การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง การเกิดภัยพิบัติในประเทศไทย

พฤหัส ๑๕ กันยายน ๒๐๑๑ ๑๓:๑๔
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อธิการบดี มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติมีมูลค่ามหาศาล จึงมอบหมายให้ฝ่ายวิจัยทำการสำรวจความคิดเห็น ของประชาชนเรื่องการเกิดภัยพิบัติในประเทศไทย โดยดำเนินการสำรวจในกลุ่มประชาชน อายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี และนครปฐม จำนวน 3,374,401 คน คำนวณตามหลักการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ต้องใช้ในการสำรวจ 1,111 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายด้านอายุ อาชีพ และการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนพฤษภาคม 2554 โดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามที่คณะผู้สำรวจสร้างขึ้นจำนวน 1,300 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์ใช้ในการวิเคราะห์จำนวน 1,116 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.85

ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้

ประชาชนในกลุ่มภาคกลางตอนล่างซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงร้อยละ 52.6 (587 คน) เป็นชายร้อยละ 47.4 (529 คน) มีอายุระหว่าง 18- 26 ปี ร้อยละ 36.6 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.2 ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 24.3 รองลงมาคือ เจ้าของกิจการ ค้าขายและธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 22.6 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 43.2 รองลงมาคือระดับปวช. ร้อยละ 23.7 และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 97.3

กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 29.1 มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดปัญหาน้ำท่วมฉับพลันมากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 23.2 วิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว ส่วนอีก ร้อยละ 16.8 วิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดไฟไหม้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 14.3 และ ร้อยละ 11.8 ที่วิตกกังวลพายุใต้ฝุ่นและดินถล่ม ตามลำดับ และมีเพียงร้อยละ 2.9 ที่มีความกังวลเกี่ยวกับการเกิดสึนามิ

ในเรื่องความเชื่อมั่นต่อการเตรียมการป้องกันภัยพิบัติ ร้อยละ 54.9 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีความเชื่อมั่นต่อความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการจัดการรับมือกับภัยพิบัติอยู่ในระดับมาก และร้อยละ 42.3 ที่มีความเชื่อมั่นต่อการประกาศของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของประเทศไทยในระดับมาก และร้อยละ 31.8 เห็นว่าประชาชนไทยจะสามารถจัดการรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ในระดับมากเช่นกัน

ในการเตรียมความรู้และความพร้อมให้ตนเองในการจัดการรับมือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 43.6 คิดว่าควรศึกษาวิธีการดูแลตนเองและคนในครอบครัวขณะเกิดภัยพิบัติ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41.8 ที่คิดว่าจะย้ายที่ทำงานไปทำในที่ตั้งที่คิดว่าปลอดภัยกว่าเดิม ในขณะที่ร้อยละ 22.4 ของกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าควรรับฟังข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรับมือจัดการภัยพิบัติ ซึ่งใกล้เคียงกับผู้ที่ต้องการจัดเตรียมอาหารแห้งสิ่งของจำเป็นไว้ตลอดเวลา (ร้อยละ 22.0) นอกจากนี้มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.4 ที่คิดอยากย้ายบ้านไปอยู่ที่ในที่ตั้งที่คิดว่าปลอดภัย

กลุ่มตัวอย่างมีวิธีปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน เพื่อลดผลกระทบ หรือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทยและโลกที่น่าสนใจ ดังนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.8 คิดว่าควรใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด และร้อยละ 53.4 จะใช้น้ำอย่างประหยัด นอกจากนั้นร้อยละ 38.8 เห็นควรใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก และร้อยละ 38.4 เห็นว่าควรใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า ร้อยละ 32.1 จะลดการใช้กล่องโฟม ร้อยละ 28.0 ลดการใช้น้ำมันเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกอื่นแทน และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.7 โดยสารรถคันเดียวกันไปทำงานหรือไปเรียน

จากผลสำรวจในครั้งนี้ แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนในจังหวัดกลุ่มภาคกลางตอนล่างมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเกิดภัยพิบัติในลักษณะที่แตกต่างกัน และมีความเชื่อมั่นต่อการประกาศเตือนภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นและการเตรียมการรับมือจัดการกับภัยพิบัติค่อนข้างน้อย แต่กลุ่มตัวอย่างก็มีศึกษาวิธีการดูแลตนเองและคนในครอบครัวขณะเกิดภัยพิบัติ มีการรับฟังข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการรับมือจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งมีการจัดเตรียมอาหารแห้งสิ่งของจำเป็นไว้ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถรับมือและจัดการกับภัยพิบัติได้

ดังนั้นบุคคลในครอบครัว ชุมชน รัฐบาล และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ควรให้ความสนใจ เอาใจใส่ดูแล และคอยติดตามรับฟังข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับภัยพิบัติ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเตรียมการดูแล ป้องกันไม่ให้คนในครอบครัวได้รับอันตรายน้อยที่สุดเมื่อเกิดภัยพิบัติ หน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน โดยการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติประจำทุกจังหวัด และให้ความสำคัญในเรื่องการประกาศของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติของประเทศไทย การป้องกัน และการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนวางแผนดูแลการอพยพเคลื่อนย้ายประชาชน เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด หรือหากเกิดความเสียหายต่อบ้านเรือน ที่อยู่อาศัยขึ้นแล้ว ก็ต้องเร่งรัดในการเยียวยาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างต่อเนื่องไม่ให้เป็นเรื่องไฟไหม้ฟาง

?

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 034-229-480 เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?