สพฉ.เตรียมรณรงค์การใช้เครื่อง AED เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

อังคาร ๒๐ มกราคม ๒๐๑๕ ๑๕:๑๔
ผนึกหน่วยงานเอกชนเตรียมติดตั้งในพื้นที่สาธารณะพร้อมฝึกอบรมประชาชน ชูหลัก 3H ในการช่วยเหลือ ชี้หากผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลือเร็ว และมีเครื่อง AED ที่ครอบคลุมจะเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้ถึง 45 เปอร์เซ็นต์

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้ออกมารณรงค์อย่างต่อเนื่องถึงการเรียนรู้ขั้นตอนของห่วงโซ่การรอดชีวิต เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการกู้ชีพให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน หัวใจหยุดเต้นฉียบพลันนอกโรงพยาบาล โดยสิ่งที่สำคัญของกระบวนการกู้ชีพ คือ การใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ด้วยเพราะข้อจำกัดหลายประการ อาทิ อุปกรณ์ดังกล่าวมีราคาสูง แต่ถือเป็นโอกาสอันดีที่ สพฉ. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชนจากหลายองค์กร บริจาคเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ จำนวนหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนต่อไป สพฉ. จะนำเครื่องดังกล่าวไปติดตั้งให้กับหน่วยงานและพื้นที่สาธารณะต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เพื่อรณรงค์ให้มีการติดตั้งเครื่อง AED ในที่สาธารณะ ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันของผู้มาใช้บริการ

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. กล่าวว่า เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของประชาชนที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันนอกสถานพยาบาล สพฉ. จึงได้เตรียมการประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้มีการเตรียมพร้อมการติดตั้งและการฝึกใช้เครื่อง AED ในสถานที่ที่มีโอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะฉุกเฉินดังกล่าว เพื่อให้เครื่อง AED ได้ถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในประเทศญี่ปุ่นได้มีการติดตั้งเครื่อง AED ในที่สาธารณะ ที่มีความเสี่ยงได้แก่ สถานีรถไฟ สถานีรถโดยสาร สนามบิน บนเครื่องบิน บนรถไฟ สนามแข่งขันวิ่งมาราธอน สนามกีฬาที่มีคนจำนวนมาก สนามกอล์ฟ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน หน่วยบริการของราชการ สถานที่สำคัญ รวมทั้งโรงงานที่มีคนงานจำนวนมาก และสถานที่ท่องเที่ยวที่ห่างไกลจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งทำให้พบสถิติอัตราการรอดชีวิตของประชาชนมากขึ้นถึง 45 เปอร์เซ็นต์เมื่อได้ใช้เครื่องดังกล่าว ดังนั้นถือเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้มีการเรียนรู้เรื่องการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยล่าสุด สพฉ.ก็ได้จัดอบรมเรื่องการใช้เครื่อง AED ให้กับชมรมจักรยานและอาสาสมัครจักรยานกู้ชีพจำนวน 35 คน เพื่อให้เรียนรู้ถึงกระบวนการใช้เครื่อง AED ในการกู้ชีพ อย่างไรก็ตามการใช้เครื่อง AED ในประเทศไทยยังถือเป็นเรื่องใหม่ ดังนั้นประชาชนที่จำเป็นจะต้องใช้เครื่องดังกล่าวในการกู้ชีพควรดำเนินการช่วยเหลือภายใต้คำแนะนำของแพทย์ หรือคำแนะนำจากผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669

นพ.อนุชา การช่วยชีวิตผู้เข้าให้การช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินจะต้องตระหนักถึงหลัก “3H” คือ 1.Hazard ก่อนการช่วยเหลือผู้ช่วยเหลือควรตรวจสอบอันตรายหรือภาวะเสี่ยงก่อนโดยจะต้องดูว่าบริเวณที่ผู้ป่วยอยู่นั้นมีอะไรอันตรายบ้างที่จะมีผลกระทบต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน 2. Help คือการช่วยเหลือโดยโทรผ่านสายด่วน 1669 พร้อมทั้งทำการปฐมพยาบาลตามคำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน และ 3. Hello คือการเข้าไปปลุกเรียกผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ตอบสนองจากการช่วยเหลือตามแนวทางสามH แล้วให้ผู้เข้าให้การช่วยเหลือทำการฟื้นคืนชีพทันทีและรีบนำเครื่องAED เข้ามาช่วยในการฟื้นคืนชีพก็จะทำให้โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นได้

สำหรับเครื่อง AED เป็นเครื่องมือที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบอิเล็กทรอนิกส์พกพา ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ได้รับการฝึกฝนการใช้ก็สามารถใช้เครื่องนี้ได้ ภายใต้คำแนะนำของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินผ่านสายด่วน 1669 โดยเมื่อมีการเปิดการใช้งานของเครื่อง AED เครื่องก็จะสามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้ โดยการรักษานั้นระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องจะออกคำสั่งให้เราเป็นผู้ปฏิบัติตามได้ คือเริ่มแรกผู้ที่ทำการช่วยเหลือจะต้องเปิดฝาเครื่อง AED และฉีกซองบรรจุอิเล็คโทรด โดยแผ่นอิเล็คโทรดจะมีอยู่ 2 ชิ้น คือ ชิ้นแรกจะต้องนำไปติดบนทรวงอกตอนบนของผู้ป่วย และแผ่นที่สองจะต้องติดบนผิวทรวงอกตอนล่างของผู้ป่วย จากนั้นเครื่อง AED จะทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งขณะนี้ห้ามผู้ที่ช่วยเหลือสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด จากนั้นเมื่อเครื่องวินิจเสร็จเสร็จแล้วจะขึ้นสัญญาณให้ทำการช็อคไฟฟ้า ให้ผู้ช่วยเหลือกดที่ปุ่มช็อคตามสัญญาณที่ปรากฏอยู่บนตัวเครื่อง และสลับกับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหรือCPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเจ้าหน้าที่กู้ชีพจะมาถึง โดยการช่วยเหลือควรทำภายใน 3-5 นาที จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4