ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ธันวาคม 54 ส่งสัญญาณฟื้นตัว แนะรัฐเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจหลังน้ำท่วม ชะลอปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท

พฤหัส ๑๙ มกราคม ๒๐๑๒ ๐๙:๕๘
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนธันวาคม จำนวน 1,034 ราย ครอบคลุม 40 กลุ่มอุตสาหกรรม ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ระดับ 93.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 87.5 ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ จากสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ ได้คลี่คลาย และเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ภาคอุตสาหกรรมทยอยกลับมาดำเนินการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบกับ เส้นทางคมนาคมขนส่งก็สามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้งภายหลังน้ำลด ส่งผลดีต่อระบบโลจิสติก และซัพพลายเชน อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ยังอยู่ ต่ำกว่า 100 แสดงว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอยู่ในระดับที่ไม่ดี สะท้อนได้จากการที่ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่สามารถกลับมาดำเนินกิจการได้ เนื่องจากโรงงานได้รับความเสียหายจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเพื่อให้กลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.3 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 104.5 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ

ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนธันวาคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน โดยอุตสาหกรรมขนาดย่อม มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนธันวาคมอยู่ที่ระดับ 89.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 82.6 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวลงเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก(ผลิตภัณฑ์และของตกแต่งที่ทำจากเซรามิกมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น, ยอดขายสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้นมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมสมุนไพร(ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรไทยไปประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น, ยอดขายยาสมุนไพรในประเทศเพิ่มขึ้น) และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ(ยอดขายสารชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ ในการปรับสภาพดิน สภาพน้ำหลังน้ำท่วมในประเทศเพิ่มขึ้น) ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.1 เพิ่มขึ้นจากระดับ 101.9 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ซึ่งค่าดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในอนาคตในระดับที่ดี

อุตสาหกรรมขนาดกลาง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 96.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 90.7 ในเดือนพฤศจิกายน โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง (กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือมียอดการส่งออกไปประเทศแถบตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น,ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เช่น เข็มขัด กระเป๋าเอกสาร กระเป๋าสตางค์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (เครื่องประดับประเภท พลอย เงิน มียอดการส่งออกไปประเทศ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย ตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงเทศกาลปีใหม่) และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น ชิ้นส่วนเครื่องสีข้าว ชิ้นส่วนรถไถนา มียอดขายในประเทศ เพิ่มขึ้น จากการปรับปรุงซ่อมแซมและเตรียมเก็บผลผลิต) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 104.3 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ซึ่งค่าดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในอนาคตในระดับที่ดี

และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 92.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 86.4 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า100 แสดงว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก (โครงเหล็กและเหล็กแท่งมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากการก่อสร้างและซ่อมแซม ที่อยู่อาศัย อาคาร สถานที่ต่างๆ หลังน้ำลด), อุตสาหกรรมยานยนต์ (ยอดคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นจากงานมอเตอร์โชว์ เดือนธ.ค. 2554),อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์(ผลิตภัณฑ์ประเภทชิ้นส่วนตกแต่งภายในรถยนต์มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น, ยอดคำสั่งซื้อยางรถยนต์ในประเทศและต่างประเทศ เช่น อเมริกาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น) และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น(อุปกรณ์ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น) ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 107.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 106.8 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ซึ่งค่าดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในอนาคตในระดับที่ดี

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค ประจำเดือนพฤศจิกายน พบว่า ภาคกลาง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวลดลงเล็กน้อย ขณะที่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน

ภาคกลาง มีดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 80.6 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 81.4 ในเดือนพฤศจิกายน โดยมีองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ต้นทุนประกอบการ แม้สถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย จนเข้าสู่ภาวะปกติ แต่ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่สามารถกลับมาดำเนินกิจการได้ เนื่องจากโรงงานได้รับความเสียหาย ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง ประกอบกับ ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีผลโดยตรงต่อการส่งออกไทย และความกังวลของผู้ประกอบการในเรื่องการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ซึ่งค่าดัชนีที่ต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมรองเท้า(ผลิตภัณฑ์ประเภท รองเท้ากีฬา รองเท้าอื่นๆ และส่วนประกอบรองเท้ามียอดคำสั่งซื้อจากประเทศเดนมาร์ก สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรลดลง), อุตสาหกรรมแก้วและกระจก(ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น จาน ชาม มียอดส่งออกไปประเทศอาเซียนลดลง, ยอดขายกระจกเงา และกระจกแผ่นเรียบในประเทศลดลง) และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (เส้นใยสังเคราะห์มียอดขายไปประเทศจีนและเพื่อนบ้านลดลง, ยอดขายเม็ดพลาสติกในประเทศลดลง, ยอดคำสั่งซื้อผงเมลามีนจากประเทศอเมริกาและญี่ปุ่นลดลง)ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.0 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากระดับ 100.3 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีอยู่ในระดับ 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับทรงตัว

ภาคเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 95.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 93.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ การท่องเที่ยว และการค้าชายแดน ยังเป็นปัจจัยเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคเหนือ ขณะที่ ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีที่ต่ำกว่า 100 ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก (ผลิตภัณฑ์และของตกแต่งที่ทำจากเซรามิกมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น, ยอดขายสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้นมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมสมุนไพร (ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรไทยไปประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น, ยอดขายยาสมุนไพรในประเทศเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (กระดาษคราฟท์มียอดคำสั่งซื้อจากประเทศจีน ฮ่องกงและสิงคโปร์เพิ่มขึ้น, กระดาษห่อของขวัญมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 110.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 109.8 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ซึ่งค่าดัชนีอยู่ในระดับเกิน 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ดี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 110.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 91.9 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ ช่วงฤดูกาลหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาล ที่ปริมาณอ้อยมีมากกว่าปีก่อน อีกทั้ง การขยายตัวของการค้าชายแดน ส่งผลดีต่อรายได้ของประชาชน ในภาคสะท้อนจาก ค่าดัชนีที่อยู่ในระดับสูงกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์(ผลิตภัณฑ์ประเภทชิ้นส่วนตกแต่งภายในรถยนต์มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น, ยอดคำสั่งซื้อยางรถยนต์ในประเทศและต่างประเทศ เช่น อเมริกา และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น) และอุตสาหกรรมน้ำตาล(ปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถผลิตได้เพิ่มขึ้น, น้ำตาลทราย มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และเป็นช่วงเทศกาล)ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 113.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 109.7 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ซึ่งค่าดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในระดับที่ดี

ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 96.3 เพิ่มขึ้นจากระดับ 87.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อกระทบต่อภาคการส่งออก ประกอบกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ส่งผลกระทบต่อระดับความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ซึ่งค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์ (ยอดคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้นจากงานมอเตอร์โชว์ เดือนธันวาคม2554), อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม (ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันเตา ของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา พม่าเพิ่มขึ้น, ค่าการกลั่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีเร่งกำลังการผลิต เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาล) และอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (เนื่องจากภาครัฐมีการรณรงค์ให้ใช้พลังงานทดแทนแทนน้ำมัน ประกอบกับราคาน้ำมันดีเซล เบนซินมีราคาสูงขึ้นส่งผลให้มีการลงทุนด้านพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น) ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 109.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 108.1 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และต้นทุนประกอบการ ซึ่งค่าดัชนีอยู่ในระดับสูงกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในอนาคตในระดับที่ดี

ภาคใต้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 100.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 96.6 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ เศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้ อยู่ในเกณฑ์ดีทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว โดยผลผลิตทางการเกษตร เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ส่งผลดีต่อรายได้เกษตรกร ขณะที่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ เช่นเดียวกันกับภาคการท่องเที่ยว ที่ยังขยายตัวดี สะท้อนจาก ค่าดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ดี สำหรับอุตสาหกรรมที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร(ยอดส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง กุ้งสดแช่แข็ง เป็นต้น จากประเทศออสเตรเลีย อเมริกา แคนาดาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น) และอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม(ยอดขายน้ำมันปาล์มในประเทศเพิ่มขึ้น) ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.6 เพิ่มขึ้นจากระดับ 100.0 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และปริมาณการผลิต ซึ่งค่าดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในอนาคตในระดับที่ดี

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามตลาดส่งออก (กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 89.0 เพิ่มขึ้นจากระดับ 87.7 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนี อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก(ผลิตภัณฑ์และของตกแต่งที่ทำจากเซรามิกมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น, ยอดขายสุขภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้นมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม(ยอดขายน้ำมันปาล์มในประเทศเพิ่มขึ้น), อุตสาหกรรมสมุนไพร(ยอดส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรไทยไปประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น, ยอดขายยาสมุนไพรในประเทศเพิ่มขึ้น) และอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ (กล่องกระดาษและบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น, ยอดกรพิมพ์โปสการ์ด การ์ดต่างๆ เพิ่มขึ้น) ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 101.4 ลดลงจากระดับ 105.6 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีที่อยู่ในระดับเกิน 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในอนาคตในระดับที่ดี

และกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนธันวาคม อยู่ที่ระดับ 85.2 ลดลงจากระดับ 86.6 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม และต้นทุนประกอบการ ซึ่งค่าดัชนีอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่น ต่อการประกอบการในระดับที่ไม่ดี จากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ยอดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ เช่น ด้าย ไหม จากประเทศอเมริกาและออสเตรเลียลดลง, ยอดขายผ้าทอ ผ้าฝ้ายในประเทศลดลง เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต), อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูปแบบแผ่นมียอดสั่งซื้อจากประเทศจีนละมาเลเซียลดลง) และหัตถกรรมอุตสาหกรรม (ขาดแคลนแรงงานฝีมือ, ยอดสั่งซื้อสินค้าประเภทหัตถกรรม เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ ภาชนะเคลือบดินเผาจากประเทศอเมริกา ญี่ปุ่นและยุโรปลดลง) ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.7 เพิ่มขึ้นจากระดับ 99.3 ในเดือนพฤศจิกายน องค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม และผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการประกอบการในอนาคตในระดับที่ไม่ดี

สำหรับด?านสภาวะแวดล?อมในการดําเนินกิจการ ผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกมากที่สุด รองลงมา คือ ราคาน้ำมัน สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราแลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ที่มีต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ภาครัฐควรเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจภายหลังภาวะน้ำท่วมคลี่คลาย ชะลอการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน รวมทั้งชะลอการปรับขึ้นราคาพลังงานในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งสร้างความสมดุลในการบริหารจัดการน้ำทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๓ เซ็นทารา เปิดตัว โคซี่ เวียงจันทน์ น้ำพุ โรงแรมไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมอิสระแห่งการเดินทาง
๑๐:๐๙ THE GAIN ยกขบวนวิทยากรระดับประเทศ มุ่งสู่งานสัมมนา การเทรดและลงทุนปี 2024
๑๐:๒๗ W เผย IFA หนุนเพิ่มทุน 2.5 พันล้านหุ้นขาย PP รับแผนเข้าถือหุ้นฟรุตต้าฯ 51% พร้อมปลดล็อก CBC
๑๐:๓๐ ผถห.TFG โหวตหนุนแจก TFG-W4 ฟรี! อัตรา 10 : 1 ราคาใช้สิทธิ 3.80 บ.พร้อมจ่ายปันผลเงินสด 0.01 บ./หุ้น ปักธงปี 67 รายได้โต 10%
๑๐:๑๙ ASIA เตรียมขายหุ้นกู้มีหลักประกัน มูลค่า 300 ลบ. อายุ 2 ปี อัตราดอกเบี้ย 7 - 7.20% มูลค่าหลักประกันเฉียด 1,600 ลบ. คาดเปิดจองซื้อวันที่ 27 - 29 พ.ค.
๑๐:๓๘ ไมเนอร์ โฮเทลส์ ประกาศรวมอัตลักษณ์องค์กรในระดับโลก ด้วยการรีแบรนด์ เอ็นเอช โฮเทล กรุ๊ป เป็น ไมเนอร์ โฮเทลส์ ยุโรป แอนด์
๑๐:๕๔ ยูนิโคล่ร่วมกับมารีเมกโกะ เปิดตัว UNIQLO x Marimekko คอลเลคชันลิมิเต็ดเอดิชันประจำฤดูร้อน 2024 เติมเต็มความสดใสให้ซัมเมอร์ ในธีม Joyful Summer
๑๐:๔๒ TERA ฟอร์มเจ๋ง! เปิดเทรดวันแรกเหนือจอง 122.86% ลุยให้บริการ T.Cloud รับอนาคตธุรกิจคึกคัก ปักหมุดผลงาน 3 ปีเติบโตเฉลี่ยเกิน
๑๐:๐๙ โบรกฯ แสกน GFC ส่งซิก Q1/67 พุ่ง
๑๐:๐๐ ผถห. WINMED ไฟเขียวจ่ายปันผล 0.0295 บ./หุ้น-รับเงิน 21 พ.ค.นี้ รุกตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก เพิ่มรายได้ประจำผถห. ตั้งเป้ารายได้ปี 67 โตเกิน 20%