รฟม. ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีปัญหาการกำหนดพื้นที่เวนคืนเพื่อก่อสร้างสถานีราชปรารภด้านตะวันออกของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน — มีนบุรี

จันทร์ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๓ ๑๔:๒๐
นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าจากการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน (ไม่ใช่การทำประชาพิจารณ์) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 และได้มีประชาชนบางจุดที่ได้รับผลกระทบรวมตัวกันแสดงความเห็นคัดค้าน รวมถึงการวิจารณ์ รฟม. และบริษัท ที่ปรึกษาในหลายประเด็น ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของ รฟม. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จึงใคร่ขอชี้แจงข้อเท็จจริงและแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังต่อไปนี้

1. การออกแบบสถานีและทางขึ้นลง

เป็นไปตามความเหมาะสม ข้อจำกัดและความจำเป็นทางเทคนิค ไม่มีวัตถุประสงค์แอบแฝงอื่นใด และได้กำหนดพื้นที่สำหรับก่อสร้างสถานี ทางขึ้นลง และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้โดยสาร ดังนี้

2. ข้อจำกัดทางเทคนิคต่อการออกแบบและวิธีก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินและตัวสถานีราชปรารภ

2.1 ถนนราชปรารภมีความกว้างผิวจราจร 18 เมตร โดยมีเขตทางถนนรวมทางเท้ากว้าง 24-27 เมตร ในขณะที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน มีความยาว 228 เมตร มีความกว้าง 28 เมตร ทำให้ต้องก่อสร้างกินพื้นที่ตึกแถวด้านตะวันออก (ขวา) ของถนนตลอดความยาวสถานี ขณะที่การก่อสร้างสถานีใต้ดินต้องขุดเปิดหน้าดินแล้วกลบ (Cut & Cover) ต้องสร้างกำแพงกันดิน (Diaphragm Wall) ที่แนว 28 เมตร + 3 เมตร สำหรับการเข้าก่อสร้าง และเครื่องจักร

2.2 มีอุโมงค์ระบายน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 2.50 เมตร ตามแนวถนนราชปรารภ (เบี่ยงไปด้านตะวันออก (ขวา) ของถนนราชปรารภ) จึงต้องให้แทรกอยู่ระหว่างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินอยู่บนชานชาลาและอยู่ล่างสถานี โดยการก่อสร้างคล่อมแบบนี้ก็ต้องขุดเปิดหน้าดินแล้วกลบ (Cut & Cover) เช่นกัน

2.3 เส้นทางรถไฟฟ้าจากถนนเพชรบุรีจะเลี้ยวซ้าย (ขึ้นเหนือ) เข้าถนนราชปรารภต่อไปยังซอยรางน้ำ แต่อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินปกติจะมีวงเลี้ยวกว้าง (เลี้ยวหักศอกไม่ได้) และหากเลี้ยวชันมากไป จะทำให้ค่าใช้จ่ายการเดินรถสูง และจะจำกัดความยาวของขบวนรถด้วย

โดยที่อุโมงค์จะกินพื้นที่ 2 จุด คือ (1) หัวมุมแยกประตูน้ำ และ (2) ด้านตะวันออก (ขวา) ของ ถนนราชปรารภ (จะชิดด้านซ้าย(ตะวันตก)ไม่ทัน) ด้วยเหตุผลข้างต้น อุโมงค์ส่วนนี้จากสถานีราชเทวี ผ่านสถานีประตูน้ำ ถึงสถานีราชปรารภจะเป็นแบบขุดเปิดหน้าดินแล้วกลบ (Cut & Cover) ตลอดแนวถนนทั้ง 3 สถานีเช่นกัน เพื่อให้สร้างอุโมงค์ไปและกลับชิดกันได้ (ขณะที่การขุดแบบใช้หัวเจาะ อุโมงค์ไปกลับต้องห่างกันมาก ทำให้ใช้พื้นที่เลี้ยวโค้งกว้างยิ่งขึ้นไปอีก)

2.4 การก่อสร้างแบบขุดเปิดหน้าดินแล้วกลบ (Cut & Cover) ตามเหตุผลข้างต้นสามารถแบ่งสัญญาใช้หลายบริษัทก่อสร้างได้พร้อมกันทำให้สร้างเสร็จเร็วขึ้นได้ ลดระยะเวลาและปัญหาการจราจรระหว่างก่อสร้างจะเห็นได้ว่า การออกแบบและวิธีก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินและตัวสถานีราชปรารภข้างต้น เป็นวิธีที่พยายามลดผลกระทบด้านการเวนคืนในภาพรวม ลดต้นทุนและเวลาการก่อสร้าง (ที่จะมีรถติด) และลดค่าใช้จ่ายการเดินรถไฟฟ้าในระยะยาวเต็มที่ที่สุดแล้ว

3. ความจำเป็นในการออกแบบให้สถานีราชปรารภเชื่อมต่อกับสถานี Airport Link

3.1 ที่ผ่านมามีการตำหนิ (และเรียกร้อง) มาตลอดว่า สถานีเพชรบุรีของ รฟม. และ Airport Link ไม่ต่อเชื่อมกัน ไม่สะดวก ทำให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อกันลำบาก โดยเฉพาะเมื่อมีกระเป๋าเดินทาง ทำให้เสียชื่อเสียงของประเทศมาก เป็นการออกแบบที่ไม่ดี สร้างผลกระทบต่อจำนวนผู้โดยสารและรายได้ของรถไฟฟ้าทั้งสองเส้นทางอย่างมาก

3.2 ปัญหาคือ สถานีราชปรารภตำแหน่งที่ 1 ตามแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสายหลักและสายรองในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่รัฐบาลที่แล้วอนุมัติในปี 2553 (จะอยู่ตรงหน้า Watergate Pavilions พอดี) มีปัญหาคือ ไม่ติดสถานี Airport Link และตั้งอยู่ใกล้กับสถานีประตูน้ำเกินไปและไกลจากสถานีรางน้ำเกินไป (ควรมีระยะห่างที่เหมาะสม)

3.3 ดังนั้น ตามนโยบายทั้งของรัฐบาลและ รฟม.จึงต้องออกแบบสถานีราชปรารภตามตำแหน่งที่ 2 เพื่อให้ใกล้สถานี Airport Link มากที่สุด แต่ในทางเทคนิคก่อสร้างยังต้องมีระยะห่างตามแนวทิศทางของอุโมงค์ราว 50 เมตร เพื่อให้การก่อสร้างอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินต่อจากสถานีราชปรารภไปสถานีรางน้ำสามารถใช้หัวเจาะอุโมงค์ (Tunnel Boring Machine) ได้

3.4 ดังนั้น ระยะห่างจาก Airport Link อีก 50 เมตร จึงต้องสร้างเป็นทางเดินเชื่อมต่อที่สะดวก เป็นทางยกระดับจากสถานีราชปรารภ ข้ามถนนมักกะสัน เชื่อมสถานี Airport Link ที่ระดับกลาง (แทนที่จะเป็นการเดินลากกระเป๋าเดินทางไปตามทางเท้าแคบๆขรุขระ ที่มีผู้ค้าหาบเร่แผงลอยอยู่เต็มจนล้นออกถนน) จึงต้องออกแบบให้ใช้พื้นที่แนวตึกแถวต่อเนื่องจากแนวสถานีราชปรารภจนถึงถนนมักกะสัน เพื่อสร้างทางเดินเชื่อมต่อดังกล่าว

3.5 ไม่ว่าตำแหน่งที่ 1 หรือ 2 ตึกแถวด้านตะวันออกของถนนราชปรารภจะถูกเวนคืนอย่างน้อย ยาว 228 เมตร (Watergate Pavilions จะไม่กระทบอยู่แล้วเนื่องจากเป็นอาคารที่มีระยะร่นจากถนน) ตำแหน่งที่ 2 จึงไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ใคร และการที่มีการกว้านซื้อที่ดินหลังแนวสถานีนั้น อยู่นอกเหนือการควบคุมหรือรับทราบของ รฟม.

4. ผลพลอยได้ในการใช้พื้นที่เหนือสถานีราชปรารภ

4.1 พื้นที่เหนือสถานีราชปรารภที่กินตึกแถวตามความยาวสถานีจนชนถนนมักกะสัน เมื่อก่อสร้างแบบขุดเปิดหน้าดินแล้วกลบแล้ว (Cut & Cover) หลังจากนั้นสามารถใช้เป็นทางเบี่ยงการจราจรทำให้ไม่ลดพื้นที่จราจรของถนนราชปรารภ และรถก่อสร้างจะเข้าออกทางถนนมักกะสันได้ด้วย ช่วยลดปัญหาการจราจรในช่วงก่อสร้าง

4.2 พื้นที่เหนือสถานีราชปรารภหลังการก่อสร้างเสร็จ จะสร้างเป็นพื้นที่จอดรับส่ง (Kiss & Ride) และเส้นทางให้รถจากถนนมักกะสันสามารถเข้ามารับส่งผู้โดยสารที่สถานีราชปรารภและวนออกไปได้ โดยไม่กระทบกับกระแสจราจรถนนราชปรารภโดยเฉพาะบัสเลน และจะสร้างเป็นอาคารที่มีทางเดินเชื่อมต่อยกระดับจากสถานีราชปรารภ ข้ามถนนมักกะสัน เชื่อมสถานี Airport Link เพื่อเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองได้สะดวก (นอกเหนือจากการที่มีพื้นที่เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ)

4.3 การออกแบบนี้จึงเป็นไปตามหลักวิชาการการเชื่อมต่อการเดินทาง (ITF หรือ Intermodal Transportation Facilities) ที่จะทำให้การใช้บริการและการลงทุนรถไฟฟ้าเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย มากที่สุด (Win-Win-Win)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?