กฟก. ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทยก้าวไกล

จันทร์ ๐๘ ตุลาคม ๒๐๑๒ ๑๖:๕๑
ปัจจุบันภาคการเกษตรของไทยมีปัญหาในเรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะความต้องการสินค้าเกษตรในตลาดโลก ที่ลดลงเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลกระทบให้รายได้จากการส่งออกสินค้าการเกษตรของไทยลดลง เนื่องจากประเทศไทยส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเกษตรของไทย ในปัจจุบันหากมองไปที่ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เป็นประเทศอุตสาหกรรม แท้จริงในประวัติศาสตร์มีวิวัฒนาการหรือมีการพัฒนามาจากเกษตรกรรม และประเทศไทยเราก็ถือได้ว่าเป็นประเทศเกษตรกรรม เป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารคนทั้งประเทศ

เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็วแล้วนั้น ภาคการผลิตและบริการ ภาคการเกษตรต้องไปด้วยกัน รวมทั้งมีความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ต้องสร้างยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งแก่ภาคเกษตรด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรการ ผลิตให้เข้มแข็ง เป็นแหล่งการผลิตอาหารที่มั่นคงของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของภาคการผลิตและภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่ สร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ชีวิตมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี

นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการกองทุนฯ มีสำนักงานสาขาทุกจังหวัดทั่วประเทศ มีหน้าที่โดยตรงในการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยให้การส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพของเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง มั่งคงผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น การพิจารณาแผนหรือโครงการที่เกษตรกรทั่งไทยยื่นขออนุมัติโครงการในประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีภารกิจโดยตรงในการจัดการหนี้สินของเกษตรกร ซึ่งเป็นหนี้อันเกิดจากการประกอบอาชีพของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของ กฟก. ปัจจุบันได้แก้ปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรโดยการชำระหนี้แทนเกษตรกร จำนวนทั้งหมด 19,399 รายเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,853,623,639.01 บาท และสามารถรักษาที่ดินทำกินได้ 91,487 ไร่ 95.5 ตารางวา

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาถือว่าน่าพอใจ โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2555 มีการอนุมัติและฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรไปแล้วจำนวน 356 โครงการ จากที่เสนอมาทั้งหมด 846โครงการ คงเหลือ 490 โครงการมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 16,702 ราย เป็นเงิน 120,395,600 บาท โดยที่เหลือจะเร่งอนุมัติให้เร็วที่สุดเพื่อพี่น้องเกษตรกรจะได้ พัฒนาอาชีพของตนในอนาคต

ด้านนายประยงค์ อัฒจักร ผู้อำนวยการ สำนักฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เผยว่า การดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างหนี้ตาม พรบ. 7 เมษายน 2553 ที่ กฟก. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ดำเนินการภายใต้นโยบายของรัฐ โดยมีเป้าหมายปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตรกรประมาณ 510,000 ราย ซึ่งแบ่งเกษตรกรเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของ กฟก. ที่ขึ้นทะเบียนเเล้ว ประมาณ 8 หมื่นราย กลุ่มที่สอง คือ เกษตรกรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของ กฟก. ประมาณ 3.5 แสนราย กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มที่เป็นหนี้นายทุนเเละสถาบันการเงินอื่นๆประมาณ 8 หมื่นราย

กฟก. ได้มีการวางเเผนการดำเนินงานช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรเบื้องต้น ซึ่ง กฟก. เป็นผู้ประสานงานปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีการเเบ่งภาระหนี้เป็น 2 ส่วน คือ เงินต้น 50 เปอร์เซน ดอกเบี้ย 50 เปอร์เซนต์ และจะแบ่งชำระเฉพาะในส่วนที่เป็นเงินต้นให้หมดภายในระยะเวลา 15 ปี หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบาวนการฟื้นฟูพัฒนาอาชีพ เพื่อพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ส่วนการเบิกจ่ายเงินให้แก่องค์กรเกษตรกรทั่วประเทศ ที่ผ่านการอนุมัติจาก กฟก. ในงบฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรการที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้และเข้าศูนย์ฝึกอบรมแล้ว รายละ 7,000 บาท ประมาณ 2 พันกว่าราย งบประมาณไม่น้อยกว่า 14 ล้านบาท และ กฟก. ได้ส่งการให้หัวหน้าสาขา กฟก. ทั่วประเทศลงพื้นที่เพื่อชี้แจงรายละเอียดให้สมาชิกและผู้นำองค์กรเกษตรกรทราบ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์เงื่อน ๆ การจัดทำเอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินให้มีความถูกต้อง และเข้าใจถึงหลักเกณฑ์การใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบ

หลังจากนั้น กฟก. ได้มีการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานทั่วประเทศ ล่าสุดสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดจันทบุรีได้จ่ายเงินงบอุดหนุนให้กับองค์กรเกษตรกร เพื่อนำไปดำเนินกิจกรรมตามงวดงานงวดเงินที่ 1 เสร็จสิ้น และ สำนักงานสาขาได้จ่ายเงินในงวดงานงวดเงินที่ 2 เพื่อดำเนินกิจกรรมต่อไป ดังนี้

กลุ่มสัจจะพัฒนาการเกษตรบ้านสามหนาด ศึกษาดูงานเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง จังหวัดระยอง วันที่ 4 กันยายน 2555

สหกรณ์การเกษตรแหลมสิงห์ จำกัด ศึกษาดูงาน พร้อมฝึกปฏิบัติ เรื่องการแปรรูปอาหาร ปรับแนวความเรื่องการลดใช้สารเคมี การปลูกผักปลอดสารพิษ การรวบรวมผลผลิต ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้านโครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมา จากพระราชดำริ จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 14-15 กันยายน 2555

กลุ่มจันท์รักษ์เกษตร 2550 ศึกษา ดูงานด้านการปลูกผักปลอดสารพิษ ณ สวนลุงไกร และการเพาะเห็ดเชิงธุรกิจ ณ วังน้ำเขียวฟาร์มเห็ด ศูนย์เพาะเห็ดเมืองหนาว วันที่ 21 กันยายน 2555 ซึ่งการศึกษาดูงานของทั้ง 3 องค์กร ช่วยจุดประกายความคิดในการนำมาปรับใช้กับการประกอบอาชีพของเกษตรกรต่อไปในทุกกิจกรรม โดยมีหัวหน้าสำนักงาน กฟก. และพนักงานที่เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรม และติดตามอย่างใกล้ชิด

นับได้ว่า การโครงการดังกล่าวนี้เป็นการเสริมสร้างความรู้ พัฒนาศักยภาพ การพัฒนาเกษตรกรรมไปสู่การทำการเกษตรแบบสมัยใหม่ นำมาสู่การเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร นอกจากจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น และเป็นการพัฒนาภาคเกษตรของประเทศไทยให้เป็นแนวทางเดียวกับประเทศที่พัฒนา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา