มะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้เร็ว คัดกรองเร็ว ป้องกันโรค 90 %

พฤหัส ๐๗ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๒:๑๘
มะเร็งลำไส้ใหญ่ถือเป็นโรคลำดับต้นๆ ที่พบบ่อยในประเทศไทย จากสถิติที่มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นพบว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตเป็นลำดับ 3 ของโรคมะเร็งทั้งหมด ซึ่งถ้าหากไม่เริ่มป้องกันอย่างจริงจัง ก็จะถือว่าโรคนี้เป็นภัยใกล้ตัวอย่างแท้จริง

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคนี้ยังไม่ปรากฏอย่างแน่ชัด แต่ปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ประกอบด้วย 1. เป็นผู้มีประวัติการเป็นเนื้องอกที่บริเวณผนังลำไส้ เพราะเมื่อเวลาผ่านไป เนื้องอกบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 2. มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งชนิดดังกล่าว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคนี้ก่อนอายุ 50 ปี 3. เป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่ออกกำลังกาย และประสบปัญหาโรคอ้วน 4. มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ และ 5. ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะอยู่ในช่วงของอายุ 50 ขึ้นไป แต่ก็อาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่นเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคชนิดดังกล่าว ยังมีพฤติกรรมที่ชอบรับประทานอาหารประเภทปิ้งย่าง และมีภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังอีกด้วย

สำหรับคนส่วนใหญ่ เมื่อเอ่ยถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะคิดเสมอว่าไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ แต่ในปัจจุบันพบว่าการรักษามะเร็งชนิดนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก ดังนั้น "การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่" จึงถือว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีหลายวิธี อาทิ การตรวจหาเลือดในอุจจาระ การตรวจทางทวารหนักด้วยนิ้วมือ และการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น แต่วิธีที่ง่ายและเริ่มเป็นที่นิยมนั่นคือการตรวจด้วยการส่องกล้องเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่จากทวารหนักจนถึงลำไส้ใหญ่ในช่วงต้น ด้วยกล้องชนิดอ่อนโค้งงอมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลือง และไม่เจ็บตัว ที่สำคัญยังมีรายละเอียดในการตรวจที่มีคุณภาพมากที่สุด เนื่องจากการตรวจนี้ทำให้พบเห็นความผิดปกติของผนังลำไส้ได้อย่างชัดเจน สามารถเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ซึ่งจะให้ความถูกต้องแม่นยำมากกว่าการทำเอกซเรย์ อีกทั้งยังสามารถกำจัดเนื้องอกบางชนิดที่อาจเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แทนการผ่าตัดทางช่องได้อีกด้วย

ที่สำคัญก่อนการตรวจคัดกรองด้วยวิธีนี้ คนไข้ไม่ต้องเตรียมตัวยุ่งยาก เพียงแต่แจ้งข้อมูลให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยาหรือสารเคมี ยาที่รับประทานเป็นประจำ และประวัติการผ่าตัด จากนั้นทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ โดยจะใช้วิธีการดื่มของเหลวเข้าไปเพื่อช่วยกระตุ้นลำไส้และถ่ายท้อง การสวนทวารหนัก ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญ เพราะการเตรียมลำไส้ต้องทำให้สะอาด เนื่องจากจะมีผลต่อความสำเร็จในการรักษา และห้ามรับประทานอาหาร เครื่องดื่มใดๆทั้งสิ้นภายใน 6-8 ชั่วโมงก่อนการส่องกล้องด้วย

ส่วนการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังการส่องกล้อง ต้องนอนพักฟื้นจากการได้รับยานอนหลับและเฝ้าสังเกตอาการแทรกซ้อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นถึงกลับบ้านได้ โดยแพทย์จะไม่แนะนำให้ผู้ป่วยขับรถด้วยตัวเอง เนื่องจากยานอนหลับจะมีผลต่อการตัดสินใจและปฏิกิริยาต่างๆ ของร่างกายตลอดทั้งวัน

วิธีการตรวจคัดกรองโรคลำใส้ใหญ่แบบส่องกล้อง สามารถพบเชื้อมะเร็งตั้งแต่เริ่มต้น ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสหาย 90% และที่สำคัญมีโอกาสสูงที่คนไข้จะไม่กลับมาเป็นโรคชนิดนี้อีก ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคลำไส้ใหญ่จึงถือเป็นสิ่งที่ช่วยชีวิตเราได้ หากตรวจพบก่อนก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะฉะนั้นการเข้ารับ "การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่" จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา