เมอร์ค ได้รับสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยี CRISPR ในประเทศจีน

อังคาร ๒๔ เมษายน ๒๐๑๘ ๐๘:๔๖
- สิทธิบัตรในประเทศจีนครอบคลุมการแทรกลำดับดีเอ็นเอภายนอกเข้าสู่โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต

- บริษัทเตรียมออกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี CRISPR แก่ผู้ที่สนใจ พร้อมสนับสนุนการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมภายใต้มาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมาย

- ขณะนี้ เทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์คได้รับสิทธิบัตรแล้วใน 7 ตลาด ซึ่งรวมถึงแคนาดา และยุโรป

เมอร์ค ( Merck ) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นแนวหน้า และผู้นำด้านการปรับแต่งจีโนม ประกาศว่า สำนักงานสิทธิบัตรจีนได้ออกหนังสือแจ้งการรับจดทะเบียนให้กับคำขอรับสิทธิบัตรของเมอร์ค สำหรับ เทคโนโลยี CRISPR ของบริษัท ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการแทรกจีโนมเข้าในเซลล์ยูคาริโอต

"การได้รับสิทธิบัตรจากจีนทำให้ขณะนี้เรามีสิทธิบัตรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเทคโนโลยี CRISPR รวมแล้ว 7 ฉบับ โดยเทคโนโลยีซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของเรานี้ จะเข้ามากำหนดแนวทางใหม่อันน่าตื่นเต้นสำหรับการวิจัยทางการแพทย์ และการรักษาภาวะอาการของโรคที่รักษาได้ยากที่สุด อย่างเช่น โรคมะเร็ง โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม และโรคหายาก เป็นต้น" อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว "ในฐานะที่เป็นผู้นำด้านการปรับแต่งจีโนม เราจึงมีบทบาทเชิงรุกในการออกใบอนุญาตเพื่อให้นำสิทธิบัตรของเราไปใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค การวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร"

เมอร์ค ซึ่งมีประวัติการดำเนินงานในแวดวงการปรับแต่งจีโนมมาเป็นระยะเวลา 13 ปี ได้ยื่นขอสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องสำหรับเทคนิค CRISPR ในสหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย และญี่ปุ่น ด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบัน บริษัทได้รับสิทธิบัตรสำหรับเทคโนโลยีเดียวกันนี้แล้วในออสเตรเลีย แคนาดา ยุโรป อิสราเอล สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

สิทธิบัตรที่ได้รับการอนุมัติในประเทศจีน ครอบคลุมการแทรกโครโมโซม หรือการตัดลำดับโครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต (เช่น เซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเซลล์พืช) รวมถึงการแทรกลำดับดีเอ็นเอภายนอกหรือดีเอ็นเอผู้ให้ เข้าสู่เซลล์เหล่านี้ด้วยเทคนิค CRISPR เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแทนที่การกลายพันธุ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรค ด้วยลำดับที่เป็นประโยชน์หรือพร้อมทำหน้าที่ ซึ่งเป็นกลวิธีสำคัญในการสร้างโมเดลของโรคและการทำยีนบำบัด นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถใช้กลวิธีดังกล่าวในการแทรกทรานส์ยีนที่คอยติดฉลากโปรตีนภายในเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบภายในเซลล์ด้วยสายตา

เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม CRISPR ซึ่งช่วยให้ตัดต่อโครโมโซมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้อย่างแม่นยำนั้น กำลังเข้ามาช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษาภาวะอาการของโรคต่าง ๆ เทคนิค CRISPR สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่การระบุยีนที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งและโรคหายาก ไปจนถึงการคืนสภาพการกลายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุทำให้ตาบอด

ในฐานะบริษัทที่มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนานวัตกรรมการปรับแต่งจีโนม เมอร์คตระหนักดีว่า การปรับแต่งจีโนมได้ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าที่สำคัญในด้านการวิจัยทางชีวภาพและยารักษาโรค อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน ศักยภาพที่เพิ่มสูงขึ้นของเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมก็ได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลทั้งในวงการวิทยาศาสตร์ กฎหมาย และสังคม ดังนั้น ในฐานะที่เป็นทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนาเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม เมอร์คจึงสนับสนุนการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมภายใต้การพิจารณาอย่างรอบคอบตามมาตรฐานทางจริยธรรมและกฎหมาย โดยเมอร์คได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรม ( Bioethics Advisory Panel ) ขึ้น เพื่อให้คำแนะนำแก่โครงการวิจัยที่ธุรกิจของเมอร์คได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการวิจัยเรื่องการปรับแต่งจีโนม หรือที่ใช้เทคนิคการปรับแต่งจีโนม ตลอดจนกำหนด จุดยืน การดำเนินงานที่ชัดเจน โดยพิจารณาถึงประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคม ขณะที่ไม่ปิดกั้นแนวทางการรักษาโรคที่มีความหวังว่าจะสามารถนำไปใช้ในการวิจัยและการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ

เมอร์คได้สร้างผลงานที่มีความสำคัญต่อแวดวงการปรับแต่งจีโนม โดยเมอร์คเป็นบริษัทแรกที่นำเสนอบริการชีวโมเลกุลตามสั่งสำหรับการปรับแต่งจีโนม (TargeTron(TM) RNA-guided group II introns และ CompoZr(TM) zinc finger nucleases) ซึ่งขับเคลื่อนการใช้เทคนิคเหล่านี้ในแวดวงการวิจัยทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นบริษัทแรกที่สร้างไลบรารี CRISPR ครอบคลุมจีโนมมนุษย์ทั้งหมด ทำให้นักวิจัยสามารถสำรวจต้นตอของปัญหาได้มากขึ้นและพัฒนาวิธีการรักษาได้เร็วขึ้น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานของเมอร์คในด้านการปรับแต่งจีโนม สามารถดูได้ที่ https://www.merckgroup.com/en/stories/350-anniversary-its-all-in-the-genes.html และ http://ar.merckgroup.com/2017/magazine/new-ways-of-identifying-disease

ข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งหมดของเมอร์คได้รับการเผยแพร่ผ่านทางอีเมลในเวลาเดียวกับที่มีการเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของเมอร์ค กรุณาเข้าไปที่ www.merckgroup.com/subscribe เพื่อลงทะเบียนออนไลน์ เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกบริการนี้

เกี่ยวกับ เมอร์ค

เมอร์ค คือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำในด้านการดูแลสุขภาพ ชีววิทยาศาสตร์ และเพอร์ฟอร์แม้นซ์ แมททิเรียล พนักงานเกือบ 53,000 คนของบริษัทได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยปรับปรุงและยกระดับคุณภาพชีวิต ตั้งแต่ยาชีวภาพเพื่อรักษาโรคมะเร็งหรือโรคปลอกประสาทอักเสบ ระบบที่ทันสมัยสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการผลิต ไปจนถึงผลึกเหลวที่ใช้กับจอแสดงผลสมาร์ทโฟนและโทรทัศน์ LCD ทั้งนี้ ในปี 2560 เมอร์คทำยอดขายได้ 1.53 หมื่นล้านยูโร ใน 66 ประเทศ

เมอร์ค เป็นบริษัทเภสัชภัณฑ์และเคมีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2211 และปัจจุบันครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมอร์คครอบครองสิทธิ์ในชื่อและแบรนด์ "เมอร์ค" ทั่วโลก ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจในชื่อ อีเอ็มดี โซโรโน่, มิลลิพอร์ซิกม่า และอีเอ็มดี เพอร์ฟอร์แม้นซ์ แมททิเรียล

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/678564/Merck_CRISPR_China.jpg

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital