จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น พบว่า คนไทย 8 ใน 10 คน มีอาการของโรคMGD ทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อคุณภาพการมองเห็น

ศุกร์ ๐๘ มีนาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๕๐
การสำรวจครั้งใหม่โดยบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น พบว่า คนไทย 8 ใน 10 คน มีอาการของโรคต่อมไมโบเมียนทำงานผิดปกติ (โรคเอ็มจีดี) อยู่เป็นประจำ* ซึ่งโรคนี้เป็นสาเหตุหลักของโรคตาแห้ง (Dry Eye Disease)** ทั้งนี้คนไทย 79% ไม่รู้จักโรคเอ็มจีดี และคนไทยส่วนใหญ่ (69%) ยังไม่ได้พบแพทย์ ซึ่งเป็นการสร้างความเสี่ยงต่อการมองเห็น

ผลการสำรวจออนไลน์ในครั้งนี้***ซึ่งสำรวจคนไทยกว่า 1,000 คน ถูกเผยแพร่ในการประชุมวิชาการนานาชาติ APAO 2019 ครั้งที่ 34 (The 34th Congress of Asia -Pacific Academy of Ophthamology-APAO) ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทยระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม 2562 โดยทีมงานจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น เข้าร่วมงานเพื่อจัดแสดงเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดพร้อมทั้งร่วมในการบรรยายด้านจักษุวิทยาระดับโลกคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคเอ็มจีดี

โรคเอ็มจีดี เป็นสาเหตุหลักของโรคตาแห้ง (Dry Eye Disease) ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกกว่า 340 ล้านคน1 แต่คนจำนวนมากไม่รู้จักโรคเอ็มจีดีและอาการของโรค จึงไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ โรคเอ็มจีดีเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน โรคนี้ส่งผลกระทบต่อทั้งโครงสร้างและการทำงานของต่อมไขมันที่เปลือกตา โดยต่อมไขมันเหล่านี้มีหน้าที่สร้างน้ำตาชั้นผิวนอกสุดหรือชั้นไขมันเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำตาและปกป้องดวงตาจากเชื้อโรคและสารก่อภูมิแพ้ หากต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติคุณจะรู้สึกไม่สบายตา มีอาการตาอักเสบ ตาพร่ามัวบางขณะ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดตาแห้ง

อาการของโรคที่พบบ่อยที่สุดในคนไทย ได้แก่ แสบตา (48%) และเจ็บตา (48%) ผู้ตอบแบบสอบถามยังระบุว่ารู้สึกเหมือนมีฝุ่นผงในตา (34%) และอาการเหล่านี้จะเกิดร่วมกับอาการตาแห้งและน้ำตาไหลตลอดเวลา ล้วนเป็นอาการของโรคเอ็มจีดี ผู้ที่มีอาการของโรคเอ็มจีดีเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ระบุว่าเริ่มมีอาการหลังใช้เวลาอยู่กับหน้าจอโทรศัพท์หรือจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าการใช้เวลาอยู่ในสถานที่ที่เปิดเครื่องปรับอากาศเป็นเวลานานยังเป็นปัจจัยส่งผลให้เกิดอาการของโรคเอ็มจีดีอีกด้วย

อย่างไรก็ดี การที่คนไทยไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอ็มจีดี ทำให้พวกเขาไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงของโรคนี้

นายแพทย์ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง ผู้อำนวยการคลินิก At Eye และจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมจักษุตกแต่งและเสริมสร้างระบบท่อน้ำตา (Oculoplastic) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล2 กล่าวว่า "อาการเริ่มแรกอาจจะรู้สึกแค่ระคายเคืองตา แต่เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักโรคเอ็มจีดีจึงไม่ได้ไปตรวจหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาการอาจจะหนักขึ้นทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตและอาจส่งผลกับคุณภาพการมองเห็น"

การรักษาอาการของโรคเอ็มจีดี

ในแบบสำรวจเกี่ยวกับการรักษาอาการของโรคเอ็มจีดีพบว่า วิธีการรักษาด้วยตนเองที่คนไทยนิยมทำมากที่สุดคือการลดเวลามองจอประเภทต่างๆ (42%) และใช้ยาหยอดตาที่ซื้อเองตามร้าน (33%) ซึ่งการรักษารูปแบบนี้เป็นเพียงการบรรเทาอาการแต่ไม่ได้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุของโรคเอ็มจีดีซึ่งคือการอุดตันของต่อมไมโบเมียน โดยมีเพียง 27% ของคนที่มีอาการเท่านั้นที่ไปพบแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกร

ในจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดที่ระบุว่าใช้วิธีการรักษาด้วยตนเองเพื่อบรรเทาอาการที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคเอ็มจีดี มีเพียง 17% เท่านั้นที่ระบุว่าการรักษาได้ผลมาก ในขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ไปพบแพทย์หรือปรึกษาเภสัชกรระบุว่าการรักษาได้ผลมาก

มร.คริสตอฟ วอนวิลเลอร์ รองประธานหน่วยงาน Surgical Vision ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น กล่าวว่า "การมองเห็นเป็นประสาทสัมผัสที่มีค่ามากที่สุด แต่ก็มีภาวะและโรคต่างๆ อย่างเอ็มจีดีซึ่งเป็นสาเหตุของโรคตาแห้งที่คุกคามสายตา โรคเอ็มจีดีเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในคนเอเชียและโรคนี้เป็นภัยที่ร้ายแรงต่อดวงตาของเรา"

"จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน วิชั่น มีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงการดูแลสุขภาพตาทั่วโลก และเราหวังว่าการแบ่งปันผลการสำรวจของเราที่งาน APAO จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอ็มจีดีให้กับคนทั่วไป และทำให้คนไทยมีความรู้ในการปกป้องสายตา" มร.วอนวิลเลอร์ กล่าวเสริม

คนไข้ที่รักษากับจักษุแพทย์จะได้รับการวินิจฉัยเพื่อประเมินความถี่และความรุนแรงของอาการ พร้อมทั้งติดตามพัฒนาการของโรค แพทย์จะแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้และโรคประจำตัวอื่นๆ การรักษาบางประเภทที่สามารถทำที่โรงพยาบาลหรือคลินิกได้ มีดังนี้

การนวดด้วยความร้อน: แพทย์จะใช้ความร้อนในการละลายและรีดสิ่งอุดตันออกจากต่อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมไมโบเมียน4

การขยายต่อมไมโบเมียน: แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษในการเจาะท่อหลักของต่อมไมโบเมียน5

แพทย์อาจแนะนำให้คนไข้ลองรักษาอาการด้วยตนเองที่บ้าน ก่อนรับการรักษาจากแพทย์หรือทำควบคู่กับการรักษาจากแพทย์ โดยวิธีการรักษามีดังนี้:

การประคบอุ่นวันละหนึ่งถึงสองครั้ง และ/หรือทำการฟอกเปลือกตา

การรับประทานอาหารเสริมประเภทโอเมก้า-36

การใช้ยาหยอดตาเพื่อรักษาอาการอักเสบ7

นายแพทย์ณัฐวุฒิกล่าว "เราแนะนำให้คนไข้ตรวจสุขภาพตาเวลาตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตา ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยขึ้นช่วยให้โรคเอ็มจีดีสามารถได้รับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคนไข้ได้รับคำแนะนำและการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาการไม่สบายตารวมถึงอาการตาแห้งจะทุเลาลงและคนไข้จะรู้สึกสบายตา"

โรคเอ็มจีดีพบได้บ่อยในเอเชีย

โรคเอ็มจีดีเกิดขึ้นบ่อยมากในกลุ่มประเทศเอเชีย โดยมีอัตราการเกิดโรคเอ็มจีดีระหว่าง 46%-70%8 ซึ่งน่าเป็นห่วงเนื่องจากโรคนี้เป็นสาเหตุหลักของโรคตาแห้ง

มาทำความรู้จักโรคเอ็มจีดีและทางเลือกในการรักษาโรค พร้อมตรวจว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคเอ็มจีดีหรือไม่ ได้ที่นี่ http://dryeyes.vision/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4