เยาวชนไทย เปิดมิติใหม่ สู่ประชาคมวิจัยอาเซียน

พฤหัส ๒๘ มิถุนายน ๒๐๑๒ ๑๑:๐๓
เวทีประชาคมอาเซียน กำลังเป็นเป้าหมายของทุกประเทศ ที่ต้องการจะก้าวขึ้นสู่เวทีนี้เพื่อแสดงศักยภาพ และถือว่าความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีของแต่ละประเทศจะเป็นตัวชี้วัดศักยภาพได้เป็นอย่างดี ขณะนี้ ที่น่าสนใจและเป็นที่จับตามองคือ ประเทศไทยมีเครื่องกำเนิด “แสงซินโครตรอน” แห่งเดียวและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียนนี้ และเชื่อกันว่าแสงซินโครตรอน ซึ่งเป็นเครื่องมือของนักวิจัยในการคิดค้นเพื่อพัฒนางานทางด้านเทคโนโลยี จะสามารถเปลี่ยนโลกได้อย่างมหัศจรรย์

ประเดิมเป็นปีแรกสำหรับการจัดค่ายวิทยาศาสตร์ “ซินโครตรอนอาเซียน” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ระหว่างวันที่ 14-18 พ.ค. 2555 ที่ห้องปฏิบัติการแสงสยามอาคารสิรินธรวิชโชทัย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีบรรดานักศึกษาในภูมิภาคอาเซียนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ถึง 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เวียดนาม โดยนักศึกษาเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้และได้สัมผัสด้วยการทดลองใช้ประโยชน์จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยระดับนานาชาติ

นางสาวเบญจมาศ ทองประดับ หรือ น้องเบญ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เผยว่า เป็นเรื่องที่ดีมากและท้าทายสำหรับตัวเอง เคยรู้จักแสงซินโครตรอนจากรุ่นพี่แต่ไม่ได้รู้ลึกมาก วันนี้ได้มาสัมผัสของจริงรู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก แสงซินโครตรอนนอกจากจะใช้ในการทำงานวิจัยแล้วแสงยังสามารถทำให้เกิดรูปร่างได้ การเข้าค่ายฯ ครั้งนี้ได้มิตรภาพจากเพื่อนในภูมิภาคอาเซียน จากนี้ไปจะนำเรื่องดี ๆ ไปเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง และอยากจะใช้แสงซินโครตรอนในการทำโปรเจ็คงานวิจัยของตัวเองต่อไปหากมีโอกาส นางสาวเวินกาว ถิฮอง หรือน้องสายไหม ชาวเวียดนาม นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาราชภัฏร้อยเอ็ด กล่าวว่า เข้ามาเรียนในประเทศไทยร่วม 4 ปี ตัดสินใจมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้เพื่อต้องการเพิ่มเติมความรู้ อยากสัมผัสกับเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน หลักจากที่ได้รู้มาจากการบอกเล่าของครูอาจารย์เท่านั้น เมื่อได้มาสัมผัสแล้วรู้สึกตื่นเต้นอย่างมาก ทำให้ตัวเองมีความรู้เพิ่มขึ้นอีกมาก และยังได้เพื่อนต่างชาติเพิ่มขึ้นด้วย คิดว่าจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ต่อไป Mr.Phi Tuyen,Vu นักศึกษาปริญญาเอก ด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี จากVietnamse Academy of Science and Technology(VAST) และนักวิจัยที่สถาบันวิจัยของภาคเหนือ ประเทศเวียดนาม 15 ปี กล่าวว่า ได้รู้จักซินโครตรอนจากกลุ่มเพื่อนที่มาทำงานวิจัยระหว่างหน่วยงานและครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีโอกาสมาเมืองไทย มีโอกาสได้มาสัมผัสและเรียนรู้การใช้เครื่องมือแสงซินโครตรอนของจริง ดีใจมากตอนนี้สนใจในเรื่องการดูดกลื่นรังสีเอ็กซ์ และการเปลี่ยนแปลงสถานะของเหล็ก หวังว่าหน่วยงานของตนและสถาบัน ซินโครตรอนจะได้ร่วมมือกันทำงานวิจัยร่วมกันในกลุ่มอาเซียน คาดว่าอีกไม่นานจะกลับมาใช้บริการห้องปฏิบัติการแสงสยามแห่งนี้แน่นอน

Ms.Stephanie B. Tumampos นักศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมจาก University of the Philippines Diliman ,Philippines เปิดเผยว่า ไม่เคยรู้มาก่อนว่าที่ประเทศไทยมีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน คิดว่ามีเฉพาะที่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นและที่มาเข้าร่วมค่ายฯครั้งนี้เพราะอาจารย์แนะนำมาและยังมีการทำ Wokshop ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก วันนี้เราได้รู้ว่าแสงซินโครตรอนสามารถทำประโยชน์ได้หลายอย่าง Mr.Sihao Wang นักศึกษาปริญญาโทปี สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ประเทศสิงค์โปร์ (National University of Singapore, Singapore) กล่าวว่า มีความสนใจด้านฟิสิกส์ และด้านวัสดุศาสตร์เกี่ยวกับแม่เหล็ก ซึ่งแสงซินโครตรอนมีความสำคัญมากและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน โดยเฉพาะด้านวัสดุศาสตร์ถ้าจะเรียนรู้เกี่ยวคุณสมบัติของสารก็จะมีประโยชน์อย่างมากและนำมาประยุกต์ใช้ชีวิตประจำวันได้ การเข้าร่วมกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ซินโครตรอนอาเซียนครั้งนี้ รู้สึกดีมากได้พบปะเพื่อนหลายประเทศเป็นมิตรภาพที่ดีมากและที่สำคัญได้มีโอกาสทดลองการใช้เครื่องมือดูดกลื่นรังสีเอกซ์เรย์ Mr.Ngoi Aiew Kien นักศึกษาปริญญาเอก ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย (University of theMalaya,Malaysia) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศ กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางมาสัมผัสและเยี่ยมชมสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่และมีประโยชน์มากเพราะแสงที่พิเศษนี้ไม่สามารถหาจากที่อื่นได้และที่สำคัญสามารถนำมาทำงานวิจัยได้หลากหลายแขนง เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากเราควรนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดและไม่มีใครที่สามารถทำงานวิจัยได้คนเดียวถ้าเราจับกลุ่มร่วมมือกันผลักดันให้กลุ่มอาเซียนมีความเข็มแข็งขึ้นในด้านวิทยาศาสตร์จะเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก

แสงซินโครตรอน ถือเป็นเรื่องใหม่เป็นสิ่งที่ท้าทายให้ชวนค้นหา มีการให้คำจำกัดความของ แสงซินโครตรอนว่า ..คือ "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากอิเล็กตรอน(หรือโพสิตรอน) ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง ขณะกำลังเลี้ยวโค้งในสนามแม่เหล็ก" ซึ่งลำแสงนี้มีประโยชน์ในงานวิทยาศาสตร์มหาศาล ประเทศไทยมีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งเดียวและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ตั้งอยู่ที่ จ.นครราชสีมา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๓๗ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ที่สุดของแอร์ที่ผู้บริโภคไว้วางใจ 24 ปีซ้อน
๐๙:๕๑ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เปิดประกวดราคางานปรับปรุงซ่อมแซมอาคารว่าง บริเวณถนนราชดำเนินกลาง จำนวน 5 อาคาร อาคารหมายเลข 4, 13, 14, 17 และ
๐๙:๑๕ KJLล่องใต้ จัดสัมมนา รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หวังเพิ่มเครือข่ายช่างไฟ KJL Network เป็น 10,000
๐๙:๐๖ PwC เผย 67% ซีอีโอไทยหวั่นธุรกิจของตนจะไปไม่รอดในทศวรรษหน้า หลังเจอแรงกดดัน จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ
๐๙:๒๘ PROUD จัดสัมมนา เจาะลึกทำเลหัวหิน ศักยภาพ และโอกาสในการซื้ออสังหาฯ ย้ำดีมานด์คอนโดฯ ระดับลักชัวรียังดี
๐๘:๓๙ ซัมซุงชูวิสัยทัศน์หลัก Lead Future of AI Innovation ประกาศเป็นผู้นำใช้ AI สร้างนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งอนาคต AI CE ตั้งเป้าเป็นเบอร์หนึ่ง AI-Product
๐๘:๐๔ PAW IT UP! เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ย้ำจุดยืน Pet Family Residences ผนึก 2 แบรนด์แกร่ง โมเดอร์นฟอร์ม และ NocNoc
๐๘:๕๑ OR คว้า 5 รางวัล ในงาน 2023-2024 Thailand's Most Admired Brand ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคไว้วางใจมากที่สุด
๐๘:๐๐ มกอช. ลงพื้นที่ลำพูน หนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชผักสมุนไพรและผลไม้ ใช้ระบบ QR Trace on Cloud และ
๐๘:๒๐ DEK FILM SPU สุดเจ๋ง! คว้ารางวัลชนะเลิศ เด็นโซ่ Tiktok Contest