การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (ANTI-DUMPING) ของประเทศอินโดนีเซียอย่างไม่เป็นธรรมต่อสินค้าแผ่นพลาสติกชนิด (BOPP Film) จากประเทศไทย

พุธ ๓๐ กันยายน ๒๐๐๙ ๑๒:๒๑
ตามที่ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าของไทยถูกประเทศอินโดนีเซียกล่าวหาและดำเนินการไต่สวน กรณีทุ่มตลาดสินค้า BOPP Film จนสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมพลาสติกแผ่น BOPP Film ในช่วงปี 2550 ซึ่งหน่วยงานไต่สวนของประเทศอินโดนีเซีย Komite Anti Dumping Indonesia หรือ KADI มาดำเนินการเอากับสินค้าของผู้ส่งออกไทยเพียงประเทศเดียว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 และคาดว่า KADI จะประกาศลงโทษไทยด้วยการขึ้นอากรตอบโต้ในเดือนตุลาคม 2552 ในอัตราภาษีรวมสูงถึง 21.86% จากภาษีนำเข้าเดิมที่ 5%

สภาอุตสาหกรรมฯ ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พบว่า KADI ดำเนินการไต่สวนการทุ่มตลาดอย่างไม่เป็นธรรมและขัดกับแนวทางปฏิบัติขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) อย่างชัดเจน ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ ด้วยเหตุที่ไม่ได้ไต่สวนหรือพิจารณาการทุ่มตลาดของประเทศอื่น (ตารางที่ 1) โดยเฉพาะส่วนที่นำเข้ามาทุ่มตลาดจากประเทศจีน โดยมีอัตราการเติบโตของการนำเข้าสูงกว่าประเทศไทยเกือบเท่าตัว ซึ่งการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ส่งออกของไทย และที่ผ่านมา แม้ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้มีหนังสือโต้แย้งกรณีดังกล่าวไปยังอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่อง อาทิ (1) หนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและพาณิชย์ ของอินโดนีเซีย (2) หนังสือโต้แย้งจากกรมการค้าต่างประเทศ และ (3) หนังสือโต้แย้งจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แต่หน่วยงาน KADI ก็ยังคงดำเนินการไต่สวน และไม่ยอมชี้แจงประเด็นข้อโต้แย้งของประเทศไทยแต่อย่างใด แต่กลับออกประกาศใช้มาตรการเก็บภาษีชั่วคราว (Provisional AD Duty) ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม ถึง 8 กันยายน 2552 ส่งผลให้สินค้า BOPP Film จากประเทศไทยต้องมีภาระภาษีรวมสูงถึง 20%

ผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทย

ไทยส่งออกสินค้า BOPP Film ไปอินโดนีเซียในปี 2551 มูลค่า 1,451.99 ล้านบาท (ตารางที่ 2) โดยมีอัตราการขยายตัวที่ดี สอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย

แต่การประกาศใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดจะส่งผลลบต่อการส่งออกสินค้า BOPP Film ของไทยไปอินโดนีเซียได้นานถึง 5 ปี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาทต่อปี โดยผลกระทบดังกล่าวเริ่มเห็นชัดเจนหลังจากการที่อินโดนีเซียประกาศใช้มาตรการเก็บภาษีชั่วคราว ส่งผลให้ยอดการส่งออกของไทยลดลงถึง 62 % หรือประมาณ 355 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาเมื่อเทียบกับยอดส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 (ตารางที่ 3)

ข้อเรียกร้องของภาคอุตสาหกรรมไทย

แม้จะได้รับการร้องเรียนเพื่อขอความเป็นธรรมจากผู้ส่งออกและกระทรวงพาณิชย์ไทยเป็นเวลานานต่อเนื่องกว่า 1 ปี แต่ทาง KADI กลับไม่ให้ความร่วมมือ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อผู่ส่งออกของไทยและคู่ค้าในประเทศอินโดนีเซีย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะตัวแทนของภาคอุตสาหกรรม ตระหนักและเคารพต่อกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศภายใต้หลักปฏิบัติอันเป็นสากลขององค์การการค้าโลก จึงขอเรียกร้องให้ KADI ประเทศอินโดนีเซียในฐานะเพื่อนประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาข้อโต้แย้งของไทยอย่างเป็นธรรมอย่างแท้จริง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4