ศูนย์มะเร็ง APCC เมืองเจนไน บรรลุกระบวนการฉายรังสีที่ไขกระดูกเป็นครั้งแรกในอินเดีย

พฤหัส ๑๖ พฤษภาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๔๖
ศูนย์มะเร็ง Apollo Proton Cancer Center (APCC) ในเมืองเจนไน ประเทศอินเดีย ประสบความสำเร็จในการฉายรังสีที่ไขกระดูก (Total Marrow Irradiation หรือ TMI) ซึ่งเป็นขั้นตอนเตรียมการก่อนปลูกถ่ายไขกระดูก โดยความสำเร็จครั้งนี้นับเป็นความก้าวหน้าครั้งแรกของการรักษาโรคมะเร็งในอินเดีย

ดร. Preetha Reddy รองประธาน Apollo Hospitals Group กล่าวว่า "ศูนย์มะเร็ง Apollo Proton Cancer Centre ได้เปิดขอบข่ายใหม่ในการดูแลรักษามะเร็ง และนับเป็นช่วงเวลาที่ภาคภูมิใจที่ได้เห็น APCC บรรลุเป้าหมายสำคัญเป็นครั้งแรกในประเทศ หลังจากที่เปิดตัวเพียงไม่กี่เดือน ความสำเร็จนี้เป็นการพิสูจน์การลงทุนของเราใน APCC ในการนำเทคโนโลยีการแพทย์ที่ดีและทันสมัยที่สุดมาสู่อินเดีย เรามั่นใจว่า ในอนาคตจะได้เห็น APCC บรรลุเป้าหมายสำคัญอีกมากมาย และต่อสู้กับโรคมะเร็งไม่ใช่เพื่อผู้ป่วยในอินเดียเท่านั้น แต่ยังเพื่อผู้ป่วยที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย"

พยาบาลวัย 35 ปีจากประเทศโอมาน ได้เข้ารับการรักษาที่ศูนย์รักษาด้วยอนุภาคโปรตอนแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบไมอิรอยด์ (CML) และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันฟีโนไทป์ผสม โดยหลังจากการวินิจฉัย เธอถูกส่งตัวไปยัง Apollo Hospitals เพื่อปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งคณะแพทย์ที่ Apollo ได้ตัดสินใจเตรียมการก่อนปลูกถ่ายด้วยการฉายรังสีที่ไขกระดูก

ดร. Jose M Easow กล่าวว่า "ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในเดือนที่แล้ว และหลังจากการวินิจฉัยอย่างละเอียด เราได้ตัดสินใจที่จะดำเนินการรักษาต่อด้วยการฉายรังสีที่ไขกระดูก ตามด้วยการทำคีโมและปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากกระแสเลือด ซึ่งพี่ชายของผู้ป่วยเป็นผู้บริจาคที่มีคุณสมบัติตรงกันทั้งหมด โดยผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาเป็นอย่างดีและกำลังเตรียมพร้อมเพื่อออกจากโรงพยาบาล"

คุณ Fatima ผู้ป่วย กล่าวว่า "ฉันรู้สึกขอบคุณรัฐบาลโอมาน ประเทศโอมาน ที่เลือกและส่งฉันไปที่ Apollo Hospitals เมืองเจนไน ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งในอินเดีย ดิฉันได้รับการแนะนำให้ปลูกถ่ายไขกระดูก และพี่ชายของฉันได้รับเลือกเป็นผู้บริจาค ฉันเข้ารับการรักษาในวันที่ 5 เม.ย. และรู้สึกเหมือนอยู่บ้านนับตั้งแต่วันแรก ในฐานะพยาบาล ฉันรู้ว่าการรักษาด้วยการฉายรังสีมีผลข้างเคียงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยอย่างไร แต่กระบวนการฉายรังสีที่ไขกระดูกที่ฉันได้รับนั้นแตกต่างและช่วยชีวิตฉันไว้ โดยมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามาก การรักษานี้ทำให้ฉันมั่นใจและมองโลกในแง่ดีมากขึ้น"

ดร. Srinivas Chilukuri ที่ปรึกษาอาวุโสด้านรังสีมะเร็ง กล่าวว่า "ด้วยเทคโนโลยีการฉายรังสีที่ทันสมัยในปัจจุบัน จึงมีความเป็นไปได้ที่การฉายรังสีที่ไขกระดูกนั้น จะปกป้องอวัยวะปกติจากความเสียหายที่เกิดจากรังสีได้"

โลโก้: https://mma.prnewswire.com/media/887694/Apollo_Proton_Logo.jpg

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/887695/APCC_TMI.jpg

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest