องค์กรพัฒนาเอกชนประกาศเตือน แบคทีเรียต่อต้านยาปฏิชีวนะ ภัยร้ายจากอุตสากรรมปศุสัตว์ อาจทำให้คนเสียชีวิตมากกว่าเชื้อไวรัสโคโรน่า

พฤหัส ๒๓ เมษายน ๒๐๒๐ ๑๑:๔๐
โลกของเราในขณะนี้อยู่ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสที่รุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายทศวรรษ องค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากล'ซิเนอร์เจีย แอนิมอล’ แจ้งเตือนว่าการผลิตและการบริโภคเนื้อสัตว์อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการแพร่กระจายของโรคร้ายที่ส่งผลรุนแรงต่อมนุษยชาติได้ในอนาคตอันใกล้
องค์กรพัฒนาเอกชนประกาศเตือน แบคทีเรียต่อต้านยาปฏิชีวนะ ภัยร้ายจากอุตสากรรมปศุสัตว์ อาจทำให้คนเสียชีวิตมากกว่าเชื้อไวรัสโคโรน่า

“เชื้อไวรัส COVID-19 คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 146,000 รายแล้ว ส่งผลให้ทุกภาคส่วนทั่วโลกหยุดชะงัก เกิดการว่างงานเพิ่มมากขึ้นซึ่งแน่นอนว่าจะนำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบ และมาลองคิดดูว่าเราทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันโรคระบาดที่จะส่งผลต่อชีวิตผู้คนมากมายในอนาคต เช่นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะเป็นต้น ” วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทยของซิเนอร์เจีย แอนิมอลกล่าว

ประกาศเตือนดังกล่าวนี้มาจากองค์กรพัฒนาเอกชน โดยมีข้อมูลยืนยันเป็นสถิติที่น่าตกใจ อีกทั้งยังเป็นประเด็นที่สถาบันสำคัญๆ ระดับโลกอย่างสหประชาชาติก็วิตกกังวลเช่นกัน รายงานจากสหประชาชาติระบุว่า ปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตปีละ 700,000 คนจากการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมทั้งในมนุษย์และสัตว์ ตัวเลขทำให้เห็นได้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยานั้นสูงกว่าการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19 อยู่ถึง 5 เท่า

สถานการณ์จะยังคงแย่หนักลงไปเรื่อยๆ กลุ่มประสานงานระหว่างองค์การสหประชาชาติ (IACG)ว่าด้วยการดื้อยาต้านจุลชีพคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 จะมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยากว่า 10 ล้านคน มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเสียอีก วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์กล่าวว่า "ผู้คนนับแสนๆ คนเสียชีวิตทุกปีจากแบคทีเรียที่ต่อต้านยาปฏิชีวนะ แต่ไม่มีคำเตือนใดๆ จากสังคมเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย"

ยาปฏิชีวนะกว่าสามในสี่ของโลกถูกใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติระบุว่าในบรรดาโรคทั้งหมดที่เกิดขึ้นในมนุษย์ 60% เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์เป็นพาหะและเกือบ 75% ของยาปฏิชีวนะที่ใช้ทั่วโลก ถูกนำมาใช้กับสัตว์ซึ่งเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าอัตราการใช้ยาต้านจุลชีพในการเลี้ยงสัตว์จะเพิ่มขึ้นถึง 67% ภายในปี 2573

ยาปฏิชีวนะเหล่านี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทยมีการเลี้ยงสุกรและไก่ในฟาร์มอุตสาหกรรมในสภาพที่แออัดและอยู่ในสภาพที่สุขาภิบาลไม่ดี วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ อธิบายว่า “สัตว์นับล้าน ๆ ชีวิตถูกกักขังอยู่อย่างนี้ตลอดชีวิตในฟาร์มอุตสาหกรรม และหลายต่อหลายครั้ง พวกเขาต้องรับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ได้ป่วย ที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพื่อเร่งให้พวกเขาโตเร็วๆ และป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโรค สัตว์เหล่านี้เกิดอาการดื้อยาเนื่องจากได้รับยาปฏิชีวนะปริมาณต่ำอย่างต่อเนี่องและเชื้อโรคดื้อยาจากเนื้อสัตว์ก็ติดต่อสู่คนผ่านการบริโภค”

ตั้งแต่ปี 2549 สหภาพยุโรปได้สั่งห้ามการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ เช่นเดียวกับในประเทศไทย จากการศึกษาของกลุ่ม ReAct พบว่ากรมปศุสัตว์เริ่มควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับสัตว์แล้วตั้งแต่ปี 2546 แต่เกษตรกรยังคงไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเท่าที่ควร การสัมภาษณ์จากกลุ่ม ReAct พบว่าเกษตรกรยังคงผสมยาปฏิชีวนะลงไปในอาหารสัตว์เพื่อป้องกันโรคแทนที่ใช้ยาเพียงเพื่อรักษาสัตว์เมื่อสัตว์มีอาการป่วย

การศึกษาวิจัยอีกฉบับซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร 'Science' ในเดือนกันยายน 2562 เปิดเผยว่าแหล่งกำเนิดของเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะทั่วโลกนั้นเกิดขึ้นจริงแล้ว โดยโซนหลักที่เป็นอันตรายนั้นอยู่ไม่ห่างจากประเทศไทย เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน, และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนาม ซึ่งในขณะนี้มีกำลังมีการก่อตัวเกิดขึ้นอีกใน เคนยา โมรอคโค อุรุกวัย บราซิลตอนใต้ อินเดียตอนกลาง และตอนใต้ของจีน

การวิจัยพบว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ในปริมาณสูง ทำให้ฟาร์มปศุสัตว์มีความหนาแน่นมากขึ้นไปด้วย วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ กล่าวว่า "นี่อาจทำให้เกิดวิกฤตการสาธารณสุขได้ เนื่องจากภูมิภาคเหล่านี้มีทรัพยากรไม่เพียงพอในการรับมือกับการระบาด"

องค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากลหรือ 'ซิเนอร์เจีย แอนิมอล’ รณรงค์เชิญชวนบริษัทเอกชนต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในความรับผิดชอบมากขึ้น และใช้วัตถุดิบจากฟาร์มอุตสาหกรรมให้น้อยลงในห่วงโซ่อุปทาน ปัจจุบันองค์กรฯ ได้รวบรวมรายชื่อคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ และมีผู้บริโภคเอเชียเกือบ 17.000 คนแล้วที่มาลงชื่อเพื่อขอให้แมคโดนัลด์ประกาศนโยบายใช้ไข่จากฟาร์มปลอดกรงและใช้มาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ซึ่งห้ามการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องในฟาร์ม วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ กล่าวสรุปว่า “เราทุกคนร่วมกันสร้างโลกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับมวลมนุษยชาติและสุขภาพของมนุษย์ได้ จึงขอเชิญชวนให้มาช่วยกัน”

เกี่ยวกับซิเนอร์เจีย แอนิมอล

ซิเนอร์เจีย แอนนิมอล เป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากล ปฏิบัติงานในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสัตว์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เราได้รับการจัดอันดับโดย Animal Charity Evaluators (ACE) ให้เป็นหนึ่งในองค์กรพิทักษ์สัตว์ที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้