อยู่กับโรคซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ

ศุกร์ ๐๗ สิงหาคม ๒๐๒๐ ๑๑:๔๒
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เราได้ยินเรื่องโรคซึมเศร้ากันบ่อยขึ้น ถี่ขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีข่าวคนดังทั้งไทยและต่างประเทศฆ่าตัวตายจากโรคนี้ และยิ่งรู้สึกว่ามันใกล้ตัวเข้ามาทุกทีเมื่อคนรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่พี่น้อง เพื่อน คนรัก ก็เริ่มเป็นโรคนี้กันมากขึ้น
อยู่กับโรคซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ

แต่กระนั้นเราก็ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียทีว่าจริงๆแล้วโรคซึมเศร้าเป็นยังไง ทำไมปัจจุบันคนถึงได้ป่วยเป็นโรคนี้กันมากขึ้น ที่สำคัญคือ อายุของผู้ป่วยมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จนโรคซึมเศร้าได้ชื่อว่าเป็น “โรคแห่งศตวรรษที่ 21” หรือ “โรคยุคดิจิทัล”

เมื่อพูดถึงเด็กๆ ใครๆก็คงนึกถึงแต่เรื่องสดใส โลกสวย ที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มแสนสุขสนุกสนาน แต่รู้ไหมว่าเด็กๆเรียนรู้อารมณ์อื่นๆได้ นิทาน “ถ้วยฟูไม่อยากเศร้า” จากนิทานชุด ถ้วยฟูชวนหนูรู้จักอารมณ์ ตัวละครถ้วยฟูจะพาเด็กๆไปทำความรู้จักกับอารมณ์เศร้า เวลาเจอเรื่องแย่ๆหรือสูญเสียสิ่งที่รักไป จู่ๆโลกทั้งใบก็ดูเหี่ยวเฉาและน่าเศร้า จนถ้วยฟูไม่อยากทำอะไรเลยนอกจากร้องไห้ และนอนคลุมโปงอยู่บนเตียง อะไรจะทำให้ถ้วยฟูหาย “เศร้า” ได้บ้างนะ

หนังสือ “ซึมเศร้า…เล่าได้” จะพาคุณไปรู้จักและทำความเข้าใจโรคซึมเศร้า ผ่านการเดินทางของ “ฉัน” กับเจ้าแมวดำหางขดที่ชื่อ “ตัวเศร้าซึม” ตั้งแต่อาการบอกเหตุ การประเมินอาการเบื้องต้นด้วยตนเองตาม check list ในเล่ม หนทางการรักษา ตลอดจนการรับมือกับคนใกล้ตัวที่เป็นโรคนี้ด้วยภาพประกอบน่ารัก ภาษาอ่านง่าย เป็นมิตร พร้อมคำแนะนำที่ปฏิบัติได้จริง

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย หลินอวี๋เหิง ที่มีคุณแม่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และขณะที่เธอหาข้อมูลเพื่อดูแลคุณแม่ เธอเองก็ถูกโรคซึมเศร้าเข้าโจมตีเช่นกัน โชคดีที่ไหวตัวไปพบจิตแพทย์ทัน เธอจึงเอาชนะโรคนี้ได้ เธอจึงอยากเขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อให้เป็นเหมือนเพื่อนที่คอยอยู่ข้างๆทุกคนที่ป่วยด้วยโรคนี้ ส่วนภาพประกอบน่ารักในเล่มวาดโดย ไป๋หลิน ซึ่งได้รับรางวัล Red Dot Design Award 2016 สาขาออกแบบนิเทศน์ศิลป์จากประเทศเยอรมนีด้วย

ส่วนในหนังสือ “สุขภาพจิตดีเริ่มที่ลำไส้” นอกจากจะพูดถึงสุขภาพทั่วไปของลำไส้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสมองที่สองของร่างกายแล้ว ยังเล่าถึงระบบประสาท ความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้กับสมอง วิธีรักษาสุขภาพลำไส้และสมอง รวมถึงสรรพคุณของไซโคไบโอติก นอกจากไซโคไบโอติกจะช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้แล้ว ยังปรับโดพามีนและเซโรโทนิน หรือสารแห่งความสุขในสมองได้อีกด้วย คุณประโยชน์ข้อนี้ช่วยบรรเทาอาการของโรคออทิสติกและโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงแห่งศตวรรษนี้ได้

หากอยากรู้ว่าโรคซึมเศร้าสัมพันธ์กับลำไส้อย่างไร และไซโคไบโอติกรักษาโรควิตกกังวล อาการซึมเศร้า และความผิดปกติทางอารมณ์ได้อย่างไร หาคำตอบได้ในหนังสือเล่มนี้

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เพศใด วัยไหน เป็นคนที่อยากรู้จักโรคซึมเศร้าเพื่อทำความเข้าใจ เป็นคนที่สงสัยว่าตัวเองเข้าข่ายป่วยหรือเปล่า เป็นคนที่มีคนรอบตัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วอยากรู้วิธีดูแลเขา อ่านหนังสือ 3 เล่มนี้เพื่อรู้เท่าทัน และช่วยเหลือคนที่เรารักอย่างทันท่วงที

อยู่กับโรคซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ อยู่กับโรคซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ อยู่กับโรคซึมเศร้าด้วยความเข้าใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4