สซ. โชว์ผลงานระดับชาติ ‘ระบบลำเลียงแสงที่ 2.2’ ศึกษาโครงสร้างระดับนาโนเมตร พร้อมเปิดให้บริการเร็วๆ นี้

อังคาร ๐๑ มิถุนายน ๒๐๑๐ ๑๕:๐๔
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โชว์ผลงานระดับชาติ ‘ระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 หรือ BL 2.2 Small Angle X-ray Scattering’ (SAXS) เป็นเทคนิคการกระเจิงรังสีเอกซ์ที่ใช้สำหรับการศึกษาโครงสร้างในระดับนาโนเมตร เช่น โครงสร้างของโพลิเมอร์ เส้นใย หรือวัสดุนาโนต่างๆ โดยอาศัยการวัดความเข้มของรังสีเอกซ์ที่กระเจิงจากสารตัวอย่างที่มุมขนาดเล็กๆ ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ภายในเร็วๆ นี้

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 หรือ BL2.2 : เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อต้นปี 2553 ซึ่งเป็นระบบลำเลียงแสงที่ถูกออกแบบสำหรับเทคนิค Small Angle X-ray Scattering’ (SAXS) โดยเฉพาะ โดยใช้รังสีเอกซ์จากแม่เหล็กสองขั้ว (bending magnet) ในวงกักเก็บอิเล็กตรอนของเครื่องกำเนิดแสงสยาม ที่ส่วนปลายของระบบลำเลียงแสงติดตั้งสถานีทดลองซึ่งสามารถศึกษาสารตัวอย่างทั้งในรูปที่เป็นผง เส้นใย ของแข็ง ของเหลว หรือสารละลายได้

ทั้งนี้ส่วนประกอบสำคัญของระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 (BL2.2) คือ อุปกรณ์คัดเลือกพลังงานของรังสีเอกซ์ที่เรียกว่า Double Multilayer Monochromator (DMM) ซึ่งสามารถคัดเลือกพลังงานรังสีเอกซ์ในช่วง 6-9 keV หรือเท่ากับความยาวคลื่นประมาณ 1.37 — 2.06 อังสตรอม นอกจากนั้นระบบลำเลียงแสงยังมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่นระบบสลิตสำหรับการปรับรังสีเอกซ์ให้เป็นลำขนาน และระบบกระจกสำหรับโฟกัสรังสีเอกซ์ โดยที่ DMM และอุปกรณ์ส่วนใหญ่ได้ถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้นโดยทีมนักวิจัยและวิศวกรของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนเอง

สำหรับสถานีทดลองของระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 (BL2.2) มีระบบจับยึดสารตัวอย่างซึ่งสามารถติดตั้งสารตัวอย่างที่เป็นของแข็ง เช่น โพลิเมอร์หรือเส้นใยได้ และยังสามารถติดตั้งหลอดคาพิลลารีบรรจุสารตัวอย่างที่เป็นผงหรือของเหลวได้ ที่ปลายสถานีทดลองติดตั้งระบบตรวจวัดรังสีเอกซ์แบบ CCD ซึ่งทำให้สามารถได้แผนผังการกระเจิงรังสีเอกซ์ของสารตัวอย่างได้ในขณะวัด โดยที่สถานีทดลองถูกออกแบบให้สามารถศึกษาโครงสร้างที่มีขนาดระหว่าง 1-100 นาโนเมตร

นอกจากนั้นทีมนักวิจัยของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนยังได้ทำการพัฒนาโปรแกรมสำหรับการจัดการข้อมูลที่ได้จากการวัดด้วยเทคนิค SAXS เพื่อให้นักวิจัยที่มาใช้บริการที่ระบบลำเลียงแสงที่ 2.2 (BL2.2) สามารถจัดการข้อมูลได้รวดเร็ว และอยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปแปรผลได้ทันที

ปัจจุบัน ระบบลำเลียงแสง SAXS อยู่ระหว่างการทดสอบใช้งานก่อนเปิดให้บริการให้แก่นักวิจัยโดยทั่วไปในเร็วๆ นี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ดร.ศุภกร รักใหม่ ที่อีเมล์ [email protected]

งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 252 โทรสาร 0-4421-7404 อีเมล : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๓๖ โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัล Digital Transformation Initiative of the Year 2024 จากเวที Healthcare Asia Awards
๑๒:๐๐ กลับมาอีกครั้งกับงานช้อปอย่างมีสไตล์ รายได้เพื่อชุมชน ครั้งที่ 14 เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนมาช้อป ชม ของดี ของเด็ดประจำจังหวัดปทุมธานี ระหว่าง 4 - 10
๑๒:๓๙ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ สนับสนุนพื้นที่ กรมพลศึกษา จัดแข่งขันกีฬากระบี่กระบองระหว่างโรงเรียน กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมทักษะเยาวชน ส่งเสริม SOFT POWER
๑๑:๑๕ TOA ย้ำแชมป์สีเบอร์หนึ่ง คว้า 2 รางวัลใหญ่ 'สุดยอดองค์กร และแบรนด์สีที่ผู้บริโภคเชื่อมั่นมากที่สุด' 13 ปีซ้อน Thailand's Most Admired Company Brand ปี
๑๑:๔๒ ไทยพีบีเอสยกระดับรู้เท่าทันภัยออนไลน์ ผนึกกำลัง 8 หน่วยงาน ป้องกัน-กวาดล้างอาชญากรรมไซเบอร์
๑๑:๕๘ ศิษย์เก่าวิศวฯ SPU กว่า 5 ทศวรรษ ร่วมย้อนวันวานในงาน วิศวฯ คืนถิ่น SEAN HOMECOMING 2024
๑๑:๑๓ เฮงลิสซิ่ง ร่วมสืบสานประเพณีท้องถิ่น ฉลองวันแห่งชัยชนะท้าวสุรนารี ประจำปี 2567
๑๑:๔๕ YouTrip สาดความคุ้มต้อนรับสงกรานต์กับ 2 โปรพิเศษ 4.4 Travel Sale และ Japan Mega Cashback รับส่วนลดสุดคุ้มจากแบรนด์ท่องเที่ยวดัง และเงินคืนสูงสุด 2,000
๑๑:๕๒ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญเข้าร่วมงานสัมมนาวิชา อนาคตเศรษฐกิจไทย: ยืดหยุ่นและยั่งยืน
๑๑:๑๐ เจแอลแอล ประเทศไทย เผยเทรนด์ ESG ของปี 2567 และเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของวงการอสังหาฯ