ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนคาด ตลาดโลจิสติกส์ในประเทศไทยจะโตร้อยละ 7.5 (CAGR) โดยมีมูลค่าสูงถึง 85.9 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2559

จันทร์ ๐๕ มีนาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๓๗
ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาโลก คาดการณ์เกี่ยวกับตลาดโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใน 12 ประเทศ (ฮ่องกง สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย มาเลเซีย ไทย จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย) ว่าตลาดนี้จะมีการเติบโต (CAGR) ที่ร้อยละ 7.6 ตั้งแต่ปี 2554-2559 โดยมีมูลค่ากว่า 4.09 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2559 และสำหรับประเทศไทย ตลาดโลจิสติกส์จะโตร้อยละ 7.5 (CAGR)โดยมีมูลค่าสูงถึง 85.9 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2559

มร. โกปอล อาร์ Vice President, Transportation & Logistics Practice Asia Pacific บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก เปิดเผยว่า การขนส่งทางทะเลเป็นการขนส่งหลักสำหรับการขนส่สินค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 60 ของการขนส่งทั้งหมดในประเทศที่ทำการวิจัยทั้ง 12 ประเทศ นอกจากนี้ ปริมาณสินค้าของประเทศต่างๆเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และมีจำนวนถึง 19.67 พันล้านตันในปีนี้

แนวโน้มอุตสาหกรรมหลักในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

มร. โกปอลกล่าวว่า ปัจจุบัน ผู้ใช้บริการด้านโลจิสติกส์มีพัฒนาการที่ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และมีความคาดหวังต่อผู้ให้บริการสูงขึ้นเช่นกัน โดยลูกค้าเหล่านี้ต้องการความสามารถที่จะมองเห็นได้ในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานจากผู้ให้บริการเพื่อยกระดับการจัดการสินค้าคงคลัง การพัฒนาเรื่องการคาดการณ์ความต้องการเพิ่มเติมด้านการสื่อสาร และทำให้การจัดการโลจิสติกส์มีความราบรื่นมากยิ่งขึ้น

เขากล่าวเสริมว่าปัจจุบัน ทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้นำภาคอุตสาหกรรมต่างๆจำเป็นต้องยึดหลักปฎิบัติเกี่ยวกับ กรีนโลจิสติกส์ Green Logistics) ที่ยั่งยืน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาต้นทุนไม่ให้สูงขึ้นอีกด้วย โดยกรีนโลจิสติกส์ดังกล่าวรวมถึง การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่สิ่งแวดล้อมให้น้อยลง การใช้พลังงานเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการใช้พลังงานน้ำ กระดาษ และทรัพยากรอื่นๆ เป็นต้น

ในปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น และอุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอในระบบห่วงโซ่อุป่านและความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

"ดังนั้นบริษัทต่างๆจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์การบริหารการจัดการด้านห่วงโซ่อุปทานเสียใหม่ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการคำนวณต้นทุนบนความเสี่ยงต่างๆ เนื่องจากลูกค้าได้เริ่มให้ความสำคัญกับต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น” มร. โกปอล กล่าว

นอกจากนี้ มร.โกปอล์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่าห่วงโซ่อุปทานที่สั้นลงจะทำให้บริษัทสามารถดูแลการผลิตได้เป็นอย่างดี และช่วยตอบสนองได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นต่อความต้องการที่ผกผันรวมถึงปัญหาด้านการผลิตต่างๆที่เกิดขึ้นอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4