สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯ ย้ำชัด!ไทยยังมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาขาดแคลนวัคซีนแนะต้องเร่งขับเคลื่อนการยกระดับบริหารจัดการวัคซีนช่วยแก้ปัญหา

จันทร์ ๐๙ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๖:๐๒
"การยกระดับการบริหารจัดการวัคซีน" ตามมติที่ประชุม คกก.วัคซีนแห่งชาติช่วยได้ ทั้งเปลี่ยนการบริหารจัดการวัคซีนแบบแยกส่วนเป็นแบบบูรณาการโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปลี่ยนวิธีจัดซื้อวัคซีนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง พร้อมเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมผลักดันการยกระดับการบริหารจัดการวัคซีนให้บรรลุผลสำเร็จ เพื่อประชาชนเข้าถึงและได้ใช้วัคซีนที่จำเป็นครบทุกช่วงวัย รวดเร็ว ไม่ล่าช้า ไร้ปัญหาขาดแคลนวัคซีน

ดร.นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เปิดเผยว่าประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อปัญหาขาดแคลนวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็นอยู่หลายชนิด อย่างเช่นวัคซีนมะเร็งปากมดลูก(วัคซีนHPV)ที่เตรียมให้บริการฟรีแก่เด็กหญิงชั้น ป.5 ที่มีกระแสข่าวว่าวัคซีนขาดสต๊อก เนื่องจากอาจมีตลาดอื่นหรือประเทศอื่น

ตัดหน้าสั่งซื้อวัคซีนในปริมาณที่มากกว่าด้วยราคาที่สูงกว่า "การยกระดับการบริหารจัดการวัคซีน" ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติครั้งที่ 1/2561 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ โดยการประชุมครั้งนี้สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ได้มีการนำเสนอให้เห็นถึงปัญหาและผลกระทบของการบริหารจัดการวัคซีนในปัจจุบัน เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาด้านราคา อำนาจการต่อรองกับผู้ผลิต ระบบการจัดหาและการกระจายวัคซีนในกลุ่มต่างด้าว ระบบการจัดซื้อและสำรองคลังวัคซีนที่ยังไม่เหมาะสม ฯลฯ พร้อมทั้งได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดหาวัคซีนให้มีความสมดุลระหว่างวัคซีนที่ผลิตได้ภายในประเทศและที่นำเข้า รวมถึงจัดทำระบบและวิธีการจัดซื้อจัดหาที่มีความจำเพาะเจาะจงสำหรับวัคซีนโดยเฉพาะและพัฒนาระบบการสำรองวัคซีนอย่างชาญฉลาด เนื่องจากวิธีการจัดซื้อวัคซีนที่เหมาะสมนอกจากจะช่วยให้วัคซีนไม่ขาดสต็อกแล้ว ยังเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคา เพราะเป็นการซื้อจำนวนมากต่อเนื่องกันหลายปี สร้างความมั่นใจในเรื่องความต้องการให้กับผู้ผลิต รวมทั้งการสำรองวัคซีนในคลังผู้ผลิตร่วมกับการสำรองในคลังกายภาพสามารถช่วยลดการสูญเสียวัคซีนในภาพรวมได้

ทั้งนี้ที่ประชุมดังกล่าวได้มีมติเห็นชอบการยกระดับการบริหารจัดการวัคซีนใน 2 แนวทางคือ

1) เปลี่ยนการบริหารจัดการวัคซีนแบบแยกส่วนเป็นการบริหารจัดการวัคซีนแบบบูรณาการโดยหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ และกรมควบคุมโรค ทั้งในส่วนการจัดซื้อ สำรอง และการกระจายวัคซีน เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า

การแยกส่วนกันซื้อ หรือมีผู้จัดซื้อหลายหน่วยงาน ทำให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการขาดความคล่องตัวขาดประสิทธิภาพ ต้องใช้ผู้ดูแลคลังในส่วนกลางหลายทีม ผู้ดูแลคลังและผู้ให้บริการ ในพื้นที่มีความยุ่งยาก สับสน ต้องแยกเก็บ แยกใช้ แยกรายงาน ตามข้อกำหนดของหน่วยงานเจ้าของวัคซีน ส่งผลต่อความเพียงพอและการสูญเสียวัคซีน ทำให้ขาดแคลนวัคซีนในส่วนกลาง (การจัดหา) ขาดแคลนวัคซีนในพื้นที่ (การจัดบริการ)เกิดการสูญเสียวัคซีนสูง และยังส่งผลกระทบต่อประชาชน ทำให้ขาดแคลนวัคซีนจำเป็น ทั้งภาวะปกติ และภาวะระบาด กลุ่มต่างด้าวได้รับวัคซีนไม่ครอบคลุมและอาจส่งผลให้เกิดการระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

2) ปรับวิธีการจัดซื้อและการสำรองแบบใหม่ ให้เหมาะสมตามชนิดของวัคซีนโดยวิธีต่างๆได้แก่การจัดซื้อวัคซีนแบบหลายปี (Multi-year tender), การจัดซื้อวัคซีนจากผู้ผลิต/ผู้นำเข้ามากกว่า 1 ราย(Multi-supplier) และการจัดซื้อแบบสำรองไว้ในคลังผู้ผลิต/ผู้นำเข้า (Virtual or Manufacturer's stockpile) ซึ่งเรื่องนี้พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติได้มอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯ จัดทำรายละเอียดของการศึกษานำร่อง (Pilot Study) เรื่องวิธีการจัดซื้อและวิธีการสำรองวัคซีนที่เหมาะสมกับวัคซีนแต่ละชนิดที่มีความเป็นไปได้และมีประโยชน์ในทางปฏิบัติจริง เพื่อให้หน่วยงานราชการที่จัดซื้อวัคซีนนำไปดำเนินการจัดซื้อวัคซีนต่อไป

"การยกระดับการบริหารจัดการวัคซีน" ถือเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการพัฒนางานด้านวัคซีนของประเทศที่ต้องเร่งดำเนินการ สถาบันวัคซีนแห่งชาติฯ ในฐานะฝ่ายเลขานุการและหน่วยงานกลางแห่งชาติด้านวัคซีน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านวัคซีนของประเทศ พร้อมสนับสนุนมติ

ที่ประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ โดยจะเร่งประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ให้เกิดการบูรณาการงานด้านวัคซีนร่วมกัน เพื่อผลักดันภารกิจการยกระดับการบริหารจัดการวัคซีนให้บรรลุผลสำเร็จ เพราะการบริหารจัดการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะทำให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศ ส่งผลให้ประเทศมีวัคซีนเพียงพอไว้ใช้เพื่อรองรับการระบาดและการกำจัดกวาดล้างโรคได้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันและในยามฉุกเฉิน ไร้ปัญหาการขาดแคลนวัคซีนแล้ว ยังช่วยให้มีระบบการสำรองและกระจายวัคซีนที่ทันสมัย ประชาชนเข้าถึงและได้ใช้วัคซีนที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้า สามารถให้บริการวัคซีนได้ครบทุกช่วงวัย ช่วยลดการสูญเสียวัคซีน ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของประเทศ "ดร.นพ.จรุงกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ