“นอนกัดฟัน” อันตราย...ที่ท่านอาจไม่รู้

ศุกร์ ๑๙ เมษายน ๒๐๑๙ ๑๔:๑๖
นอนกัดฟันเป็นความผิดปกติเกิดขึ้นขณะกำลังหลับ โดยมีลักษณะขบเน้นฟันแน่นๆ หรือฟันบนล่างบดถูไถ ซ้ำๆ กันในคืนหนึ่งๆ ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันอย่างรุนแรงอาจมีอาการดังกล่าวมากกว่า 80 ถึง 100 ครั้ง คนนอนกัดฟันมักไม่รู้ตัวเองคล้าย กับคนที่นอนกรนซึ่งก็มักไม่รู้ตัวเองเช่นกัน

การนอนกัดฟัน ที่มีลักษณะขบฟันแน่น ๆ มักไม่มีเสียงดังทำให้ไม่มีผู้ใดได้ยิน คนที่นอนกัดฟันแบบนี้จะมาไม่รู้ตัวเลยว่า เป็นคนนอนกัดฟัน ดังนั้นนอนกัดฟันตัวเองจึงจัดเป็นภัยเงียบที่ท่านอาจไม่รู้ตัวได้

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่านอนกัดฟัน

การนอนกัดฟัน วินิจฉัยยากเนื่องจากเกิดในช่วงสั้น ๆ อาจไม่มีเสียงดังและคนนอนหลับมักไม่รู้ตัว การวินิจฉัยที่ดีที่สุดคือ การตรวจการนอน (Sleep Test) ในโรงพยาบาลหรือที่บ้าน เพื่อวัดการทำงานของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวขณะนอนหลับ หรืออาจใส่แผ่นบรั๊กเชคเกอร์ขณะนอนหลับวิธีอื่นๆ คือ การสังเกตอาการที่เป็นผลของการนอนกัดฟัน เช่น หลังตื่นนอนมีอาการเมื่อยตึงที่ ขมับใบหน้าหรือต้นคอ หรือตึง ชา ที่ฟัน กัดฟันแล้วเจ็บหลายซี่ หรือเสียวฟันหลายซี่ หรือบางครั้งรู้สึกตัวเอง ตื่นสลึมสลือเหมือน กำลังกัดฟัน หรือสังเกตว่าฟันบิ่นแตก หรือแก้มกางออกใหญ่ขึ้น เพราะกล้ามเนื้อข้างแก้มขยายใหญ่ หรือมีปุ่มกระดูกในปากใหญ่ หรือทันตแพทย์ตรวจพบว่าท่านมีฟันสึกมากผิดปกติ อาการเหล่านี้บ่งบอกว่าท่านอาจนอนกัดฟัน

ผลเสียของการนอนกัดฟัน

- มีฟันสึก ทำให้ฟันสั้นลง ฟันบาง คอฟันสึกเป็นร่อง มีอาการเสียวฟัน เมื่อทิ้งไว้นาน ฟันยิ่งสึกมากจะมีปัญหาเรื่อง ความสวยงามตามมา ทำให้ใบหน้าสั้นลงเพราะฟันเป็นอวัยวะสำคัญช่วยรักษารูปหน้าด้วย

- ฟันบิ่น ฟันแตก ฟันร้าว สึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน ทำให้ปวดฟันเคี้ยวอาหารไม่ได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวน มากในการรักษาฟัน

- ปวดเมื่อยล้าบริเวณใบหน้าและข้อต่อขากรรไกร ทำให้อ้าปากไม่ขึ้น เคี้ยวอาหารไม่ได้ เพราะอาการปวดส่งผลกระทบ ต่อการบดเคี้ยวและอารมณ์จิตใจ

- ทำให้กระดูกกรามขยายใหญ่เป็นปุ่มกระดูกนูน บางคนกล้ามเนื้อบริเวณแก้มทั้งสองข้างขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ใบหน้า กางออกเป็นเหลี่ยม

- ทำให้ความสำคัญของคู่สามี-ภรรยาแย่ลง เนื่องจากเสียงดังที่เกิดจากการนอนกัดฟันจะรบกวนคนที่นอนด้วย

จะรักษาการนอนกัดฟันได้อย่างไร

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุของนอนกัดฟัน ดังนั้น การรักษาเพื่อหยุดการนอนกัดฟันยังไม่ได้ผลเต็มร้อย ควรควบคุมตัว กระตุ้นที่ทำให้นอนกัดฟัน เช่น ความเครียด เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ( ได้แก่ ชา กาแฟ และน้ำอัดลมบางชนิด ) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารเสพติด และยาที่ใช้รักษาโรคบางตัว เป็นต้น นอนกัดฟันที่เกิดร่วมกับนอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการ อุดกั้น ควรรักษาเรื่องนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วย เพราะจะทำให้อาการนอนกัดฟันดีขึ้น

การรักษาอาการนอนกัดฟัน มีดังนี้

- งดเครื่องดื่มคาเฟ่อีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ ก่อนนอนไม่ควรรับประทานมากเกินไป ห้องนอนควรเงียบสงบ สะอาดไม่ควร มีแสงสว่างมากเกินไป ไม่ควรทำกิจการที่ทำให้ตื่นเต้นก่อนเข้านอน

- ใส่เฝือกสบฟัน (occlusal splint) เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสึก

- ใส่ทันตอุปกรณ์ช่วยยื่นขากรรไกรล่าง (Mandibular Advancement Device) รักษาการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจ ขณะหลับ ร่วมกับนอนกัดฟัน

- การใช้ยาที่มีผลไปปรับการนอนเพื่อช่วยลดการนอนกัดฟัน

เมื่อสงสัยว่านอนกัดฟันควรไปพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาการนอนกัดฟันเสียแต่เนินๆ ก่อนที่อาการนอนกับฟัน จะไปทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อขากันไกล และทำให้ท่านต้องเสียค่ารักษาฟันอีกมากมาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๐ ก.แรงงาน เตือนประชาชนรอบโกดังกากของเสีย จ.ระยอง ปฏิบัติตามคำแนะนำ พร้อมกำชับดูแลความปลอดภัยของลูกจ้างแรงงาน
๐๙:๒๘ MSC ร่วมกับ AWS จัดงาน MSC x AWS ECO Connect
๐๙:๐๕ เอเอฟเอส ประเทศไทย ผนึกกำลังศิษย์เก่า แลกเปลี่ยนแนวคิดธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
๐๙:๐๐ Synology ช่วยให้องค์กรต่างๆ นำแผนการกู้คืนข้อมูลจากแรนซัมแวร์ไปปรับใช้ได้อย่างไร
๐๙:๓๗ ศูนย์ฯ สิริกิติ์ ชวนคนกรุงฯ ค้นหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กับกิจกรรม ธรรมะในสวน ห้วข้อ เข้าใจชีวิต พิชิตสุข ณ สวนเบญจกิติ 4 พฤษภาคม 2567
๐๙:๐๒ ฉางเจียงเปิดแฟชั่นโชว์ หลอมรวมวัฒนธรรมและงานศิลป์อวดสายตาชาวโลก
๐๙:๕๗ เจาะฟีเจอร์กล้อง 108MP ใน HUAWEI nova 12i สเปกเท่าเรือธงในงบต่ำหมื่น!
๐๘:๑๓ ม.หอการค้าไทย ลงนามความร่วมมือ กับ AIT
๐๘:๒๑ จับติ้วแบ่งสายสุดเดือด ศึกลูกหนังเยาวชน แอสเซทไวส์ สยามกีฬาคัพ 2024 เริ่มโม่แข้ง 23 เม.ย.นี้!!
๐๘:๔๐ The Winner of OpsSimCom 2024 by MIT Sloan is.THAMMASAT.!!