วารสาร Lancet Neurology เผยรายงานการวิจัยครั้งสำคัญ ตอกย้ำพันธกิจระยะยาวในการต่อสู้กับโรคสมองเสื่อม

อังคาร ๑๕ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๔:๑๓
ผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 ชีวิตร่วมรณรงค์จัดการกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ในวารสาร Lancet Neurology ฉบับเดือนเมษายน

สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (Alzheimer's Disease International: ADI) มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ Lancet Neurology Commission ได้อุทิศวารสาร Lancet Neurology ฉบับที่ 15 ประจำเดือนเมษายน ให้กับการนำเสนอภาพรวม ข้อแนะนำ การดูแลรักษา และการวิจัยเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ในรายงานหัวข้อ "Defeating Alzheimer's disease and other dementias: a priority for European science and society" ภายใต้การนำของศ.เบนจท์ วินแบลด จาก Center for Alzheimer Research at the Karolinska Institutet ในสวีเดน และเรียบเรียงเนื้อหาโดยคณะนักวิจัยชั้นนำจากสวีเดน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เดนมาร์ก แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์

รายงานความยาว 74 หน้าฉบับนี้ จะได้รับการนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการรัฐสภายุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ในวันที่ 15 มีนาคม

รายงานข้างต้นมีเนื้อหาสอดคล้องกับรายงาน World Alzheimer Report 2015 ของ ADI ในหัวข้อ "The Global Impact of Dementia: An analysis of prevalence, incidence, cost and trends" ที่เรียกร้องให้มีการกำหนดพันธกิจทางเศรษฐกิจและทางการเมืองในระยะยาว เพื่อยกระดับการวิจัยและการดูแลรักษาโรคสมองเสื่อม ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำอย่างหนักแน่นถึงความสำคัญของการรวมพลังกันเพื่อสร้างความก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมถึงการสร้างความร่วมมือระดับนานาชาติระหว่างหน่วยงานรัฐ สถาบันวิชาการ หน่วยงานด้านเภสัชภัณฑ์ และอื่นๆ ตลอดจนการพัฒนาระบบพื้นฐานสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมนอกเหนือจากการใช้ยา

ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นทุกๆ 3 วินาทีทั่วโลก และคาดว่าจำนวนผู้ป่วยโรคนี้จะพุ่งขึ้นเกือบสองเท่าในทุกๆ 20 ปี โดย 58% ของผู้ป่วยอาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง

ภายในปี 2593 ประชากร 131 ล้านคนทั่วโลกจะประสบภาวะสมองเสื่อม และค่าใช้จ่ายจากโรคดังกล่าวจะมีมูลค่านับล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2561

ข้อแนะนำต่างๆ ในรายงานเป็นไปตามความคืบหน้าที่เกิดขึ้นจากการประชุมสุดยอดโรคสมองเสื่อมของกลุ่ม G8 (G8 Dementia Summit) ในปี 2556 รวมถึงการจัดประชุมสืบเนื่องกันของกลุ่ม G7 และการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานระดับโลกเพื่อต่อสู้กับโรคสมองเสื่อม (Global Action against Dementia) ครั้งแรกขององค์การอนามัยโลกเมื่อเดือนมีนาคม 2558 เพื่อกำหนดแผนระดับชาติว่าด้วยโรคสมองเสื่อมในประเทศต่างๆทั่วโลก และ ADI ก็เห็นพ้องกับรายงานดังกล่าวในการเรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศกำหนดแผนระดับชาติว่าด้วยโรคสมองเสื่อม ซึ่งประกอบด้วย

- การยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการพัฒนานโยบายแห่งชาติ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของระบบพื้นฐานและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในทุกประเทศ

- การสร้างความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับโรคสมองเสื่อมในทุกระดับ รวมถึงการสร้างความก้าวหน้าในการพัฒนาชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม

- การให้ความสำคัญกับสิทธิและเสียงของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในทุกระดับ รวมถึงการเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ป่วยผ่านอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) ขององค์การสหประชาชาติ

มาร์ค วอร์ทแมน กรรมการบริหาร ADI ระบุว่า รายงานฉบับดังกล่าวเป็นเครื่องยืนยันว่า "เรารู้ว่าเราต้องทำอะไรบ้าง และเราต้องการแค่เจตจำนงทางการเมืองเพื่อทำให้มันเกิดขึ้นจริง ขณะนี้เราได้เรียกร้องให้ WHO, EU และ Global Action Against Dementia กำหนดนโยบายออกมา และเราขอเรียกร้องให้กลุ่มประเทศ G20 ให้ความสำคัญกับโรคสมองเสื่อมเช่นกัน"

ด้านศาสตราจารย์วินแบลด อดีตประธานและสมาชิกปัจจุบันของคณะที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ของ ADI แสดงความเห็นว่า

"ในการต่อสู้กับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆ การร่วมมือกันคือสิ่งจำเป็น ไม่ใช่แค่ในด้านการวิจัยเท่านั้น แต่รวมถึงบนเวทีการเมืองทุกระดับด้วย ผมหวังว่างานของเราจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น"

สามารถอ่านรายงานจาก Lancet Neurology Commission หลังวันที่ 15 มีนาคม 2559 ได้ที่ http://www.thelancet.com/journals/laneur/issue/current

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

สิ่งพิมพ์: 'Defeating Alzheimer's disease and other dementias: a priority for European science and society', Bengt Winblad, Philippe Amouyel, Sandrine Andrieu et al, Lancet Neurology, 2016;15:455-532. ไม่อนุญาตให้เข้าถึงออนไลน์ก่อนวันที่ 15 มีนาคม เวลา 00:30 ตามเวลา CET

เกี่ยวกับสมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล (ADI) เป็นสมาพันธ์ระดับโลกที่ประกอบด้วยสมาคมอัลไซเมอร์ 83 แห่งจากทั่วโลก และมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับองค์การอนามัยโลก พันธกิจของ ADI คือการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและครอบครัวของผู้ป่วยทั่วโลก ADI เชื่อว่ากุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการจัดการกับโรคสมองเสื่อม คือการผสมผสานแนวทางการแก้ปัญหาระดับโลกเข้ากับองค์ความรู้ในระดับท้องถิ่น ดังนั้น ADI จึงให้การสนับสนุนสมาคมอัลไซเมอร์ในท้องถิ่นในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและผู้ดูแล ขณะเดียวกันก็ดำเนินงานเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมในระดับโลก รวมทั้งรณรงค์ให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายในระดับรัฐบาล รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.alz.co.uk

เกี่ยวกับ Lancet Neurology Commission

Lancet Neurology Commission ก่อตั้งขึ้นโดยบรรณาธิการของวารสาร Lancet โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแก่นักการเมืองและผู้กำหนดนโยบาย ในเรื่องของโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นักวิจัยระดับแนวหน้าจากนานาประเทศกว่า 30 ชีวิต ได้มีส่วนร่วมในรายงานความยาว 78 หน้า ซึ่งกล่าวถึงความท้าทายต่างๆที่จำเป็นต้องจัดการเพื่อลดภาระจากโรคสมองเสื่อม

แหล่งข่าว: สมาพันธ์อัลไซเมอร์สากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4