สารพันปัญหาเรื่องของฝ้าสำหรับผู้หญิง

อังคาร ๑๕ มกราคม ๒๐๑๙ ๑๕:๔๒

ประชาสัมพันธ์สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเดินทางมารักษาฝ้า (Melasma)กับหมอผิวหนังเป็นจำนวนมาก ฝ้ามักพบในคนที่อยู่ในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย พม่า ลาวและกัมพูชา เนื่องจากได้รับแสงแดดมากกว่า ทำให้อุบัติการณ์ของการเกิดฝ้าในประเทศไทยพบได้ประมาณ 0.25-0.33% และอัตราส่วนของผู้หญิงต่อผู้ชายคือ 2-24 ต่อ 1 โดยข้อมูลสถิติโรคผิวหนังของภาควิชาตจวิทยา โรงพยาบาลศิริราชในปี พ.ศ. 2545 พบว่าผู้ป่วยที่มารับการรักษาฝ้าถึง 2.3% ของผู้ป่วยทั้งหมด สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย จึงอยากจะให้คำแนะนำเพื่อเป็นความรู้สู่ประชาชนในเรื่องการดูแลรักษาฝ้าให้กับสาว ๆ ทุกคนที่รักความสวยความงามเฝ้าระวังไม่ให้เป็นฝ้าอย่างถูกวิธี

เรื่องของฝ้าเป็นปัญหาในเรื่องของความสวยงาม ไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อสุขภาพ ดังนั้นอาจไม่จำเป็นต้องรักษาก็ได้ แต่ถ้าผู้ป่วยมีความกังวลเรื่องความสวยงาม อาจต้องทำความเข้าใจว่าการรักษาฝ้านั้นค่อนข้างยาก ใช้เวลาในการรักษานานและอาจหายไม่หมดหรือหายแล้วก็อาจกลับเป็นใหม่ได้ง่าย ฝ้า จะมีลักษณะเป็นผื่นที่มีลักษณะเป็นปื้นสีคล้ำที่อยู่บนใบหน้า และมักเป็นเท่ากันทั้งสองข้าง (symmetry) โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าผาก โหนกแก้ม ดั้งจมูก เหนือริมฝีปาก และคาง เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเม็ดสี (melanin pigments) ที่บริเวณผิวหนัง ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด ดังนั้นผื่นจึงมีสีคล้ำขึ้นเมื่อถูกแสงแดด ภาวะนี้มักเกิดในผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ ในผู้ชายก็พบได้ และพบในผู้ที่อยู่ในวัยกลางคน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดฝ้า ประกอบด้วย 1.การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตทั้ง A (UVA) และ B (UVB) ที่มีอยู่ในแสงแดด เป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นให้เกิดฝ้า 2.ฮอร์โมนเพศหญิง โดยเฉพาะ estrogen เนื่องจากผู้หญิงเป็นฝ้ามากกว่าผู้ชาย โดยมักพบในช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิดและช่วงตั้งครรภ์ และ 3.พันธุกรรมและเชื้อชาติ โดยพบว่าคนเอเชียเป็นฝ้าได้ง่ายกว่าคนผิวขาวและสามารถพบในครอบครัวเดียวกันได้บ่อยด้วย

สำหรับในเรื่องของการรักษาฝ้านั้น มักใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกัน คือ 1.การรักษาตามสาเหตุและแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงจากสาเหตุนั้น เช่น พยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด หรือใช้ครีมกันแดด 2.การทำให้ฝ้าจางลงโดยการใช้สารที่ทำให้ผิวขาว โดยทั่วไปมักใช้ยาทาผสมกันหลายตัว และต้องดูผลการรักษาบ่อย ๆ ทุก 1-2 สัปดาห์ เพื่อสังเกตผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ผิวตรงที่ทายามีอาการแดง หรือบางลงกว่าปกติ ถ้ามีผลข้างเคียงอาจต้องปรับยา และ 3.การลอกฝ้าด้วยสารเคมี ซึ่งเป็นวิธีการเสริม เพื่อทำให้ฝ้าจางเร็วขึ้น โดยทั่วไปจะใช้กรดอ่อน ๆ เช่น alpha hydroxyl acids (AHAs) หรือ trichloracetic acid 30-50% เพื่อทำให้เซลล์ผิวหนังในชั้นบน ๆ หลุดลอกออก และทำให้เม็ดสีที่อยู่ด้านบนหลุดออกไป การลอกฝ้านั้นจะต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3-4 ครั้ง ทุก 2-4 สัปดาห์ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น แต่หากทำเองหรือไม่ใช่แพทย์ผู้ไม่ชำนาญมีโอกาสเสี่ยงซึ่งผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง เช่น หน้าลอกหรือไหม้ได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest