สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสิงคโปร์เตรียมอนุมัติสิทธิบัตรเทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์ค

พุธ ๒๐ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๐๘:๐๕
- สิทธิบัตรครอบคลุมความสำเร็จในการแทรกลำดับดีเอ็นเอภายนอกเข้าสู่โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอตด้วยเทคนิค CRISPR

- เทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์คเตรียมได้รับการอนุมัติสิทธิบัตรเป็นครั้งที่ 4 หลังได้รับสิทธิบัตรจากสำนักงานสิทธิบัตรออสเตรเลีย แคนาดา และยุโรปมาแล้ว

- เมอร์คเตรียมออกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี CRISPR แก่ผู้ที่สนใจ

เมอร์ค ( Merck ) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ ประกาศว่า สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสิงคโปร์ ได้ออกหนังสือชี้แจงคุณสมบัติเหมาะสมที่จะอนุมัติ (Notice of Eligibility for Grant) ให้กับคำขอรับสิทธิบัตรของเมอร์ค ครอบคลุมเทคโนโลยี CRISPR ของบริษัท ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการแทรกจีโนมเข้าในเซลล์ยูคาริโอต

รูปภาพ - http://mma.prnewswire.com/media/620848/Merck.jpg

อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าวว่า "การที่สิงคโปร์ออกหนังสือแจ้งการรับจดสิทธิบัตรให้กับเทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์คนั้น ถือเป็นการเสริมแกร่งให้กับคลังทรัพย์สินทางปัญญาของเราไปอีกขั้นหนึ่ง เราหวังว่าคำขอรับสิทธิบัตรอื่นๆ จะได้รับการอนุมัติเพิ่มอีกในอีกหลายประเทศ ขณะที่เราเดินหน้าประสานงานกับชุมชนวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเพื่อแสวงหาวิธีรักษาโรครูปแบบใหม่ๆ"

ขณะนี้ เมอร์คกำลังออกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรที่ได้รับการอนุมัติเหล่านี้ เพื่อนำไปต่อยอดในขอบข่ายต่างๆ ทั้งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร และการรักษาโรค

สิทธิบัตรพื้นฐานที่กำลังจะได้รับในสิงคโปร์นี้มีชื่อว่า "CRISPR-BASED GENOME MODIFICATION AND REGULATION" ซึ่งครอบคลุมการแทรกโครโมโซม หรือการตัดลำดับโครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต (เช่น เซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเซลล์พืช) รวมถึงการแทรกลำดับดีเอ็นเอภายนอกหรือดีเอ็นเอผู้ให้เข้าสู่เซลล์เหล่านี้ด้วยเทคนิค CRISPR เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแทนที่การกลายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค ด้วยลำดับที่เป็นประโยชน์หรือพร้อมทำหน้าที่ ซึ่งเป็นวิธีสำคัญในการสร้างโมเดลของโรคและการทำยีนบำบัด นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถใช้วิธีดังกล่าวในการแทรกทรานส์ยีนที่คอยติดฉลากโปรตีนภายในเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบภายในเซลล์ด้วยสายตา

เทคโนโลยีตัดต่อจีโนม CRISPR ซึ่งช่วยให้ตัดต่อโครโมโซมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้อย่างแม่นยำนั้น กำลังเข้ามาช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษาโรคที่รักษาได้ยากที่สุดเป็นอันดับต้นๆในยุคนี้ เทคนิค CRISPR สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่การระบุยีนที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งและโรคหายาก ไปจนถึงการคืนสภาพการกลายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุทำให้ตาบอด

เมื่อได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการแล้ว สิทธิบัตรสิงคโปร์จะขยายการคุ้มครองเทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์คให้ครอบคลุมสิงคโปร์ ซึ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานสิทธิบัตรของบริษัท หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมอร์คได้ยื่นขอสิทธิบัตรสำหรับเทคนิค CRISPR ทั้งในสหรัฐอเมริกา บราซิล จีน อินเดีย อิสราเอล ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ทั้งนี้ เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 สำนักงานสิทธิบัตรแห่งออสเตรเลียได้อนุมัติสิทธิบัตร CRISPR ให้กับเมอร์คเป็นครั้งแรก ตามมาด้วยสำนักงานสิทธิบัตรแห่งยุโรปและแคนาดา

เมอร์คสั่งสมประสบการณ์ในการปรับแต่งจีโนมมาเป็นระยะเวลา 12 ปี และยังเป็นบริษัทแรกที่นำเสนอบริการชีวโมเลกุลตามสั่งสำหรับการปรับแต่งจีโนม (TargeTro(TM) RNA-guided group II introns และ CompoZ(TM) zinc finger nucleases) ซึ่งขับเคลื่อนการใช้เทคนิคเหล่านี้ในแวดวงการวิจัยทั่วโลก นอกจากนี้ เมอร์คยังเป็นบริษัทแรกที่สร้างไลบรารี CRISPR ครอบคลุมจีโนมมนุษย์ทั้งหมด ทำให้นักวิจัยสามารถสำรวจต้นตอของปัญหาได้มากขึ้นและพัฒนาวิธีการรักษาได้เร็วขึ้น

เมอร์คเล็งเห็นประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดทำโครงการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมที่มีกรอบดำเนินการอย่างเหมาะสม เมื่อพิจารณาถึงสรรพคุณทางการรักษาโรคที่อาจกลายเป็นนวัตกรรมบุกเบิกวงการ ด้วยเหตุนี้ เมอร์คจึงให้การสนับสนุนโครงการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมที่ผ่านการทบทวนอย่างรอบคอบในแง่จรรยาบรรณและกฎหมาย โดยเมอร์คได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรมขึ้น เพื่อให้คำแนะนำแก่โครงการวิจัยที่เมอร์คมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการวิจัยเรื่องการปรับแต่งจีโนม หรือที่ใช้เทคนิคการปรับแต่งจีโนม

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมดของเมอร์คได้รับการเผยแพร่ผ่านทางอีเมลในเวลาเดียวกับที่มีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของเมอร์ค กรุณาเข้าไปที่ www.merckgroup.com/subscribe เพื่อลงทะเบียนออนไลน์ เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกบริการนี้

เกี่ยวกับเมอร์ค

เมอร์ค คือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำในด้านการดูแลสุขภาพ ชีววิทยาศาสตร์ และเพอร์ฟอร์แม้นซ์ แมททิเรียล พนักงานราว 50,000 คนของบริษัทได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยปรับปรุงและยกระดับคุณภาพชีวิต ตั้งแต่ยาชีวภาพเพื่อรักษาโรคมะเร็งหรือโรคปลอกประสาทอักเสบ ระบบที่ทันสมัยสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการผลิต ไปจนถึง liquid crystal ที่ใช้กับสมาร์ทโฟนและโทรทัศน์ LCD ทั้งนี้ ในปี 2559 เมอร์คทำยอดขายได้ 1.5 หมื่นล้านยูโร ใน 66 ประเทศ

เมอร์ค เป็นบริษัทเภสัชภัณฑ์และเคมีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2211 และปัจจุบันครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมอร์คครอบครองสิทธิ์ในชื่อและแบรนด์ "เมอร์ค" ทั่วโลก ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจในชื่อ อีเอ็มดี โซโรโน่, มิลลิพอร์ซิกม่า และอีเอ็มดี เพอร์ฟอร์แม้นซ์ แมททิเรียล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้