ปภ.แนะวิธีป้องกันอุบัติเหตุจากการนำเด็กโดยสารรถยนต์

พฤหัส ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๙ ๑๐:๔๕
รถยนต์เป็นยานพาหนะที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ แต่การนำเด็กโดยสารรถยนต์มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุทางถนนและอุบัติภัยต่างๆในหลายรูปแบบ หากผู้ปกครองขาดความระมัดระวัง ไม่เอาใจใส่ในการดูแลเด็ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย จึงมีข้อแนะนำในการนำบุตรหลานโดยสารรถยนต์ ดังนี้

ประตูรถยนต์ ผู้ปกครองควรตรวจดูการปิด-เปิดประตูรถยนต์อย่างรอบคอบ เพราะมือเด็กอาจอยู่บริเวณขอบประตูและถูกประตูหนีบมือได้ และควรล็อคประตูรถทุกครั้งที่มีเด็กโดยสารไปด้วย เพื่อป้องกันเด็กเปิดประตูในขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่จนทำให้เด็กพลัดตกจากรถ อีกทั้งไม่ควรปลดล็อคประตูให้เด็กเห็น เพราะเด็กอาจจดจำและนำไปปฏิบัติตามทำให้เกิดอันตรายกับเด็กได้

กระจกไฟฟ้า ควรสังเกตขณะกดปุ่มกระจกรถยนต์ขึ้น หากมือเด็กจับบริเวณกระจกรถยนต์ อาจโดนกระจกหนีบนิ้วมือเด็กจนได้รับบาดเจ็บ อีกทั้งควรสังเกตขณะกดปุ่มกระจกลง เพราะเด็กอาจยื่นหน้าหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออกนอกตัวรถจนถูกเฉี่ยวชนจากรถคันอื่นหรือถูกกระแทกจากวัตถุอื่นๆที่อยู่ริมถนนได้

เกียร์รถยนต์ ผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ เพราะเด็กอาจเลื่อนเกียร์เล่น จนทำให้รถเคลื่อนตัวไปชนสิ่งของหรือบริเวณหน้าหรือหลังรถได้

การสตาร์ทเครื่องยนต์แล้วเปิดเครื่องปรับอากาศ ก็เป็นอันตรายเช่นกัน เพราะหากผู้ปกครองปล่อยเด็กไว้ในรถแล้วออกไปธุระนอกรถ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์อาจรั่วไหลเข้ามาในรถยนต์ ทำให้เด็กเสียชีวิตจากการสูดดมก๊าซดังกล่าวได้

การอุ้มเด็ก การอุ้มเด็กนั่งตักในขณะขับขี่ จะทำให้ประสิทธิภาพในการขับขี่ลดลง เพราะเด็กอาจซุกซนแย่งพวงมาลัยหรือเล่นเกียร์รถยนต์ หากเกิดอุบัติเหตุ เด็กอาจพุ่งไปกระแทกกับพวงมาลัยหรือกระจกรถอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต หากจำเป็นต้องนำเด็กโดยสารไปด้วย ควรจัดให้มีผู้ดูแลเด็กหรือจัดที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก

โดยเลือกใช้อุปกรณ์นิรภัยให้เหมาะสมกับวัยและน้ำหนักของเด็ก ดังนี้

การเลือกที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กในรถ จะช่วยลดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของเด็กจากอุบัติเหตุ เนื่องจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กหลุดออกจากที่นั่งไปกระแทกส่วนอื่นในรถหรือหลุดออกจากตัวรถ ซึ่งที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กจะแตกต่างกันไปตามวัยและน้ำหนักของเด็ก ดังนี้

เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีหรือน้ำหนักน้อยกว่า 10 กก. ใช้ที่นั่งสำหรับทารก โดยไว้เบาะหลังรถและให้เด็กหันหน้าไปด้านหลัง

เด็กอายุ 1-4 ปี หรือน้ำหนัก 10-18 กก. ใช้ที่นั่งสำหรับทารกและเด็กเล็ก โดยให้นั่งเบาะหลังรถและหันหน้าตามปกติ

เด็กอายุ 5-10 ปี หรือน้ำหนัก 18-28 กก. ควรใช้ที่นั่งเสริมเพื่อยกตัวเด็กให้สูงพอจะคาดเข็มขัดนิรภัยได้

เด็กอายุมากกว่า 10 ปี ขึ้นไป สามารถนั่งในรถโดยใช้ เข็มขัดนิรภัยตามปกติ เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกใช้อุปกรณ์นิรภัยสำหรับเด็กให้เหมาะสมกับรูปร่างและอายุของเด็กจะเห็นว่า การนำเด็กโดยสารรถยนต์ไปด้วย มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติภัยในหลายรูปแบบ ดังนั้น ทุกครั้งที่ต้องนำเด็กโดยสารไปกับรถยนต์ ผู้ปกครองควรดูแล เอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษ โดยตรวจตราความเรียบร้อยของอุปกรณ์ต่างๆในรถยนต์ หากเป็นเด็กเล็ก ควรเลือกใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กให้เหมาะสมกับอายุและน้ำหนัก หากเป็นเด็กโตที่อายุมากกว่า10 ปีขึ้นไป ควรให้คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่โดยสารรถยนต์ เพื่อลดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตกรณีเกิดอุบัติเหตุ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4