สคร. 12 สงขลา เทิดทูนพระอัจฉริยภาพในหลวง รัชกาลที่ 9 ด้านงานควบคุมโรคเท้าช้าง จ.นราธิวาส

พุธ ๒๕ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๓๒
ดร.นายแพทย์สุวิช ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เป็น 1 ใน 6 ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และพัฒนาการประกอบอาชีพของเกษตรกรในแต่ละภูมิภาค ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ทำหน้าที่พัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวให้สามารถใช้ทำการเกษตรได้ รวมทั้งแสวงหาแนวทางในการพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ให้กับราษฎรได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้จนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส มีลักษณะพิเศษคือเป็นศูนย์การศึกษาพัฒนาฯเพียงแห่งเดียวที่มีสำนักงานโครงการควบคุมโรคติดต่อและการสาธารณสุข ภายใต้การดูแลของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

ในปี พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์เสด็จพระราชดำเนิน แปรประทับพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทรงเยี่ยมราษฎรในหลายพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาส ทรงทราบถึงปัญหาและความทุกข์ยากของราษฎรอันเนื่องมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าพรุ สภาพดินเป็นดินเปรี้ยวจัดไม่สามารถปลูกพืชได้ ซึ่งในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น นายแพทย์เอิบ ณ บางช้าง ได้กราบบังคมทูลเรื่องโรคเท้าช้างชุกชุมบริเวณรอบป่าพรุ จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งโครงการดังกล่าว ซึ่งมีชื่อโครงการเดิมว่า "โครงการปราบปรามและควบคุมโรคฟิลาเรีย" แต่ด้วยพระอัจริยภาพ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมองการณ์ไกล พระองค์ทรงวินิจฉัยว่าควรเป็น "โครงการปราบปรามควบคุมโรคติดต่อและการสาธารณสุข" เนื่องจากทรงเห็นว่าจะได้ดำเนินควบคุมโรคหนอนพยาธิ โรคเรื้อน และภาวะทุพโภชนาการซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขประจำถิ่นของ จังหวัดนราธิวาส ด้วยเหตุนี้จึงมีพระราชปณิธานที่จะต่อยอดการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาฯ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านต่างๆ ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนยิ่งขึ้นสืบไป

ดร.นายแพทย์สุวิช กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาการกำจัดโรคเท้าช้าง ในจังหวัดนราธิวาสมีความซับซ้อนมากกว่าที่อื่น คือ เป็นโรคเรื้อรังที่สังคมรังเกียจ การเจาะโลหิตในคนต้องเจาะในเวลากลางคืนเพราะเป็นช่วงเวลาที่เชื้อปรากฏตัวในกระแสเลือด การมีแมวเป็นแหล่งรังโรคในสัตว์จึงจำเป็นต้องอาศัยชาวบ้านช่วยเจาะเลือดและจับแมวให้ เพื่อรักษา ประกอบกับเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความยากลำบากและเสี่ยงสูง หากลำพังแต่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสคงดำเนินการไม่สำเร็จ แต่ด้วยพระบารมี ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำให้การทำงานของโครงการปราบปรามควบคุมโรคติดต่อและการสาธารณสุขในศูนย์พิกุลทองฯ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ของพระองค์ ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและสามารถดำเนินการกำจัดโรคเท้าช้างในจังหวัดนราธิวาสสำเร็จได้ในที่สุดในปี พ.ศ.2560 แม้จะล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นประมาณ 10 ปี จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่คนไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๐๘ 'AKS' เดินหน้าปรับพอร์ตสินเชื่อในบริษัทย่อย 'BYC' พร้อมดันมูลค่ากิจการทะลุ 400 ล้านบาท
๑๓:๔๑ ผถห.TPCH อนุมัติจ่ายปันผลปี 66 อัตรา 0.40 บ./หุ้น เตรียมรับทรัพย์ 20 พ.ค.67-มั่นใจผลงานปี 67 โตแกร่ง ลุยพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเพิ่มอีก 4
๑๓:๒๖ เกมเศรษฐี 2: Meta World คว้ารางวัล 'The Most Popular Rising Game of The Year' จากงาน Thailand Social AIS Gaming Awards
๑๓:๑๗ ผู้ถือหุ้น AGE ไฟเขียวปันผล 0.20 บาท ฉลุย
๑๓:๒๙ ไทยเวียตเจ็ทเสนอ โปรส่งท้าย เที่ยวคลายร้อน ตั๋วเริ่มต้น 100 บาท
๑๓:๔๗ TERA เปิดเทรดวันแรกราคาพุ่งเหนือจอง 122.86 %
๑๓:๔๑ LINE TODAY ปักธง 'LIVE TODAY' ออนไลน์ไลฟ์แห่งชาติ เดินหน้าดันพันธมิตรโต ตอกย้ำกลยุทธ์สร้างอิมแพคให้ธุรกิจคอนเทนต์
๑๓:๒๐ Coach เปิดตัว The Coach Tabby Shop ลาน PARC PARAGON ต่อยอดกระเป๋ารุ่น Tabby Bag สู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เหนือความคาดหมาย
๑๓:๔๒ YLG ชี้ทองคำผันผวนระยะสั้นรับแรงขายทำกำไร หลังคลายกังวลเหตุปะทะตะวันออกกลาง ระยะสั้นแนะขาย ระยะยาวหาจังหวะเก็บรับเทรนด์ระยะยาว 2-3
๑๓:๒๒ สสวท. จับมือ องค์การค้าของ สกสค. อบรมครู สควค. สร้างพลังครูวิทย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ