สสปน. รักษาแชมป์ นำอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าไทยคว้า “อันดับ 1” ในอาเซียน เดินหน้าดันแผนกลยุทธ์ปี 53 สยายปีกเพิ่มส่วนแบ่งครองตลาดเอเชีย

พุธ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๐๙ ๑๔:๐๙
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ หรือ สสปน. ประกาศผลวิจัยการตลาดของ Ufi ภูมิใจนำทัพอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าไทยขึ้นแท่นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ครองแชมป์ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ย้ำความสำเร็จของโครงการ “กรุงเทพฯ...มหานครแห่งการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอาเซียน” นำรายได้เข้าประเทศกว่า 6.8 พันล้านบาท พร้อมวางหมากรับศึกปี 2553 ปรับแผนกลยุทธ์การตลาดครบวงจร รุกตลาด Short-haul เต็มพิกัด เตรียมสยายปีกเพิ่มส่วนแบ่งครอบคลุมภูมิภาคเอเชีย มั่นใจเพิ่มยอดการจัดงานสูงถึง 200 งาน สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 7,547 ล้านบาท

คุณศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายงานแสดงสินค้านานาชาติ รักษาการผู้อำนวยการ สสปน. เปิดเผยว่า “สสปน.ประสบความสำเร็จในการรุกตลาดการจัดงานแสดงสินค้าในระดับนานาชาติมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2551 ที่ผ่านมาเราสามารถประมูลสิทธิ์และดึงงานแสดงสินค้าในระดับนานาชาติให้เข้ามาจัดในประเทศไทยได้เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งในปี 2552 เราก็ได้เร่งแผนดำเนินงานโดยมุ่งเน้นการทำตลาดต่างประเทศมากขึ้น และจากผลการสำรวจของ Ufi ซึ่งเป็นสมาคมอุตสาหกรรมนิทรรศการระดับโลก ประกาศผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของเอเชียว่าประเทศไทยยังคงครองตำแหน่งผู้นำอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับ 8 ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งช่วยตอกย้ำความสำเร็จของการดำเนินงานภายใต้โครงการ “กรุงเทพฯ...มหานครแห่งการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอาเซียน” ที่สสปน.ได้เร่งดำเนินงานมาตั้งแต่กลางปี 2551 ได้เป็นอย่างดี”

จากผลการวิจัยทางการตลาดในหัวข้อ The Trade Fair Industry in Asia 5th Edition, 2009 จัดทำขึ้นโดย Ufi ได้รายงานถึงผลการสำรวจในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของไทยว่าในปี 2551 ที่ผ่านมาประเทศไทยยังคงรักษาความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของภูมิภาคอาเซียนอย่างต่อเนื่องใน 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้านของจำนวนงานที่จัดในประเทศ ซึ่งมีถึงจำนวน 71 งาน ด้านขนาดของพื้นที่สำหรับจัดงานในแต่ละปี (Annual Size) ซึ่งมีขนาดถึง 448,750 ตารางเมตร ด้านขนาดโดยเฉลี่ยของงานแสดงสินค้า (Average Size per Fair) ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีพื้นที่ในการจัดงานถึง 6,320 ตารางเมตรต่อการจัดงานแสดงสินค้าหนึ่งงาน และด้านการสร้างรายได้จากการจัดงาน

“สสปน. ดำเนินโครงการ “กรุงเทพฯ...มหานครแห่งการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอาเซียน” ภายใต้ความร่วมมือกับ “กรุงเทพมหานคร” เพื่อผลักดันและสนับสนุนให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอาเซียน ผ่านกลยุทธ์การดำเนินงานตลาดในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่กิจกรรมการสื่อสารการตลาด การทำตลาดในต่างประเทศ ไปจนถึงการสร้างพันธมิตรทางการตลาดร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันกระตุ้นตลาดในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของประเทศให้เติบโตขึ้น โดยปี 2551 สสปน.สามารถดึงงานแสดงสินค้านานาชาติประเภท Trade Show เข้ามาในประเทศไทยรวมทั้งสิ้นกว่า 71 งาน และมีนักธุรกิจ รวมถึงกลุ่มผู้เข้าชมงานจากทั่วโลกมากถึง 96,184 คน นำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยกว่า 6,861 ล้านบาท” คุณศุภวรรณ กล่าว

“สำหรับในปี 2553 สสปน.ได้ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้ครอบคลุมครบวงจร และเตรียมแผนการอัดฉีดและให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศอย่างเต็มกำลัง ซึ่งสสปน.ตั้งเป้าขยายตลาดออกไปยังกลุ่มประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลีให้มากขึ้น เพราะเราเล็งเห็นว่าตลาด Short-haul ยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงสำหรับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน”

แผนกลยุทธ์การดำเนินงานของ สสปน.สำหรับปี 2553 คือการขยายการสนับสนุนงานแสดงสินค้าให้ครอบคลุมมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่การเร่งประมูลสิทธิ์ดึงงานแสดงสินค้าใหม่ๆ ไปจนกระทั่งการยกระดับมาตรฐานงานแสดงสินค้าภายในประเทศให้เป็นงานในระดับนานาชาติ การนำเสนอแพคเกจสนับสนุนแบบ 360 องศา ที่ครอบคลุมนักธุรกิจและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมฯ ตั้งแต่ สถานที่จัดงาน สมาคมการค้า ออร์กาไนเซอร์ ผู้เข้าร่วมงาน ไปจนถึงผู้เข้าชมงานเพื่อเร่งเพิ่มจำนวนนักเดินทางกลุ่มธุรกิจและจำนวนงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติในประเทศไทย

กลยุทธ์การทำตลาดในต่างประเทศเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สำคัญสำหรับการรุกตลาดเอเชียของ สสสปน.ซึ่งนอกเหนือจากกิจกรรมโรดโชว์ที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Business Matching เพื่อเปิดตลาดให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมพบปะและสร้างเครือข่ายธุรกิจกับผู้ประกอบการ สมาคมการค้า ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐของประเทศในกลุ่มเป้าหมายแล้ว ในปี 2553 การทำตลาดออนไลน์ หรือ Digital Marketing ก็จะเป็นอีกแนวทางที่สำคัญในการทำการตลาดที่สำคัญของสสปน.ในการรุกตลาดต่างประเทศ อาทิ การจัดทำฐานของมูลออนไลน์ (Digital Database) การวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบ Digital Strategy หรือแม้กระทั่งการสร้างเครือข่ายธุรกิจในรูปแบบออนไลน์

คุณศุภวรรณ กล่าวด้วยว่า “จากผลสำรวจการหาข้อมูลในธุรกิจงานแสดงสินค้าพบว่า กว่าร้อยละ 60 ใช้สื่อออนไลน์ เช่น อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางหลักในการสืบค้นข้อมูลและดำเนินกิจกรรมการตลาดทางตรงในการประชาสัมพันธ์งานและดำเนินธุรกิจ และมีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่ใช้สื่อออฟไลน์ จึงมั่นใจว่าการใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตลาดธุรกิจงานแสดงสินค้าทั่วโลกโดยตรง”

พร้อมกันนี้ สสปน. ยังได้เร่งหารือและประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดันให้อุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของไทยเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง โดย สสปน.ได้จับมือกับ 3 พันธมิตรหลัก ได้แก่ “กรุงเทพมหานคร” “กรมส่งเสริมการส่งออก” และ “สมาคมการแสดงสินค้าไทย” ในการวางแผนนโยบายเชิงรุก กำหนดทิศทางการดำเนินงาน และการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าของประเทศร่วมกัน

ทางด้านคุณทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงความร่วมมือภายใต้โครงการ “กรุงเทพฯ...มหานครแห่งการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติของอาเซียน” ว่า กทม. และ สสปน. ได้วางแนวทางการดำเนินงานเพื่อกระตุ้นตลาดธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้าร่วมกัน ซึ่งเน้นการให้ต่างชาติได้เห็นถึงศักยภาพและความพร้อมในด้านต่างๆ ที่สามารถรองรับธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ ภายใต้กลยุทธ์และการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อสานต่อมาตรการต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางการจัดงานแสดงสินค้าของภูมิภาคอาเซียนได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง

“ด้านกรุงเทพมหานครเองก็ได้วางนโยบายเพื่อผลักดันและสนับสนุนให้ กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นการขยายโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตที่จะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการจราจร การเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 5,000 ไร่ ภายในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้า การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดรับกับความต้องการของตลาดสัมมนาและแสดงสินค้าที่ให้ความสำคัญกับการจัดงานในเมือง นอกจากนี้กรุงเทพมหานคร ยังมีแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายใต้แนวคิด “กรุงเทพฯ เมืองยิ้ม” ใน 5 ด้าน คือด้านวัฒนธรรม ด้านวิถีชีวิตและการท่องเที่ยวทางน้ำ ด้านช้อปปิ้งและอาหาร ด้านท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และสุดท้ายคือรอยยิ้มจากความคุ้มค่าในการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งอีกด้านหนึ่ง ที่จะกระตุ้นการใชจ่ายของกลุ่มธุรกิจที่เดินทางเข้ามาร่วมงานในประเทศ ที่เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง เป็นการเพิ่มรายได้จำนวนมหาศาลเข้าสู่ประเทศ” คุณทยา กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ