หน้าฝน แพทย์เตือนเฝ้าระวัง ผู้มีโรคประจำตัวเสี่ยง!! เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่

จันทร์ ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๕๘
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่มีการระบาดใหญ่อย่างกว้างขวางเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในสังคมเมืองที่ผู้คนทำงานในอาคาร ใช้ระบบหมุนเวียนอากาศร่วมกันหรือการเดินทางอาศัยระบบการขนส่งมวลชนที่ผู้คนแออัด ได้แก่ รถไฟ เครื่องบิน การเดินทางระหว่างประเทศรวดเร็วขึ้นเป็นผลทำให้เกิดการระบาดของโรคแพร่กระจายโดยง่ายและรวดเร็ว การป้องกันโรคโดยการฉีดวัคซีนในบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายหลังเกิดโรคไข้หวัดใหญ่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

นพ. ไพฑูรย์ บุญมา อายุรแพทย์ ศูนย์อายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Influenza Virus) ซึ่งทำให้เกิดโรคกับระบบทางเดินหายใจ แต่มีความรุนแรงมากกว่าไวรัสทางเดินหายใจอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้กลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด , โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีความต้านทานร่างกายไม่แข็งแรง โดยอาการของไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว เหนื่อย ไอแห้งๆ เจ็บคอ มีน้ำมูก และในเด็กอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้ จะมีโอกาสในการเกิดโรคได้ตลอดปี แต่ระยะเวลาที่จะมีการระบาดมากในฤดูฝน และ ไวรัสไข้หวัดใหญ่จะติดต่อผ่านเสมหะของผู้ป่วยโดยการไอหรือจามแล้วเข้าสู่ปากและจมูกของผู้ใกล้ชิด ส่วนน้อยเกิดจากการสัมผัสกับเสมหะของผู้ป่วยที่ติดกับสิ่งของเครื่องใช้แล้วมือที่สัมผัสเชื้อมาสัมผัสที่ปาก หรือจมูกจะเกิดโรคได้เช่นกันภาวะแทรกซ้อน หลังเกิดอาการของไข้หวัดใหญ่ ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ภาวะขาดน้ำและทำให้โรคประจำตัวที่เป็นอยู่แย่ลง เช่น ภาวะหัวใจวาย หอบหืด เบาหวาน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเสียชีวิตได้ ซึ่งโดยปกติแล้วควรฉีดวัคซีนก่อนช่วงที่จะมีการระบาดของโรคในประเทศไทยควรฉีดระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน ของทุกปี โดยร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคหลังการฉีดวัคซีน 2 สัปดาห์ จำเป็นต้องฉีดวัคซีนทุกปีเนื่องจากเชื้อไข้หวัดมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่ระบาดและวัคซีนจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคไวรัส ไข้หวัดใหญ่เฉพาะสายพันธุ์ที่ฉีดได้ประมาณ 1 ปีเท่านั้น และการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่จะเปลี่ยนสายพันธ์ได้บ่อย วัคซีนที่ผลิตแต่ละปี จะเป็นวัคซีนเฉพาะสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในปีนั้นเท่านั้น ดังนั้นควรจะต้องฉีดวัคซีนปีละครั้งเพราะเป็นการป้องกันโรคที่ดีที่สุด นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยและเสมหะของผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัส จมูก ตา ปากของตัวเองหลังจากสัมผัสกับผู้ป่วย เมื่อมีอาการที่สงสัยไข้หวัดใหญ่ ควรอยู่ห่างผู้อื่น ปิดปาก จมูก เวลาไอหรือจาม ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนบ้าง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง หอบหืด เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคตับ โรคเอดส์ สมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคเรื้อรังดังกล่าว หญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป และผู้ต้องการลดอันตรายจากการติดเชื้อ

ประสิทธิภาพของวัคซีนจะได้ผลในการป้องกันโรคประมาณ 70 – 90 % แต่ในผู้สูงอายุ การตอบสนองต่อวัคซีนจะน้อยลงเนื่องจากความต้านทานของร่างกายน้อยกว่าปกติ แต่ยังมีประโยชน์ในการลดภาวะแทรกซ้อน โอกาสที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4