Getinge เผยผลการศึกษานำร่องว่าด้วยการใช้เครื่องช่วยทำงานของหัวใจชนิดใช้บอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า พบแนวโน้มการเสียชีวิตลดลงในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบลุกลามที่มีภาวะขาดเลือดเรื้อรัง

จันทร์ ๒๘ พฤษภาคม ๒๐๑๘ ๑๒:๒๙
ผลการศึกษาได้รับการนำเสนอในการประชุม EuroPCR 2018

Getinge ผู้ให้บริการเทคโนโลยีทางการแพทย์อันทันสมัยรายใหญ่ของโลก ประกาศผลการศึกษานำร่องว่าด้วยการรอดชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบลุกลามที่มีภาวะขาดเลือดเรื้อรัง หลังใช้เครื่องช่วยทำงานของหัวใจชนิดใช้บอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า (Survival Improvement in Extensive Myocardial Infarction with PERsistent Ischemia Following IABP Implantation หรือ SEMPER FI) โดยการศึกษานี้ได้ประเมินการใช้เครื่องช่วยทำงานของหัวใจชนิดใช้บอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า (IABP) ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบลุกลาม (MI หรือหัวใจวาย) ที่มีภาวะแทรกซ้อนของการขาดเลือดเรื้อรัง (การไหลเวียนของเลือดไม่เพียงพอ) หลังจากที่ได้รับการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (PCI) เบื้องต้น หรือภาวะที่เรียกว่าเส้นเลือดขยายตัวไม่ได้ การศึกษานำร่องครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีของการใช้เครื่อง IABP ที่ช่วยลดผลลัพธ์หลัก (การเสียชีวิต ความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องมืออันเนื่องมาจากความเสื่อมของระบบไหลเวียนเลือด เช่น เครื่องมือช่วยพยุงการทำงานของหัวใจ [LVAD] และการกลับเข้ารักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวภายในเวลา 6 เดือน) ทั้งนี้ ผลลัพธ์ดังกล่าวได้รับการนำเสนอในเซสชันการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจในระหว่างการประชุม EuroPCR 2018 ที่ปารีส โดยนายแพทย์โลเคียน เอ็กซ์ ฟาน นูเนน จากโรงพยาบาลแคธารินาในเมืองไอนด์โฮเวน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นหัวหน้าร่วมของการวิจัย SEMPER FI

ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและมีสัญญาณของภาวะขาดเลือดเรื้อรังหลังจากทำการใส่ขดลวดแล้ว มักมีการทำนายอาการของโรคที่ไม่สู้ดีนักและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวในอนาคต ประมาณ 30% ของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด STEMI ยังคงมีภาวะขาดเลือดเรื้อรังแม้จะมีการเปิดหลอดเลือดหลักที่เป็นสาเหตุของปัญหาแล้วก็ตาม [i] [ii]

ดร.ฟาน นูเนน กล่าวว่า "การระบุว่าผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด STEMI รายใดจะได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่อง IABP นั้นเป็นเรื่องยาก เพราะการศึกษาแบบย้อนหลังและไปข้างหน้าต่างแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ผลการศึกษานำร่อง SEMPER FI แสดงถึงสัญญาณที่ชัดเจนว่า การใช้เครื่อง IABP อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแบบลุกลาม ซึ่งยังต้องเผชิญกับภาวะขาดเลือดแม้ว่าจะใส่ขดลวดแล้วก็ตาม เราคาดว่าผลการศึกษาเหล่านี้จะเป็นข้อมูลยืนยันที่มีพลังมากพอในการแสดงให้เห็นถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของผลลัพธ์โดยรวมหากแนวโน้มเช่นนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง"

การจัดทำและผลการศึกษา SEMPER FI

SEMPER FI คือการศึกษานำร่องแบบไปข้างหน้าในศูนย์แห่งเดียว โดยมีการสุ่มและการเปรียบเทียบเพื่อประเมินการใช้เครื่อง IABP ในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายแบบลุกลามที่มีภาวะขาดเลือดเรื้อรังหลังจากได้รับการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ โดยทำการศึกษาในผู้ป่วย 100 คน อายุ 18-75 ปี ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิด STEMI (ค่าเบี่ยงเบน ST-segment มากกว่าหรือเท่ากับ 15 mmHg) และพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจลักษณะ ST-segment เป็นเวลา 10-30 นาที หลังจากที่ได้รับการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (การใส่ขดลวด) ในห้องปฏิบัติการด้านหัวใจและหลอดเลือด โดยมีการแบ่งผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่มด้วยวิธีการสุ่ม กลุ่มหนึ่งให้ใส่เครื่อง IABP เป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ใส่ และมีการติดตามผลเป็นเวลา 6 เดือน

ผลการศึกษานำร่องในผู้ป่วยจำนวน 100 คนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน แสดงให้เห็นแนวโน้มที่ลดลงของการเสียชีวิต การใช้เครื่องมือช่วยพยุงการทำงานของหัวใจ และการกลับเข้ารักษาตัวซ้ำในโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวภายในเวลา 6 เดือน เมื่อใช้เครื่อง IABP โดยในกลุ่มที่ใช้เครื่อง IABP นั้น มี 2% (ผู้ป่วย 1 ราย) ที่เผชิญกับผลลัพธ์หลัก เทียบกับ 8% (ผู้ป่วย 4 ราย) ในกลุ่มที่ไม่ใช้เครื่อง IABP (p=0.16)

ดร.คลอดิอุส ดิเอซ ประธานเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ฝ่าย Acute Care Therapies ของ Getinge กล่าวว่า "แนวโน้มที่ดีขึ้นในส่วนของการเสียชีวิตในการศึกษานำร่อง SEMPER FI เป็นข้อมูลสนับสนุนที่ดี เพราะการศึกษานี้มีการควบคุมอย่างเข้มงวดและไม่มีการโยกย้ายผู้ป่วยจากกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามแบบแผนไปสู่กลุ่มที่ใช้เครื่อง IABP ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับผลการศึกษา การศึกษานำร่องนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของ Getinge ในการสนับสนุนการวิจัยทางคลินิก เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ในการรักษาที่จะช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมาก"

เกี่ยวกับการรักษาโดยใช้เครื่องช่วยทำงานของหัวใจชนิดใช้บอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุญาตให้ใช้เครื่องช่วยทำงานของหัวใจชนิดใช้บอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า (IABP) ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดหัวใจและไม่ได้ผ่าตัดหัวใจ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวทั้งที่มีสาเหตุมาจากภาวะขาดเลือดและไม่มีภาวะขาดเลือด [iii] โดยพิจารณาจากงานวิจัยที่ให้ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้เครื่อง IABP ที่แสดงให้เห็นถึงอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยรวมที่อยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าผู้ป่วยที่ใช้เครื่อง IABP จะมีโรคที่เกิดขึ้นร่วมกันรุนแรงกว่าและมีความเจ็บป่วยที่ซ่อนอยู่มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้เครื่อง IABP ก็ตาม นอกจากนี้ งานวิจัยยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเครื่องที่น้อยกว่าเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากสายสวนชนิดมีบอลลูนติดอยู่นั้นมีขนาดเล็กลง ขณะที่เทคนิคการใส่สายสวนก็ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นในช่วงไม่กี่ปีมานี้

เกี่ยวกับ Getinge

Getinge เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นที่ล้ำสมัยสำหรับห้องผ่าตัด หน่วยอภิบาลผู้ป่วยวิกฤต แผนกฆ่าเชื้อ รวมถึงบริษัทและสถาบันด้านชีววิทยาศาสตร์ ด้วยประสบการณ์ตรงและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญทางคลินิก บุคลากรด้านบริการสุขภาพ และผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยีการแพทย์ เราจึงสามารถยกระดับชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า

อ้างอิง

[i] Rezkalla SH, Dharmashankar KC, Abdalrahman IB, Kloner RA. No-reflow phenomenon following percutaneous coronary intervention for acute myocardial infarction: incidence, outcome, and effect of pharmacologic therapy. J Interven Cardiol. 2010;23:429-436.

[ii] van Nunen LX, van't Veer M, Schampaert S, et al. Intra-aortic balloon counterpulsation in acute myocardial infarction: old and emerging indications. Neth Heart J. 2013;21:554-560.

[iii] FDA Executive Summary https://www.federalregister.gov/documents/2013/12/30/2013-31218/cardiovascular-devices-reclassification-of-intra-aortic-balloon-and-control-systems-for-acute .

โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/322743/Getinge___Logo.jpg

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4