ผู้เชี่ยวชาญชี้ใยอาหารลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ เสริมสร้างสมดุลในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว

จันทร์ ๐๕ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๔:๐๒
คนจำนวนมากยังมีความเข้าใจที่ผิดว่า ทางเดินอาหารเป็นเรื่องของการย่อยอาหารเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงระบบทางเดินอาหารมีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพคนเราในหลายมิติ โดยนอกจากจะเกี่ยวข้องกับระบบการย่อยและดูดซึมสารอาหารเพื่อไปใช้ในร่างกายแล้ว การรับประทานอาหารที่มีคุณค่าและพฤติกรรมการกินที่ถูกต้อง ยังส่งผลต่อระบบอื่นๆ ในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ความดันโลหิต การเผาผลาญไขมัน การต้านทานอนุมูลอิสระ เป็นต้น ดังนั้น นอกจากจะคำนึงถึงประโยชน์ในแง่ของพลังงานและสารอาหารที่จะได้รับแล้ว เราควรมีความเข้าใจธรรมชาติและกระบวนการที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร เพื่อการเลือกรับประทานและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านเวชภัณฑ์คุณภาพสูงและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของไทย ต้องการส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ จึงจัดประชุมวิชาการในหัวข้อ "การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพในร้านยา" ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 โดยในครั้งนี้ได้นำเสนอความรู้และข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ พรีไบโอติกส์ (prebiotics) และ โปรไบโอติกส์ (probiotics) ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร โดยมุ่งหวังให้นิสิตนักศึกษาและบุคลากรทางด้านเภสัชกรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจำหน่ายและให้คำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันการทำงานที่ผิดปกติและรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้

พรีไบโอติกส์ คือ ส่วนของอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารส่วนต้นแต่จะช่วยส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์บางชนิดในลำไส้ใหญ่และส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จุลินทรีย์บางชนิดดังกล่าวอาจเรียกว่า โปรไบโอติกส์ ซึ่งมีความหมายว่ากลุ่มของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเข้าไปอยู่ในระบบของร่างกายมนุษย์และสัตว์แล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยจุลินทรีย์นั้นทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของสภาพแวดล้อมในระบบลำไส้ ตัวอย่าง เช่น แลคโตบาซิลลัส และบิฟิโดแบคทีเรีย เป็นต้น คุณสมบัติที่ดีของโปรไบโอติกส์ ได้แก่ สามารถทนต่อน้ำย่อยกรด ด่าง ในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ จึงเกิดประโยชน์ในการหมักในลำไส้ใหญ่ช่วยส่งเสริมสุขภาพลำไส้

กระบวนการหมักที่ลำไส้ใหญ่นี้ เกิดจากการทำงานของแบคทีเรียมีประโยชน์จำพวกโปรไบโอติกส์ที่มีจำนวนมากกว่าจำนวนเซลล์ของร่างกายถึง 10 เท่า หรือประมาณ 100 ล้านล้านเซลล์ ซึ่งเมื่อกากอาหารที่ไม่สามารถย่อยด้วยระบบเอนไซม์ในลำไส้เล็กเคลื่อนผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ โปรไบโอติกส์จะใช้ใยอาหารบางกลุ่มเป็นอาหารและผลผลิตจากการหมักจะได้กรดไขมันสายสั้นซึ่งมีเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น การรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในร่างกายเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหารตั้งแต่ระดับพื้นฐาน เช่น ช่วยเรื่องการขับถ่าย การดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ไปจนถึงการป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการบริโภคอาหารที่มีบทบาทช่วยส่งเสริมสุขภาพลำไส้ ได้แก่ โปรไบโอติกส์เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในร่างกาย และพรีไบโอติกส์เพื่อเสริมประสิทธิภาพโปรไบโอติกส์ให้ดียิ่งขึ้น

อาหารโปรไบโอติกส์ ที่หารับประทานได้ง่ายมากคือ โยเกิร์ต แต่ต้องเลือกให้ถูกต้อง ซึ่งโยเกิร์ตที่จัดว่าเป็นโปรไบโอติกส์ ต้องหมักด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่มีการศึกษาแน่ชัดว่าส่งผลดีต่อสุขภาพ เช่น ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum) ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010) แล็คโตแบซิลลัส เคซิไอ (Lactobacillus casei) แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น ให้ลองพลิกอ่านฉลากก่อนเลือกซื้อ ที่สำคัญควรดูอุณหภูมิในตู้แช่ด้วยว่าเย็นพอหรือไม่ เพราะส่งผลต่อคุณภาพของโปรไบโอติกส์

ส่วนอาหารพรีไบโอติกส์ สามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะในผัก เช่น รากชิคอรี หัวอาร์ทิโชก กระเทียม หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิล และเมล็ดธัญพืชบางชนิด นอกจากนี้ยังมีการผสมสารที่เป็นพรีไบโอติกส์ลงในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารก โยเกิร์ต พาสต้า ขนมอบ ซอส อาหารเช้าธัญพืช ซุป ขนมขบเคี้ยวแบบต่างๆ เป็นต้น หรืออาจเลือกรับประทานในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

นายแพทย์สยาม ศิรินธรปัญญา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลราชวิถี วิทยากรรับเชิญภายในงานกล่าวถึงประโยชน์ของการใช้พรีไบโอติกส์และโปรไบโอติกส์ในทางเวชปฏิบัติว่า สามารถให้ผลทั้งในแง่การป้องกันและรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยได้หลากหลาย เช่น การปรับปรุงการทำงานของลำไส้ซึ่งส่งผลต่อระบบการขับถ่าย ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในลำไส้ การรักษาการอักเสบของลำไส้ ซึ่งในการรักษานั้นยังปลอดภัยและเกิดผลข้างเคียงน้อย นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และยังช่วยส่งเสริมการดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียมเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก

ทั้งนี้นายแพทย์สยามได้กล่าวย้ำว่าพรีไบโอติกส์และโปรไบโอติกส์แต่ละชนิดให้ผลที่แตกต่างกัน จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมในแต่ละกรณี สำหรับการเลือกใช้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร นอกจากการเลือกชนิดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แล้วควรพิจารณาจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพ ไว้วางใจได้ และควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้