นักวิจัย มรภ.สงขลา ใช้โปรแกรม GIS วางระบบฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ ร.ร.

อังคาร ๐๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๒ ๑๐:๓๘
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) รวบรวมข้อมูลสถานศึกษากว่า 1,000 แห่ง ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แสดงผลในรูปข้อมูลเชิงพื้นที่ หวังกระตุ้นคนรุ่นใหม่ภาคภูมิใจในองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น นายศักดิ์ชาย คงนคร อาจารย์โปรแกรมวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงงานวิจัยในโครงการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สถานศึกษา ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดำเนินการศึกษาวิจัยในโครงการจัดทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สถานศึกษา ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งมีพื้นที่ศึกษา 25 อำเภอ ใน 3 จังหวัด คือ สงขลา พัทลุง และ นครศรีธรรมราช ประกอบด้วยสถานศึกษามากกว่า 1,000 แห่ง

นายศักดิ์ชาย กล่าวว่า ทั้งนี้ก็เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำทะเลสาบ มาจัดการปรับปรุงข้อมูล ดัดแปลง แก้ไข จัดการ และวิเคราะห์ ให้แสดงผลในรูปของข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่สามารถอ้างอิงตำแหน่งได้ในทางภูมิศาสตร์ (ภาพแผนที่ แผนผัง) และจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดในระบบฐานข้อมูลที่สามารถศึกษาและใช้งานได้ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีเป้าหมายให้คนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต ได้มีความรู้ ความตระหนัก มีจิตสำนึก และเกิดความภาคภูมิใจในองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตน

สำหรับวิธีดำเนินโครงการ คือ กำหนดหัวข้อข้อมูลของสถานศึกษาที่ต้องการใช้ วางแผนการสำรวจและลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านต่างๆ ของสถานศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด (เช่น ประวัติสถานศึกษา การก่อตั้งสถานศึกษา ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษา ทิศทางของสถานศึกษา จำนวนบุคลากร สถิตินักเรียน) แล้วถ่ายภาพพร้อมเก็บค่าพิกัดในระบบพิกัดกริด (Grid Coordinate) ซึ่งเป็นระบบหาตำแหน่งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ด้วยเครื่องระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ (GPS) ของอาคาร สถานที่ และบริเวณโดยรอบในสถานศึกษา นำกลับมาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลสถานศึกษาตามที่ออกแบบไว้ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดร่วมกับสร้างแผนผังสถานศึกษาจากการแปลภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม ร่วมกับข้อมูลค่าพิกัดที่ระบุที่ตั้งของอาคาร สถานที่ สิ่งก่อสร้างต่างๆ ด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) คือโปรแกรม ArcView 3.3 และ ArcGIS 9.3

ข้อมูลจากการศึกษาทั้งหมด นอกจากนำเสนอในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ยังนำเสนอทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ของโครงการ www.skru-slb.com โดยมีการนำเสนอ 2 แบบ คือ ไฟล์เอกสารที่สามารถโหลดไปใช้ได้ และแบบ GIS server หรือแผนที่ที่สามารถตอบคำถาม เลือกดูข้อมูลที่ต้องการได้

ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลได้ตลอดเวลา ซึ่งในเว็บไซต์ข้อมูลจะมีความทันสมัย และเป็นปัจจุบันมากกว่าในเอกสารสิ่งพิมพ์ เนื่องจากทางโครงการมีการปรับปรุงข้อมูลอยู่ตลอด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒:๑๔ องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๑๒:๑๒ การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๑๒:๔๔ DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๑๒:๑๐ JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๑๒:๒๓ นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๑๒:๕๗ Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๑๒:๒๘ โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๑๒:๑๐ STEAM Creative Math Competition
๑๒:๔๔ A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๑๒:๔๗ ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้