ปภ. แนะการเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน

พุธ ๐๖ พฤษภาคม ๒๐๐๙ ๑๗:๐๙
จากสถิติอุบัติเหตุทางถนน พบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ ทั้งการเมาแล้วขับ การขับรถด้วยความเร็วสูง การง่วงแล้วขับ การใช้โทรศัพท์ในขณะขับขี่ รวมทั้งการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัยในการขับขี่และโดยสารยานพาหนะ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

ขอแนะให้ผู้ขับขี่เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ดังนี้

การขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงสุด เนื่องจากความเร็วที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อระยะทางในการหยุดรถ เช่น ความเร็ว 80 กม./ชม. ต้องใช้ระยะทางในการหยุดรถ 76 เมตร และหากประสบอุบัติเหตุจะทำให้แรงปะทะ ณ จุดเกิดเหตุเพิ่มสูงขึ้น เช่น การขับขี่ด้วยความเร็ว 60 กม./ชม.มีโอกาสเสียชีวิตถึงร้อยละ 90

นั่นคือ ยิ่งขับรถเร็ว ก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากขึ้น เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ควรขับรถในอัตราความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด คือ ไม่เกิน ๙๐ กม./ชม. นอกจากจะช่วยประหยัดพลังงานแล้ว หากเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้ขับขี่จะได้มีเวลาเพียงพอในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงจากการชนและการเสียชีวิตหรือการบาดเจ็บได้

การเมาแล้วขับ ในแต่ละปีมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนโดยมีสาเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จะมีอาการมึนเมาและคึกคะนอง โดยเฉพาะหากดื่มแล้วขับ จะทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง การตัดสินใจและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินจะช้าลงกว่าปกติ 8 เท่า สายตาพร่ามัว

ทัศนวิสัยในการมองเห็นโดยเฉพาะในช่วงกลางคืนลดลง จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ดังนั้น หากดื่มจนมีอาการเมา ห้ามขับรถเองอย่างเด็ดขาด ควรจอดพักในบริเวณที่ปลอดภัยจนกว่าจะหายเมาแล้วค่อยขับรถหรือใช้บริการรถรับจ้างสาธารณะหรือรถแท็กซี่จะปลอดภัยกว่า หากไปด้วยกันหลายคน ควรให้ผู้ที่ไม่ดื่มขับรถแทน

การง่วงแล้วขับ การขับรถในระยะทางไกลติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ผู้ขับขี่เกิดอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย และหลับใน เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนได้ หากผู้ขับขี่ง่วงนอนจะมีโอกาสหลับใน หรือวูบหลับประมาณ 3-5 วินาที ซึ่งจะทำให้รถวิ่งอย่างไร้การควบคุมประมาณ 100 เมตร

จึงเพิ่มความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุลักษณะประสานงาหรืออุบัติเหตุร้ายแรงอื่นๆได้ ดังนั้น ก่อนออกเดินทาง ผู้ขับขี่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาที่มีฤทธิ์ต่อประสาท เช่น ยาแก้หวัด แก้ไอ ลดน้ำมูก หรือแก้ภูมิแพ้ เพราะจะทำให้เกิดการหลับในได้ หากเป็นไปได้

ควรมีคนร่วมเดินทางไปด้วยเพื่อชวนคุยไม่ให้ง่วงหรือผลัดกันขับ หากเดินทางคนเดียวและมีอาการง่วงนอน ควรแวะจอดพักบริเวณสถานีบริการน้ำมันหรือจุดพักริมทาง แต่หากไม่สามารถแวะพักได้ ให้ใช้วิธีจับจุดที่หลังศรีษะ ใต้จมูก หรือใช้ปลายเล็บนิ้วโป้งจิกลงปลายนิ้วก้อยของมือข้างเดียวกัน จะช่วยลดอาการง่วงนอนได้

การใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากกว่าการขับรถในช่วงปกติ 2-4 เท่า เนื่องจากในขณะใช้โทรศัพท์ สมาธิของผู้ขับขี่จะอยู่ที่บทสนทนา ทำให้เสียสมาธิในการควบคุมรถ หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะไม่สามารถหยุดรถได้ทัน และแม้ว่าจะใช้อุปกรณ์เสริม เช่น แฮนด์ฟรี สมอลทอล์คในการคุยโทรศัพท์ขณะขับรถ

แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากปฏิกิริยาในการตอบสนองช้ากว่าปกติถึง 0.5 วินาที รวมทั้งยังส่งผลต่อการจดจำรายละเอียดของป้ายจราจรอีกด้วย ดังนั้น หากจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ในขณะขับรถ ควรนำรถเข้าจอดข้างทางแล้วค่อยใช้โทรศัพท์จะปลอดภัยกว่าการไม่สวมหมวกนิรภัย ถือเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิตของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ดังนั้น ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ควรสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง เพื่อลดอาการบาดเจ็บทางสมองหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น โดยเลือกหมวกนิรภัยที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กำกับไว้ และชนิดเต็มศีรษะจะปลอดภัยมากกว่าแบบอื่นๆ และหากมีเด็กเดินทางไปด้วย ควรให้เด็กสวมหมวกนิรภัยสำหรับเด็กด้วย

การไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เข็มขัดนิรภัยถือเป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนได้

หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น เนื่องจากสามารถลดอาการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้มาก เพราะในขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงโดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย หากเกิดอุบัติเหตุ ตัวของผู้ขับขี่จะพุ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วในลักษณะใกล้เคียงกับการตกจากตึกสูง ร่างกายส่วนบนจะกระแทกกับพวงมาลัย ศีรษะกระแทกกับกระจก ขาส่วนบนยันกับหน้าปัด

เป็นเหตุให้ขาหักและกระดูกเชิงกรานเคลื่อน ทำให้ผู้ประสบเหตุได้รับบาดเจ็บรุนแรง จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ เข็มขัดนิรภัยยังช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ประสบเหตุหลุดออกนอกรถ เพราะหากหลุดออกนอกตัวรถจะทำให้มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่อยู่ในรถถึง 6 เท่า

เพื่อความปลอดภัย ผู้ขับขี่ควรเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนทั้งเร็ว เมา ง่วง โทร เพิ่มความระมัดระวังในขณะขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด รวมทั้งใช้อุปกรณ์นิรภัยทุกครั้งที่ขับขี่และโดยสารยานพาหนะ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหรือลดความสูญเสียน้อยที่สุด หากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ