รู้จักกับ "คอมพิวเตอร์นำร่อง" ผู้ช่วยผ่าข้อเข่าเสื่อมที่ช่วยลดความคลาดเคลื่อน จากโรงพยาบาลพระรามเก้า

จันทร์ ๒๖ ตุลาคม ๒๐๒๐ ๐๘:๒๕
รู้จักกับ คอมพิวเตอร์นำร่อง ผู้ช่วยผ่าข้อเข่าเสื่อมที่ช่วยลดความคลาดเคลื่อน จากโรงพยาบาลพระรามเก้า

ลองคิดภาพตามว่าในวันที่อายุมากขึ้น ท่อนขาและเข่าที่เคยแข็งแรง ที่เคยตอบรับทุกข้อเรียกร้องไม่ว่าคุณจะอยากเดินไปไหน กลับกำลังร้องส่งเสียงเรียกให้คุณหยุดเดิน ชนิดที่คุณปฏิเสธอาการนั้นไม่ได้แม้แต่น้อย เพราะเสียงร้องเหล่านั้นยื้อยึดคุณด้วยคำสั้นๆ ว่า "ปวดเข่า"

แต่แทนที่เราจะหยุดรับฟังเสียงร้องของเข่า เรากลับดื้อดึงใช้งานมันต่อไปจนได้ (เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็หาย) หารู้ไม่ว่าทางที่เรากำลังเดินไปแบบไม่หยุดพัก มีโรคที่เรียกว่า "โรคข้อเข่าเสื่อม" กำลังโบกมือต้อนรับเราอยู่

โรคข้อเข่าเสื่อม อาจฟังดูเหมือนเป็นอาการที่พบได้แค่ในบุคคลสูงวัย ซึ่งนั่นก็เป็นข้อเท็จจริงข้อหนึ่ง แต่ใช่ว่าโรคนี้จะไม่พบในบุคคลอายุน้อยเสียที่ไหน หากเราลองยืนท่าตรงมองสำรวจตัวเอง แล้วพบว่า น้ำหนักตัวของเราพุ่งทะลุเกินเกณฑ์ เราบังเอิญมีโรคประจำตัวชื่อรูมาตอยด์ หรืออาจทานของโปรดบ่อยจนอาการเก๊าท์ที่เคยเป็นกำเริบ หรือย้อนกลับไปเคยเป็นคนชอบเตะฟุตบอล แต่มีอุบัติเหตุโดนเสียบสกัดจนเอ็นเข่าฉีก ให้ระวังตัวไว้เลยว่าตัวเองอาจมีปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม ในอนาคตก็ได้

รศ.นพ.พฤกษ์ ไชยกิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดข้อสะโพกและข้อเข่า อดีตประธานชมรมศัลยแพทย์ผ่าตัดโดยการใช้คอมพิวเตอร์นำร่องแห่งประเทศไทย และ หัวหน้าศูนย์รักษ์ข้อโรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า "โรคข้อเข่าเสื่อมไม่ได้มีแค่ในคนสูงอายุ บางรายมีอาการปวดตั้งแต่อายุ 30-40 ปี แต่ถ้าเรารู้ตัวเร็วว่าเริ่มมีอาการ เริ่มมีความผิดปกติกับข้อ เราก็สามารถรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย เช่น บริหารกล้ามเนื้อขา ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และลดกิจกรรมการใช้งานข้อเข่าบางอย่าง เช่น นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ ลดน้ำหนักตัวลงในกรณีที่มีน้ำหนักตัวเกิน มีการใช้ยาต่างๆ ทั้งยากิน และยาฉีดบำรุงข้อเข่า เรียกว่าถ้าเรารีบตัดไฟแต่ต้นลม อาการก็อาจจะไม่หนักจนถึงขั้นผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็นข้อเข่าเสื่อมแล้วจำเป็นต้องรับการผ่าตัดใส่ผิวข้อเข่าเทียมมีไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ"

แล้ว 5% ที่ต้องรับการผ่าตัดจะเป็นอย่างไร? คำถามต่อมาที่ส่งถึงนายแพทย์ของโรงพยาบาลพระรามเก้า ได้รับคำตอบกลับมาว่า หากคนไข้ป่วยถึงระยะที่ "ข้อเข่าโก่งผิดรูป" และจำเป็นต้องผ่าตัด โรงพยาบาลพระรามเก้า ก็มีเทคโนโลยีช่วยเหลือในการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสผิดพลาดให้น้อยที่สุด โดยการใช้เครื่อง "คอมพิวเตอร์นำร่อง" (Computer Assisted Surgery in Total Knee Arthroplasty)

โดยปกติแล้วการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะมีหลักการ คล้ายกับการทำครอบฟันรักษาฟันผุ คือทำการตัดเจียผิวข้อเข่าและกระดูกเข่าออกแล้วนำผิวข้อเทียมครอบยึดลงไปบนกระดูก โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือประกบกับขาคนไข้ แล้วใช้สายตาเล็งมุมตัด แก้ไขมุมขาที่ผิดรูปให้กลับมาเป็นขาที่ตรง แต่การจะผ่าตัดให้ได้องศาที่ถูกต้อง จะต้องพึ่งความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดเป็นหลัก ซึ่งอาจพบความแปรปรวนของค่ามุมต่างๆ ที่ได้ค่อนข้างมาก ตามรายงานที่มีทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ และเครื่องคอมพิวเตอร์นำร่องคือเทคโนโลยีที่โรงพยาบาล พระรามเก้าใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

"นึกภาพนาฬิกาที่ขอบเลขรอบๆ ถูกลบออกทั้งหมด" รศ.นพ.พฤกษ์ เกริ่น "เราแทบไม่สามารถบอกได้เลยว่าเข็มวินาทีของนาฬิกากำลังหยุดอยู่ที่วินาทีที่ 22 หรือ 23 แม้จะห่างกันเพียงวินาทีเดียว แต่นี่แหละคือความคลาดเคลื่อนของตามนุษย์ คิดง่ายๆ คือ 1 วินาที หรือเทียบได้ 6 องศา แต่ความคลาดเคลื่อน 6 องศานี้หากนำมาแปลงในการผ่าใส่ผิวข้อเข่าเทียม มันเป็นตัวเลขที่เยอะมาก"

เพื่อลดตัวเลขความคลาดเคลื่อนนี้ลง เครื่องคอมพิวเตอร์นำร่องจึงถูกนำมาใช้ตรวจสอบตั้งแต่ ขั้นตอนการเล็งวัดมุมองศากระดูก ตามด้วยขั้นตอนการตัดกระดูกที่คอมพิวเตอร์จะแสดงให้เห็น ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ และตรวจสอบหลังจากตัดกระดูกไปแล้ว จึงช่วยให้แพทย์ ผู้ผ่าตัดสามารถแก้ไขข้อผิดพลาด (ในกรณีที่เกิดขึ้น) ได้แทบจะในทันที

ปัจจุบันมาตรฐานค่าความคลาดเคลื่อนในการผ่าตัดข้อเข่าที่ยอมรับได้คือ "ไม่เกิน 3 องศา" แต่เมื่อนำมาเทียบกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นำร่องที่ "มองเห็นความคลาดเคลื่อน ได้ในระดับ 1 องศา" ก็แทบการันตีได้เลยว่าข้อเข่าที่เคยโก่งผิดรูปของผู้ป่วย จะกลับมามีลักษณะ ใกล้เคียงเดิม

"โรงพยาบาลพระรามเก้าผลักดันความก้าวหน้าของการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมาตลอด เทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์นำร่องที่เราใช้ เป็นเทคนิคที่ช่วยให้แพทย์อย่างเราๆ สามารถผ่าตัดได้ดีขึ้น และปรับสภาพเนื้อเยื่ออ่อนรอบข้อตึงได้เหมาะสมขึ้นด้วย เมื่อรวมกับผลของยาระงับความปวด และสภาพร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ผ่าตัดสามารถกลับมาเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมง ?แต่ถึงอย่างนั้น หากรู้สึกมีอาการปวดเข่าต่อเนื่องเกิน 3-5 วัน ก็ควรรีบมาพบแพทย์ได้แล้ว ไม่อย่างนั้นรู้ตัวอีกที เราอาจเป็นหนึ่งใน 5% ที่ต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นำร่องแล้วก็ได้" รศ.นพ.พฤกษ์ ทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital