ผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2552

พฤหัส ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๐๙ ๑๑:๐๔
เมื่อวานนี้ (11 พฤศจิกายน 2552) ที่กระทรวงการคลัง ได้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการอำนวยสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยปี 2552 โดยมีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน เพื่อติดตามผลการอนุมัติและเบิกจ่ายสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งทั้ง 6 แห่งได้ปรับเป้าหมายสินเชื่อรวม จาก 625,500 ล้านบาท เป็น 927,000 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่ง สามารถอนุมัติสินเชื่อได้รวม 939,531 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 101.35 ของเป้าหมาย 927,000 ล้านบาท และเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 880,883 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.03 ของเป้าหมาย โดยมีผลการดำเนินงานรายสถาบัน ดังนี้ (ดูภาพ ตารางที่1)

ในขณะที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมแห่งประเทศไทยมีการค้ำประกันสินเชื่อแล้วทั้งสิ้น 9,996 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อได้รับการค้ำประกันทั้งสิ้น 17,893 ล้านบาท และคาดว่าจะก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น 12,786 คน

สำหรับสินเชื่อ Fast Track ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2552 และสิ้นสุดโครงการไปเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2552 (ยกเว้น ธ.ก.ส. จะสิ้นสุดโครงการวันที่ 31 ธันวาคม 2552) แต่สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งยังคงดำเนินการตามโครงการ Fast Track โดยมีเป้าหมายสินเชื่อ 58,000 ล้านบาท ปรากฏว่า ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่งสามารถอนุมัติสินเชื่อได้รวม 51,744 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 89.21 ของเป้าหมาย และเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 29,535 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.92 ของเป้าหมาย ส่วนผลการดำเนินงานรายสถาบันสามารถสรุปได้ ดังนี้ (ดูภาพ ตารางที่2)

สำหรับผลการเบิกจ่ายสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจบางแห่งที่อยู่ในระดับต่ำนั้น เนื่องจากเป็นสินเชื่อเบิกที่จ่ายตามงวดงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ทำให้ยังไม่สามารถเบิกจ่ายได้เต็มวงเงินในระยะเวลาจำกัด ซึ่งคณะกรรมการขับเคลื่อนสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการอำนวยสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยปี 2552 และกระทรวงการคลังได้กำชับให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดังกล่าวเร่งรัดการดำเนินงาน และจะติดตามกำกับดูแลโดยใกล้ชิดต่อไป

ในส่วนของสินเชื่อโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศที่ดำเนินการโดย ธพว. นั้นได้มีการอนุมัติสินเชื่อไปแล้วทั้งสิ้น 1,681 ราย เป็นเงินรวม 2,840.75 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายสินเชื่อแล้ว 1,420 ราย เป็นเงินรวม 2,366.44 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 83.30 ของสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติแล้ว

อนึ่ง คณะกรรมการขับเคลื่อนสถาบันการเงินเฉพาะกิจฯ ได้เห็นชอบให้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 6 แห่ง ขยายการดำเนินการเฉพาะโครงการ Fast Track ไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยได้มีการขยายเป้าหมายรวมจาก 58,000 ล้านบาทเป็น 64,000 ล้านบาท แยกเป็น ธ.ออมสิน เพิ่มขึ้นจาก 10,000 ล้านบาทเป็น 11,000 ล้านบาท ธสน. เพิ่มขึ้นจาก 3,500 ล้านบาทเป็น 5,000 ล้านบาท ธพว. เพิ่มขึ้นจาก 3,500 ล้านบาทเป็น 5,000 ล้านบาท ธอท. เพิ่มขึ้นจาก 4,000 ล้านบาทเป็น 6,000 ล้านบาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4