โครงการศิลปะ Design l Nation

อังคาร ๐๔ กันยายน ๒๐๑๒ ๑๔:๕๗
If future could possibly be designed, which kind of future do you want to see and to be? - หากอนาคตกำหนดได้เอง เราอยากเห็นและเป็นอะไร?

รายละเอียด

Design | Nation (ออกแบบประเทศ)*

สถานการณ์ ณ ปัจจุบันต่อความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำเนินมาต่อเนื่องหลายปี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาชายแดนสามจังหวัดภาคใต้ การเมืองของเหลือง-แดง ความเชื่อและอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่าง ความขัดแย้งผลประโยชน์ส่วนกลางและภูมิภาค การต่อรองระหว่างรัฐและประชาชน การกระจายอำนาจและปัญหาความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เหล่านี้ได้เกิดความขัดแย้งไปสู่วงกว้าง และได้สร้างให้เกิดการเมืองแห่งความวิตกกังวล( Politic of anxiety) ปัจจุบันผู้คนกำลังหวาดวิตก กังวล กระวนกระวายใจ อยากจะคิดให้ชัดเจนว่าควรจะทำอย่างไรวางแผนอย่างไร วางจังหวะก้าวอย่างไร อนาคตของการเมืองไทยที่เรากำลังประสบอยู่ การเมืองแห่งความวิตกกังวลนี้ทำงานในหลายทางและหลายระดับ แต่สิ่งที่เป็นใจกลางของมันก็คือ ความวิตกกังวลต่ออนาคตประเทศไทยในฐานะรัฐ-ชาติ (Nation-state)

“ออกแบบประเทศ” (Design | Nation) คือหัวข้อการแลกเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อสังคมที่เราอาศัยอยู่ ในอดีตการออกแบบประเทศของคณะราษฎรที่นำพาประเทศไปสู่โลกประชาธิปไตยเมื่อ ๘๐ ปีที่ผ่านมานั้นยังไม่ปรากฎเป็นจริง จากวลีคำพูดที่ว่า “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎรทั้งหลาย” วันนี้เราเห็นอะไร และเกิดอะไรขึ้น? วันนี้้เราเชื่อหรือไม่ว่าประชาธิปไตยจะสามารถประสานความแตกต่างเหล่านั้น เข้ามาด้วยกันได้ สิทธิและเสรีภาพความเป็นธรรมยังเป็นอุดมการณ์ที่ยังอยากให้มีในสังคมหรือ เปล่า? และอุดมการณ์ที่เดินเป็นเส้นขนานกันจะมีวันมาบรรจบกันหรือไม่? ภาพร่างในอดีตที่สวยงามถูกบิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ จนชวนให้หดหู่และสิ้นหวัง วันนี้หากเราออกแบบอนาคตที่ว่านั้นได้ เราจะทำอย่างไร หรือหากไม่มีอดีตและปัจจุบันแบบที่มันเป็นอยู่ทุกวันนี้เราจะเริ่มศตวรรษ ใหม่โดยตัวเราเอง แล้วหน้าตาของประเทศนี้จะเป็นอย่างไร? ทั้งหมดนี่อาจจะเป็นคำถามที่มีคำตอบหลากหลาย อาจเป็นภาพอุดมคติ มายาคติ หรือจินตภาพล้วนๆที่คิดฝันไปเอง

อนาคตที่สามารถกำหนดตนเอง ( Autonomouse Future )

จินตนาการประเทศจากศิลปินหลากหลายแขนง เป็นการสนับสนุนความหลากหลายให้เกิดขึ้น แต่มีเป้าหมายที่จะมองไปข้างหน้าอย่างสร้างสรรค์ นี่อาจจะเป็นชุมชนแห่งจินตกรรมที่จะร่วมกันสร้างแบบจำลองอนาคตที่เราอยากจะ เห็นโดยการออกแบบเป็นภาพขนาดใหญ่ที่มีแนวคิดจากคนทำงานศิลปะ ภาพร่างเสมือนจริงของอนาคตประเทศที่อาจกลายเป็นจริงได้หากคนในสังคมเห็นและ รู้สึกร่วมกันว่ามันเป็นสิ่งที่เราต้องการ ที่ผ่านมาเราอาจจะคาดหวังจากคนอื่นๆให้เปลี่ยนแปลง แต่วันนี้เราเองก็ไม่ควรจะเพิกเฉยอีกต่อไป ในเมื่อนี่คือวิกฤติแห่งยุคสมัยที่เราไม่สามารถปิดหูปิดตาปิดความคิดอีกต่อ ไป เพราะศิลปินก็เป็นอีกหน่วยหนึ่งที่อาศัยในสังคม วันนี้เราจะมาร่วมลงมือออกแรงสร้างสรรค์เพื่อเป็นแรงบันดาลใจกับผู้คนและ สังคมที่เราอยู่ เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่ดีที่เราเป็นคนออกแบบอนาคตที่อยากจะเห็น ด้วยตัวของเราเอง.

“หากอนาคตกำหนดได้เอง เราอยากเห็นและเป็นอะไร”

“จุดเริ่มต้นคือการมองไปข้างหน้า สรุปบทเรียนในอดีต และไม่สิ้นหวังกับปัจจุบัน”

“หากไม่มีอดีตและปัจจุบันอย่างวันนี้ เราจะออกแบบประเทศให้เป็นแบบไหน”

*เทศกาลศิลปะนานาพันธ์ เปลี่ยนชื่อมาจาก ศิลปะและสังคมที่ดำเนินงานโดยฝ่ายศิลปกรรมสถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้จัดมาเป็นครั้งที่ ๕ ในปีนี้ เป็นการรวบรวมศิลปินที่นำเสนอศิลปะหลากหลายแขนงมารวมกันทั้งละคร ทัศนศิลป์ ดนตรี กวี ศิลปะการแสดงสด ภาพยนต์ทั้งหนังสั้นและหนังทดลอง ศิลปินได้นำเสนอผลงานและปะทะสังสรรค์กับแนวคิดหลักในปีนี้คือ “ ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆทั้งสิ้น” ซึ่งเป็นหนึ่งในคำสั่งเสียสุดท้ายของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ จากคำพูดนี้จะถูกตีความและให้ความหมายผ่านชิ้นงานและแลกเปลี่ยนกันในสถาบัน ปรีดี พนมยงค์ในช่วงระหว่างวันที่ ๒๙ กันยายน ถึง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ และภายใต้หัวข้อที่เป็นแกนหลักนั้นได้นำมาขยายความต่อเป็นอีกหัวข้อหนึ่งคือ “ ออกแบบประเทศ (Design | Nation)” โดย ธีระวัฒน์ มุลวิไล

จุดประสงค์

๑.เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้ศิลปินหลากหลายสาขาได้แลกเปลี่ยนความคิดและสร้างสรรค์ผลงานร่วมกัน

ผ่านหัวข้อ “ ออกแบบประเทศ Design | Nation”

๒.เพื่อเปิดพื้นที่ เวทีสาธารณะ ที่ผู้ชมและศิลปินใด้เกิดการแลกเปลี่ยนและตระหนักถึงปัญหาสังคมและร่วมกันหา ทางออกอย่างสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมทางศิลปะที่หลากหลาย

๓. เพื่อขับเคลื่อนโครงการ “ออกแบบประเทศ Design | Nation” ไปสู่เวทีสาธารณะ โดยเพื่อหวังผลให้เกิดการแลกเปล่ียนระยะยาวระหว่างศิลปิน ประชาชนทั่วไป โดยไม่จำกัดเพศวัย อายุ สถานะทางสังคม โดยมุ่งหวังถึงสังคมที่เราปรารถนาให้ปรากฎขึ้นเป็นจริง

รูปแบบการนำเสนอ Multi Disciplinary Art Project

ในงานแสดงชุดนี้มีการผสมผสานศิลปินหลากหลายแขนง โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการ (Art Exhibition)ภาพจิตรกรรม( Painting) ประติมากรรม(Sculpture) ศิลปะจัดวาง(Installation Art) ดนตรี(Music) การแสดง (Performance Arts) ภาพยนต์ (Film) งานออกแบบกราฟิค(Graphic) โดยทั้งหมดผู้ชมเองก็มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยรูปแบบการทำงานระหว่างศิลปินจะเป็นรูปแบบ Collaboration work และเปิดwebsite/blog : Design | Nation เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสื่อสารสู่สาธารณะ

Project Management team

ธีระวัฒน์ มุลวิไล Project Director

NONCITIZEN Co.,Ltd. Design Direction

ณัฐวัจน์ สุจริตกุล Content Editor

ศรุต โกมลิทกุล Exhibition co-ordinator

ธนพล วิรุณห์กุล Space co-ordinator

สถานที่ สถาบันปรีดี พนมยงค์

ลานน้ำพุ ห้องนิทรรศการ และห้องประชุมพูนศุข พนมยงค์

ช่วงเวลา ๒๙กันยายน — ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๕

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital