“อัมมาร” เผย สปส.เบี้ยวดูแลสิทธิ์รักษาคนพิการ

จันทร์ ๒๙ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๑๗
"อัมมาร" เผยประกันสังคมเคยรับปากคณะกรรมการประสานระบบสุขภาพแห่งชาติ 3 กองทุน ดูแลสิทธิ์รักษาพยาบาลคนพิการ แต่สุดท้ายก็เงียบไป

ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงกรณีที่ นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ออกมาชี้ประเด็นเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าผู้พิการที่สมัครเข้าทำงานตามนโยบายรัฐ ต้องสูญเสียสิทธิประโยชน์รักษาพยาบาลเนื่องจากต้องถูกโอนย้ายจากบัตรทองสู่ประกันสังคม จากที่รักษาฟรีทุกโรงพยาบาลจะเหลือเพียงโรงพยาบาลเดียว โดยระบุว่า ก่อนหน้านี้สมัยที่ตนเป็นประธานคณะกรรมการประสานระบบสุขภาพแห่งชาติ 3 กองทุน ได้มีการชี้ประเด็นดังกล่าว ขณะที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในกรณีนี้คือผู้แทนสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ก็รับปากจะไปดูในรายละเอียดให้ แต่เรื่องนี้ก็เงียบไปจนกระทั่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวหมดหน้าที่ลง

"เราต้องการจะให้คนพิการทำงานถ้าเป็นไปได้ ไม่ว่าจะทำได้มากทำได้น้อย ถ้าเขาทำงานได้ก็จะดีในแง่ของสังคม ทีนี้ ไป ๆ มา ๆ กฎระเบียบขององค์กรต่าง ๆ มันก็แปลก เพราะสิทธิ์ 30 บาท เป็นสิทธิ์ที่ดูแลคนพิการอย่างต่อเนื่อง ส่วนประกันสังคมไม่ดูแลคนพิการ หรือใช้วิธีเหมาจ่ายหนเดียวแล้วเลิกรากันไป พอไปทำงาน ตามกฎหมายก็ต้องไปอยู่กับประกันสังคม ผมคิดว่าประกันสังคมก็ไม่ควรจะเกี่ยงเรื่องนี้ โดยหลักการแล้วเขาไม่ควรเสียสิทธิ์ แต่กลายเป็นว่าพอไปทำงานแล้วเขาเสียผลประโยชน์ มันก็น่าเสียดาย" ศ.ดร.อัมมาร กล่าว

นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ กล่าวต่อไปว่า ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมควรติดตามแก้ไข เป็นอำนาจของบอร์ดประกันสังคมว่าจะให้สิทธิประโยชน์อะไรในรายละเอียด จะให้เลิกแบบเหมาจ่ายแล้วจ่ายตามจริงอย่างไรก็ว่ากันไป

"ผมไม่อยากพูดเรื่องความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ เพราะมันเห็นกันโต้ง ๆ ว่าคนไม่ทำงานแล้วได้มีโอกาสทำงาน เขาเป็นคนพิการที่ตอนแรกอาจจะทำอะไรไม่ได้ แต่ก็ฟื้นฟูขึ้นมาจนกระทั่งทำงานได้ พอทำงานได้ทำไมไม่ให้เขาทำงาน ผมเชื่อว่าคนพิการเกือบทั้งหมดต้องการทำงานเองถ้าเป็นไปได้" ศ.ดร.อัมมาร กล่าว

อนึ่ง ก่อนหน้านี้ นพ.ยศ ชี้ประเด็นว่าผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่พิเศษกว่าผู้ใช้สิทธิบัตรทองทั่วไป โดยสามารถใช้บริการได้ในสถานพยาบาลทุกแห่ง และบางครั้งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือพิเศษซึ่งมีอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ฉะนั้นการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้พิการให้สามารถเลือกใช้บริการสถานพยาบาลใดก็ได้นั้นจะช่วยให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่เมื่อผู้พิการเข้าทำงานตามสถานประกอบการ ก็จะถูกเปลี่ยนสิทธิเป็นประกันสังคม ต้องเริ่มจ่ายเบี้ยสมทบ และเข้ารับการรักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลต้นสังกัดที่ลงทะเบียนไว้เท่านั้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4