กก. สรุปมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูกู้วิกฤตด้านการท่องเที่ยว

เสาร์ ๐๕ มิถุนายน ๒๐๑๐ ๑๔:๑๓
นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิทย์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟูภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว ภายหลังวิกฤตทั้งในและต่างประเทศ ครั้งที่ 2/2553 ในวันที่ 4 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 กระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา โดยสรุปมาตรการที่ต้องการให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเยียวยา และฟื้นฟูกู้วิกฤตด้านการท่องเที่ยวของประเทศ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในเดือนเมษายน — พฤษภาคม 2553 มี 3 มาตรการ ดังนี้

1. มาตรการเสริมสร้างสภาพคล่องของผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว

1.1 ปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศ

1.1.1 คงวงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท

1.1.2 ขยายวงเงินกู้จากเดิมรายละไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท

1.1.3 ขยายระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) จากเดิม 1 ปี เป็น 2 ปี

1.1.4 ขยายระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุด จากเดิม 5 ปี เป็น 8 ปี

1.1.5 ในส่วนของหลักประกัน 5 ล้านบาทแรก ยังคงใช้หลักประกันตามหลักเกณฑ์เดิม แต่สำหรับวงเงินส่วนที่เกิน 5 ล้าน ให้มีหลักประกัน

1.1.6 ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการพิจารณา ออกหนังสือรับรองว่า ให้ผู้ขอสินเชื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ยื่นคำขอโดยตรงต่อ ธพว. โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรอง

1.2 โครงการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาแก่ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม

1.2.1 ให้ (ธพว.) จัดสรรวงเงินกู้จำนวน 10,000 ล้านบาท

1.2.2 ระยะเวลาโครงการ สิ้นสุดวันรับคำขอสินเชื่อภายใน 31 ธันวาคม 2553

1.2.3 เป็นการกู้ใหม่

1.2.4 วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 1,000,000 ล้านบาท

1.2.5 สินเชื่อแบบมีระยะเวลา (Term Loan) ระยะเวลากู้ 8 ปี ระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) 2 ปี

1.2.6 ยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

1.2.7 ยกเว้นการตรวจสอบประวัติทางการเงิน

1.3 มาตรการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ

1.3.1 ท่องเที่ยว ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 3 ปี และให้มีระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) 6 เดือน

1.3.2 ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) แก่ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท กู้รายละไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR-3 ระยะเวลากู้ 8 ปี และมีระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น(Grace Period) 6 เดือน

1.4 โครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่บุคลากรด้านการท่องเที่ยว

1.4.1 โดยให้ธนาคารออมสินพิจารณาจัดวงเงินกู้จำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาชีพอิสระและเพื่อเป็นเงินทุนหือเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ โดยกู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท ชำระคืนไม่เกิน 5 ปี (60 งวด)

1.4.2 ขอความร่วมมือจากธนาคาร และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ในการพิจารณาช่วยเหลือบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยขอพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน และขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 3 ปี

2. มาตรการลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว

2.1 ยกเว้นภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน และภาษีป้าย ปี 2553 ให้แก่ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว

2.2 ยกเว้นภาษีสรรพสามิต ปี 2553 ให้แก่ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว (ธุรกิจสนามกอล์ฟ)

2.3 ขอขยายเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจโรงแรม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554

2.4 ยกเลิกการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าขั้นต่ำจากสถานประกอบการโรงแรม โดยให้เรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามที่ใช้จริง ในเดือนพฤษภาคม — ธันวาคม 2553

2.5 ลดหย่อนค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานแห่งชาติ ร้อยละ 50 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554

2.6 ยกเลิกหรือลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เป็นระยะเวลา 1 ปี

2.7 โครงการฝึกอบรมพนักงาน/ลูกจ้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ต้นกล้าอาชีพ) ให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดำเนินการโครงการฝึกอบรมพนักงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ จำนวน 50,000 คน วงเงินงบประมาณ 440 ล้านบาท

3. มาตรการส่งเสริมการตลาดด้านท่องเที่ยว

3.1 แผนฟื้นฟูกู้วิกฤตผลกระทบด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก คือ

3.1.1 แผนงานฟื้นฟูภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่น (Soft Sales) 690 ล้านบาท

3.1.2 แผนงานกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ (Hard Sales) 550 ล้านบาท

3.1.3 แผนงานกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวในประเทศ (ทั้ง Hard Sales และ Soft Sales)

3.2 เร่งรัดการจัดประชุม สัมมนา และฝึกอบรมภายในประเทศ ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 เรื่องมาตรการประหยัดในการเบิกจ่าย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

3.3 ขอขยายระยะเวลาและปรับเปลี่ยนมาตรการให้ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่าย การประชุม สัมมนา อบรม และจัดการท่องเที่ยวเป็นรางวัลในประเทศแก่พนักงานมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง สำหรับปี พ.ศ.2553 ออกไปอีก 1 ปี

3.4 มาตรการให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมาหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น

3.5 ปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศ (Transit Passenger) เพิ่มการมีส่วนร่วมของหน่วยงานในพื้นที่องค์กรและชุมชนที่มีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพในโครงการ

3.6 ขอให้เร่งพิจารณาประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุนเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด

ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะได้นำเสนอ ครม. เศรษฐกิจในวันจันทร์นี้ และเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารนี้ ให้มีผลในเชิงปฏิบัติในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้