลืมดูแลสุขภาพตัวเอง มิเช่นนั้นตอนเทศกาลหมดไปสารพันโรคภัยอาจแวะมาเยี่ยมเยียนท่านได้ วันนี้โรงพยาบาลกรุงเทพมีเกร็ดความรู้มาฝากทุกท่านให้ได้ฉลองปีใหม่กันแบบสนุกสนานและไม่ทำลายสุขภาพตัวเอง

โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้แนะนำ วิธีการดูแลตนเองในเรื่องอาหาร ตลอดจนข้อควรระวังในการรับประทานช่วงที่ต้องร่วมงานปาร์ตี้ สังสรรค์บ่อยๆ การรับประทานอาหารหรือการดื่มเครื่องดื่มสังสรรค์คงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในช่วงเทศกาล ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ จะมีคำแนะนำเรื่องอาหารและการดูแลสุขภาพต่างกันไป เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เช่น การสังสรรค์ต่อเนื่อง อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้ง หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำอัดลม ไวน์หวาน หากรับประทานอาหารมากขึ้น อาจจำเป็นต้องมีการปรับขนาดยา โดยเฉพาะยาฉีดอินซูลินขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีภาวะเจ็บป่วยที่ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง อาจจำเป็นต้องปรับลดขนาดยาลง ควบคู่ไปกับการตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองบ่อยขึ้น เพื่อเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดที่อาจสูงหรือต่ำผิดปกติ จนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยและญาติที่ดูแลควรมีความรู้เบื้องต้นในการแก้ไขภาวะผิดปกติต่างๆ เช่นเมื่อผู้ป่วยมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น ใจสั่น หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม ตรวจระดับน้ำตาลปลายนิ้วผู้ป่วยพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หากยังรู้สึกตัวดี ควรหาน้ำหวาน น้ำผลไม้ 1 แก้ว หรือลูกอมให้ผู้ป่วยรับประทาน เพื่อเป็นการปฐมพยาบาลก่อนพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขาหมู ไข่แดง อาหารประเภททอด หอย ปลาหมึก เป็นต้น เพราะระดับไขมันในเลือดที่สูง จะส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันง่ายขึ้น แม้ทานยาลดระดับไขมันอยู่เสมอ หากไม่ควบคุมอาหารด้วย อาจทำให้อาการของโรคเป็นมากขึ้นได้ นอกจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคแต่ละโรคแล้ว การบริโภคอาหารและน้ำที่สุก สะอาด ก็เป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ หรืออาหารแปลกๆที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ ท้องเสีย อาเจียนและติดเชื้อรุนแรงได้ ส่วนใครที่มีแผนว่าจะไปท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาวๆ ก็ควรเตรียมตัวดูแลสุขภาพให้พร้อมก่อนเดินทางไปเที่ยว โดยคำนึงถึงปัจจัยหลัก 4 อย่าง คือ

1. ไปเที่ยวที่ไหน ระยะเวลาในการเดินทางเป็นอย่างไร เช่น ไปทะเลหรือภูเขา โดยรถโดยสารหรือ เดินทางไปต่างประเทศ โดยเครื่องบิน

2. สถานที่ ที่จะไปถึงมีสภาพอย่างไร ในเรื่องของที่พัก ความสะอาด อากาศ ความสะดวกสบาย บริการสาธารณสุข อาหาร น้ำดื่ม

3. สภาพร่างกายของตนเองเป็นอย่างไร โรคประจำตัวที่เป็นอยู่ ยาประจำ ขณะนี้มีภาวะสุขภาพอื่นใดอีกหรือไม่ เช่น ตั้งครรภ์

4. หากเดินทางร่วมเป็นคณะ จำเป็นต้องทราบปัญหาของผู้ร่วมทาง โดยเฉพาะหากเป็นผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก หรือผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ว่าดูแลตนเองได้หรือไม่ ว่าต้องมีผู้ช่วยหรือผู้ดูแล หรือต้องจัดเตรียมสิ่งใดเป็นพิเศษ เช่น อาหารเฉพาะ รถเข็น เปลนอน ยกตัวอย่างเช่น หากต้องเดินทางไปต่างประเทศ ไปพม่า อินเดีย หรือเนปาล พร้อมญาติผู้ใหญ่หรือเด็กเล็ก เป็นระยะเวลา 10 วัน ท่าน และ ผู้เดินทางต้อง สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรจะสอบถามแพทย์ประจำตัวของท่านว่า สามารถเดินทางไกลได้หรือไม่ ถ้าได้ ก็ต้องเตรียมยาประจำตัวที่ใช้ทุกวันไปให้พร้อม ซึ่งมีความสำคัญพอๆ กับพาสปอร์ตเลยทีเดียว นอกเหนือจากนั้นอาจ ต้องขอใบรับรองแพทย์จากแพทย์ประจำตัว ว่ามีโรคประจำใดบ้าง ทานยาใดอยู่ หรือแพ้ยาใดหรือไม่ และเบอร์ติดต่อฉุกเฉินของแพทย์ประจำตัวหรือสถานพยาบาลนั้นๆ

หากตั้งครรภ์ ควรให้สูตินรีแพทย์ พิจารณาว่า การตั้งครรภ์ของท่านไม่มีปัญหา และไม่เสี่ยงต่อการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด รวมถึงต้องขอใบรับรองแพทย์ รับรองอายุครรภ์ และคำเตือนไม่เดินผ่านเครื่องเอกซเรย์เพื่อยื่นให้เจ้าหน้าที่สายการบินทราบ โดยใบรับรองแพทย์ไม่ควรขอนานเกิน 1 สัปดาห์ก่อนการเดินทางในบางประเทศ อาจพบโรคติดต่อได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบ เอ, ไทฟอยด์, ไข้กาฬหลังแอ่น, ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น ท่านควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีน ซึ่งต้องฉีดก่อนเดินทางเป็นระยะเวลานานพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิ ก่อนการเดินทาง หากสถานที่ที่ไปทุรกันดาร ห้องน้ำไม่เพียงพอ มีปัญหาเรื่องความสะอาดน้ำดื่ม ท่านอาจต้องเตรียมน้ำดื่มบรรจุขวด แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ แผ่นทำความสะอาด กระดาษชำระ หน้ากากอนามัย อาหารแห้งที่บรรจุหีบห่ออย่างดีไปด้วย ควรเตรียมยาสามัญประจำบ้าน ให้คลอบคลุม อาการผื่นแพ้ ไข้หวัด เจ็บคอ ท้องเสีย อุปกรณ์ทำแผล ให้เพียงพอกับจำนวนคณะผู้ร่วมเดินทาง และหาข้อมูลของสถานพยาบาล ในบริเวณที่จะไป หากเกิดเหตุไม่คาดคิด ระหว่างการเดินทาง ควรระมัดระวังความสะอาดของอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ที่ใช้รับประทานอาหาร และความสะอาดของ “มือ” เป็นสำคัญ อาหารใดที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่แน่ใจในขั้นตอนการปรุงอาหารหรือความสะอาด ควรหลีกเลี่ยง รวมถึงระมัดระวังต่อการเกิดอุบัติเหตุ ที่สำคัญ ขอให้มี “สติติดตัว อยู่เสมอ”

อย่างไรก็ตามหลักการการดูแลสุขภาพในช่วงเทศกาลไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เราเอาใจใส่ เตรียมพร้อม และดูแลรักษาตัวเองอย่างเหมาะสม โดยอาศัยหลักในการปฏิบัติ 5 ประการง่ายๆ คือ ตรวจสภาพ (สุขภาพ) ตรวจสอบ (ความคุ้มครอง) พกสมุด(ประจำตัวผู้ป่วย) พกยา และรักษาตัว หากปฏิบัติได้ครบดังนี้แล้ว เทศกาลปีใหม่ที่ใกล้จะมาถึงนี้ย่อมจะเป็นเทศกาลแห่งความสุข ที่ทุกท่านจะได้เฉลิมฉลองด้วยสุขภาพใจ สุขภาพกายที่สมบูรณ์ โรงพยาบาลกรุงเทพฝากทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4