กรม สบส.แจงนโยบายเมดิคัล ทัวรริสซึม มีผลดีต่อประเทศ พร้อมจัดทำมาตรการป้องกันการขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ

ศุกร์ ๑๒ กรกฎาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๓๓
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แจงนโยบายเมดิคัล ทัวรริสซึม ดึงนักท่องเที่ยวเข้าไทย โดยสอดคล้องกับนโยบายสำคัญช่วยผลักดันประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ พร้อมตั้งคณะทำงานร่วมศึกษาผลกระทบ และวางมาตรการรับมืออย่างใกล้ชิดต่อไป

จากกรณี ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนว่านโยบายเมดิคัล ทัวรริสซึม อาจจะส่งผลกระทบกับระบบบริการสุขภาพไทย ทำให้ค่ารักษาพยาบาลและยาของโรงพยาบาลเอกชนมีราคาแพงขึ้นต่อเนื่อง เพราะผู้ที่เข้ามารักษาตามแผนดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีกำลังซื้อสูง ส่งผลให้อัตราค่ารักษาพยาบาลและค่ายาในประเทศหรือที่รักษาคนไทยก็ปรับตัวแพงตามไปด้วย อีกทั้ง ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ เพราะโรงพยาบาลที่รักษาต่างชาติก็จะให้ค่าตอบแทนที่สูง นั้น

นายแพทย์ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับคุณภาพ มาตรฐานการรักษาพยาบาล และบริการทางการแพทย์ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานของสภาวิชาชีพ โดยมีการควบคุม กำกับ ตามกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ทั้งด้านสถานที่ บุคลากร ยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงความปลอดภัย กับผู้รับบริการทุกคนเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ ส่วนอัตราค่ารักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขได้นำข้อร้องเรียนจากประชาชนมาปรับรูปแบบการเรียกเก็บค่าบริการจากเดิมที่มีการแยกเก็บเป็นรายการให้เป็นไปในลักษณะการเหมาจ่าย โดยสถานพยาบาลต้องแจ้งอัตราค่าบริการให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจทุกครั้ง และต้องไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติมยกเว้นกรณีเกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งต้องแจ้งรายละเอียดให้ผู้รับบริการรับทราบก่อนทุกครั้ง ซึ่งสถานพยาบาลเอกชนก็ถือเป็นหนึ่งในสถานบริการสุขภาพที่ดูแลสุขภาพประชาชนคนไทยใน 3 กองทุนหลัก ทั้งกลุ่มข้าราชการไทยและครอบครัว จากกองทุน กรมบัญชีกลาง กลุ่มประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกลุ่มประชาชนที่มีสิทธิประกันสังคม จากกองทุนประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม รวมทั้ง นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP)

นายแพทย์ณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า การที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารับบริการรักษาพยาบาล หรือบริการ ทางการแพทย์ที่ประเทศไทยตามนโยบายเมดิคัล ทัวรริสซึม (Medical Tourism) นับเป็นสัญญาณที่ดีในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ซึ่งถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศโดยรัฐสามารถนำรายได้ดังกล่าวมาพัฒนาประเทศ อีกทั้ง เป็นการสร้างอาชีพ และกระจายรายได้สู่ประชาชน แต่ก็อาจจะมีผู้ที่เป็นกังวลว่าการที่ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารับบริการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลไทยอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อกลไกการตลาดทำให้อัตราค่ารักษาพยาบาลมีราคราสูงขึ้นนั้น ตนขอชี้แจงในประเด็นที่สังคมเกิดความกังวลทั้ง 2 ประเด็น ดังนี้ 1.ตนขอชี้แจงว่า นโยบายเมดิคัล ทัวรริสซึม จะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราค่ารักษาพยาบาลแต่อย่างใด ด้วยสถานพยาบาลภาครัฐมีกรอบในการควบคุมอัตราค่าบริการรักษาพยาบาลอยู่แล้ว ส่วนสถานพยาบาลเอกชนก็มีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ควบคุม กำกับ อัตราค่าบริการให้เหมาะสมและเป็นธรรม โดยมีกระทรวงสาธารณสุขร่วมพิจารณา จึงไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะมีการขึ้นอัตราค่ารักษาพยาบาล และ2.ในส่วนที่มีความกังวลว่าจะเกิดปัญหาขาดแคลนบุคลากรสุขภาพในภาครัฐ ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมามีการเคลื่อนย้ายบุคลากรจากภาครัฐไปภาคเอกชนบางส่วน กระทรวงสาธารณสุขจึง โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจึงได้มีการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ให้สถานพยาบาลเอกชนสามารถจัดการศึกษา อบรม วิจัยในสถานพยาบาลของตนเองได้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และในการแก้กฎหมายดังกล่าวยังเพิ่มการส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนจึงช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้

ทั้งนี้ ประเทศไทยของเราได้มีนโยบายพัฒนาประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ ในทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1)ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) 2)ศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub) 3)ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) และ4) ศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub) ที่ได้ขับเคลื่อนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจากบริการทางการแพทย์ และการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ เกิดการกระจายรายได้สู่ประชาชน อีกทั้งช่วยส่งเสริม พัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ของประเทศให้มีมาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สังเกตได้จากการที่ประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสถานพยาบาลระดับสากล (Joint Commission International ;JCI) มากที่สุดในทวีปเอเชีย สร้างความไว้วางใจ และยอมรับต่อบริการทางการแพทย์ของไทยในสายตาชาวโลก โดยนโยบายเมดิคัล ทัวรริสซึม เองก็เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันประเทศเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหา หรือผลกระทบที่แต่ละฝ่ายมีความกังวลว่าจะเกิดในอนาคต กรม สบส.จะให้ความสำคัญกับการศึกษาผลกระทบและวางมาตรการรับมือจากนโยบายเมคัล ทัวรริสซึมอย่างใกล้ชิดต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4