อย่าปล่อยให้ฝุ่น PM2.5 มาทำร้ายแม้ในพื้นที่ของเราเอง ดูแลอากาศสะอาดภายในรถ ป้องกันโรคร้ายที่คาดไม่ถึง

จันทร์ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๕:๒๐
การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่แต่ละวันผู้คนต้องใช้เวลาไม่น้อยอยู่บนรถเดินทางไป-กลับบ้านและออฟฟิศ ต้องเผชิญกับสารพัดมลพิษจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ต่างๆ และฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋วชนิดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอย่าง PM2.5 ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศในปริมาณมหาศาลจากการก่อสร้างและทำถนน ทำให้การดูแล "อากาศ" เรื่องใกล้ตัวที่สุดที่เราได้รับในทุกลมหายใจเข้า-ออกกลายเป็นเรื่องที่ยากที่สุด

เราอาจหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านเพื่อป้องกันตัวเองจากปริมาณมลพิษเหล่านั้นไม่ได้ โดยเฉพาะในขณะนี้ที่เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครกำลังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังวิกฤติปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กมาก ในอากาศ แต่เราเลือกได้ที่จะดูแลพื้นที่ของเราในขณะเดินทาง ซึ่งก็คือห้องโดยสารรถยนต์ให้ปลอดภัยจากมลพิษเหล่านั้นได้

ห้องโดยสารรถยนต์ แหล่งสะสมมลพิษที่คาดไม่ถึง!

ในขณะที่เราจำเป็นต้องนั่งอยู่กับที่ภายในพื้นที่ห้องโดยสารรถยนต์เป็นเวลานานๆ ท่ามกลางความ หนาแน่นของการจราจรบ้านเราที่สูงมากจนส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่รถติดที่สุดในโลกในช่วงที่มีการจราจรคับคั่งในปีที่แล้วนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือเรากำลังหายใจเอาอากาศที่วนเวียนอยู่ในพื้นที่แคบๆ นี้ตลอดเวลา

จะมีใครรู้บ้างว่าภายใต้บรรยากาศที่ดูเหมือนจะเย็นสบายด้วยแอร์และปลอดภัยจากสิ่งรบกวนภายนอกนี้ มีความจริงที่น่าตกใจซ่อนอยู่ นั่นคืออากาศที่เรากำลังหายใจอยู่นั้น แท้จริงแล้วมีมลพิษสูงกว่าภายนอกรถถึง 15 เท่า!

นั่นก็เพราะในขณะที่เราขับรถผ่านพื้นที่ต่างๆ นั้น ควันเสียจากยานพาหนะ ฝุ่นควันจากการทำถนนหรือการก่อสร้าง มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือโรงไฟฟ้า ได้เล็ดลอดเข้ามาภายในห้องโดยสารรถยนต์ผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่องว่างเล็กๆ ระหว่างประตูและหน้าต่างแม้เราจะเชื่อว่าปิดสนิทแล้วก็ตาม รวมทั้งช่อง

ระบายอากาศที่ดึงเอาอากาศจากข้างนอกมาหมุนเวียนภายในห้องโดยสารรถยนต์ก็เช่นกัน มลพิษเหล่านั้นจะหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่แคบๆ นี้ ยิ่งอยู่ในช่วงที่มีการจราจรติดขัด ก็ยิ่งรับมลพิษเข้ามามากขึ้น โดยที่เราไม่มีโอกาสหลีกหนีได้เลย และมลพิษเหล่านั้นก็จะสะสมในปริมาณที่มากขื้นเรื่อยๆ

ขณะเดียวกัน พฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคนที่นำอาหารขึ้นมารับประทานบนรถ หรือการวางของตกแต่งให้ดูเพลินตาเพลินใจอย่างตุ๊กตาต่างๆ หรือแม้กระทั่งหมอนเล็ก ผ้าพันคอ เสื้อผ้า รองเท้าที่สำรองไว้ในยามฉุกเฉินก็เป็นแหล่งสะสมชั้นดีของเชื้อโรค ไวรัส และแบคทีเรีย ยังไม่นับวัสดุตกแต่งภายในรถยนต์ที่เป็นอีกปัจจัยสำคัญเช่นกัน

นี่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยจำนวนมากต้องเผชิญกับโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ ที่คาดการณ์ว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 18 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ กว่า 10 ล้านคนเป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก ขณะที่ อีก 5 ล้านคนเป็นโรคหืด ยังไม่นับรวมถึงจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเผชิญกับโรคมะเร็งต่างๆ ที่มีสาเหตุจากมลพิษโดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กจิ๋วอย่าง PM2.5 ที่แม้กระทั่งระบบป้องกันธรรมชาติของร่างกายก็ยังไม่สามารถกรองไม่ให้เข้าสู่ร่างกายจนแพร่กระจายในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในปอดและรวมทั้งเส้นเลือดต่างๆ

ผลกระทบต่อสุขภาพจนก่อโรคร้าย

ผศ. ดร. นพ.อธิป นิลแก้ว แพทย์ด้านภูมิคุ้มกันวิทยา จากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่า "อนุภาคอย่างเช่น ละอองเกสรพืช สปอร์เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ไรฝุ่น รวมถึงสารจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงรถยนต์ ที่เข้าไปสัมผัสในร่างกายผ่านการหายใจนั้น อาการเบื้องต้นที่จะเกิดขึ้นคือ ไอ จาม หายใจลำบาก ระคายเคืองตาและจมูก จนไปถึงน้ำมูกน้ำตาไหล ง่วงซึม แน่นหน้าอก ระบบทางเดินหายใจผิดปกติ และเป็นภูมิแพ้ ซึ่งเป็นอาการแบบเดียวกับโรค Sick Car Syndrome ในปัจจุบันโรคภูมิแพ้พบได้ทั้งโรคหืด รวมถึงเยื่อบุจมูกอักเสบภูมิแพ้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โพรงอากาศข้างจมูก (ไซนัส) อักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ และริดสีดวงจมูกอีกด้วย"

"อาการป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประจำวันทั้งประสิทธิภาพการทำงานในยามตื่น และความสามารถในการหายใจยามหลับ ซึ่งในระยะยาวจะมีผลต่อสุขภาพที่รุนแรงมากขึ้น เช่น ลดความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ มะเร็งโพรงจมูก และมะเร็งปอด เป็นต้น"

ดูแลระบบหายใจให้ห่างไกลมลพิษ

นางรัตนา ชาญนรา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำนวัตกรรมเครื่องกรองอากาศระดับโลก กล่าวว่า "เริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยพฤติกรรมของตัวเราเอง การทำความสะอาดห้องโดยสารภายในรถยนต์อย่างสม่ำเสมอคือพื้นฐานข้อแรกที่ทุกคนต้องให้ความใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นการกำจัดกลิ่นอับและการหมั่นดูดฝุ่นเบาะ อีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญคือการติดตั้งเครื่องกรองอากาศในรถยนต์ที่สามารถดักจับไวรัส แบคทีเรีย รวมถึงมลพิษต่างๆ ทั้งที่สามารถมองเห็นและไม่เห็นด้วยตาเปล่าแต่สามารถลงลึกเข้าไปถึงข้างในปอดและกระแสเลือดอย่างเช่นฝุ่นละเอียด PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

"ล่าสุดแอมเวย์ได้เปิดตัว แอทโมสเฟียร์ ไดรฟ์ ซึ่งเป็นเครื่องกรองอากาศในรถยนต์รายแรก และรายเดียวในขณะนี้ที่ได้รับมาตรฐานรับรอง Allergy UK Seal of Approval[1]" ด้วยประสิทธิภาพการกรองสิ่งปนเปื้อนขนาดเล็กถึง 0.015 ไมครอน[2] กรองฝุ่นละอองขนาด PM2.5 (ฝุ่นละเอียด) ได้สูงถึง 99%4 ตลอดจนกรองสิ่งปนเปื้อนในอากาศได้มากกว่า 300 ชนิด อาทิ ไวรัส แบคทีเรีย สปอร์เชื้อรา และละอองเกสร5 ด้วยแผ่นกรองที่รวม 3 ประสิทธิภาพในแผ่นเดียว (กรองหยาบ กรองฝุ่น และกรองกลิ่น) อีกทั้งเทคโนโลยีควบคุมและปกป้องคุณภาพอากาศด้วยระบบเซ็นเซอร์ฝุ่นละออง (Particle Sensor) ที่ปรับความแรงลมตามปริมาณ สิ่งปนเปื้อนในอากาศโดยอัตโนมัติ และเทคโนโลยีสมาร์ทชิพ (Smart Chip) บันทึกเวลาใช้งานได้อย่างแม่นยำเพื่อเตือนให้เปลี่ยนแผ่นกรองใหม่ ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแผ่นกรองได้ง่ายด้วยตัวเอง"

รู้อย่างนี้แล้ว อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาที่ต้องใช้ชีวิตบนรถต้องกลายเป็นชั่วโมงอันตรายจากมลพิษต่างๆ ต่อตัวเอง สุขภาพดีหาซื้อไม่ได้ แต่สร้างขึ้นมาได้ เพื่อป้องกันโรคและมีอายุยืนแบบแข็งแรง โดยเริ่มต้นง่ายๆ จากการดูแลเรื่องที่ใกล้ตัวมากนั่นคือ "อากาศ" เพียงแค่ติดตั้งเครื่องกรองอากาศในรถยนต์ เพื่อความไร้กังวลจากสิ่งปนเปื้อนในอากาศ และสามารถเดินทางได้อย่างอุ่นใจและปลอดภัยจากฝุ่นละอองตลอดเส้นทาง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4