การเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปและไทย: ชะตากรรมสำหรับการเข้าถึงยาจะเป็นเช่นไร

จันทร์ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๓ ๐๙:๕๒
แถลงการณ์ร่วมโดย เฮลธ์ แอคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล, อ๊อกซ์แฟม และ แอคชั่น อเก้นส์ เอดส์ เยอรมนีการเจรจาเอฟทีเอระหว่างสหภาพยุโรปและไทย: ชะตากรรมสำหรับการเข้าถึงยาจะเป็นเช่นไร

สัปดาห์นี้ ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม นายกรัฐมนตรีและคณะเจรจาการค้าของไทยอยู่ระหว่างการเยือนกรุงบรัสเซลส์เพื่อหารือกับเจ้าหน้าที่ของสหภาพยุโรปเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับอียูอย่างเป็นทางการ จากประสบการณ์ของพวกเราจากการเจรจาของสหภายุโรปที่มีก่อนหน้า พวกเรามีความห่วงใยอย่างยิ่งต่อผลกระทบที่จะเกิดความตกลงด้านการค้าเสรีนี้ต่อการเข้าถึงยาในประเทศไทยและภูมิภาค

“จุดยืนของสหภาพยุโรปด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มีมาในเอฟทีเอก่อนหน้า รวมทั้งการเจรจาที่ล้มเหลวอย่างการเจรจาระหว่างอียูกับอาเซียนชี้ให้เห็นว่า อียูจะผลักดันให้ไทยต้องยอมรับมาตรฐานการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือความตกลงทริปส์ในองค์การการค้าโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยา” นางสาวเทสเซล เมลลีมา เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายด้านนวัตกรรมและการเข้าถึงยาของ เฮลธ์ แอคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว

การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเกินเลย รวมถึงการถ่วงเวลาการเข้าสู่ตลาดของยาชื่อสามัญ เพื่อรักษาสิทธิการผูกขาดตลาด คงราคายาให้สูงมากต่อไป ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อการเข้าถึงการรักษา ข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาแบบทริปส์พลัสที่เกิดขึ้นในเอฟทีเอของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯทำให้ยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาดน้อยลง ซึ่งนำไปสู่การขึ้นราคายา [i] ข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปที่มีต่ออินเดียในการเจรจาเอฟทีเอ ทำให้เกิดแรงต่อต้านจากองค์กรระหว่างประเทศ รัฐบาลประเทศกำลังพัฒนา และภาคประชาสังคม จนทำให้ สภายุโรปตัดสินใจคว่ำความตกลงด้านการต่อต้านสินค้าปลอมแปลง (ACTA) ที่มีการบังคับใช้กฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มากเกินซึ่งจะไปทำลายการแข่งขันของยาชื่อสามัญ

ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุขในยุโรป, สภายุโรป, ยูเอ็นเอดส์, ยูเอ็นดีพี, คณะกรรมาธิการด้านนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาและการพัฒนา ของสหราชอาณาจักร, คณะกรรมาธิการด้านเอชไอวี/เอดส์และกฎหมาย ของสหประชาชาติ, นักวิชาการด้านทรัพย์สอนทางปัญญาระดับโลก และองค์การอนามัยโลก ต่างยอมรับว่า การเชื่อมโยงกันระหว่าง เนื้อหาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าทริปส์ (ทริปส์พลัส) จะให้ประโยชน์แก่ผู้ทรงสิทธิมากจนเกินไป ขณะที่เกิดผลลบต่อการเข้าถึงยา[ii]

นอกจากนี้ พวกเรากังวลว่า ในการเจรจาเอฟทีเอ สหภาพยุโรปมีแนวโน้มจะเรียกร้องให้ไทยต้องยอมรับกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน ภายใต้เนื้อหาเช่นนี้ บรรษัทยาสามารถอ้างว่า กฎระเบียบด้านสุขภาพของรัฐบาลส่งผลลบต่อการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้บรรษัทยาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาลไทย โดยอ้างว่ามาตรการส่งเสริมการเข้าถึงยาของรัฐบาล เช่น การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ส่งผลลบต่อการลงทุนทรัพย์สินทางปัญญา ประเด็นนี้อาจเป็นการข่มขู่ที่น่ากลัวและเป็นไปได้ที่รัฐบาลไทยอาจไม่กล้าออกมาตรการในการลดราคายา: ธนาคารโลกประมาณการว่าถ้ารัฐบาลไทยใช้สิทธิตามสิทธิบัตร จะลดราคายาต้านไวรัสเอ็ดส์สูตรสองได้ร้อยละ 90 รัฐบาลสามารถประหยัดงบประมาณที่ต้องใช้ได้ถึง 3.2 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2568.[iii]

สัปดาห์ที่ผ่านมา องค์กรภาคประชาสังคมและประชากรไทยได้เดินขบวนและส่งเสียงความห่วงใยต่อรัฐบาลในการเจรจากับสหภาพยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อราคายา เมล็ดพันธุ์ และผลิตผลการเกษตรในประเทศไทย ได้ร้องเรียนว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาสังคม ในกรอบการเจรจาเอฟทีเอ ที่จัดโดยรัฐสภาไทยเป็นการหลอกลวง สัปดาห์ที่แล้วพลเมืองและนักกิจกรรมไทยกว่า 1,500 คนชุมนุมกันด้านนอกทำเนียบรัฐบาลเพื่อบอกกล่าวความกังวลของพวกเขา (ชมภาพได้ที่[iv])

สหภาพยุโรปควรละเว้นข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์, ข้อบทว่าด้วยการลงทุน และเลิกใช้เอฟทีเอเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนผลประโยชน์ทางการค้าของอุตสาหกรรมยาอย่างผิดๆ โดยไปทำลายโอกาสทางนวัตกรรมและการเข้าถึงยาในประเทศไทย

“สหภาพยุโรปควรรับรองว่า นโยบายการค้าของสหภาพยุโรปจะต้องตั้งอยู่บนวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สร้างการเข้าถึงยา สหภาพยุโรปต้องพิจารณาบริบทของพรมแดนและผลกระทบที่เกิดจากข้อเรียกร้องด้านทรัพย์สินทางปัญญาของตน การตั้งกำแพงการผูกขาดมีแต่จะทำให้ความไม่เป็นธรรมด้านสุขภาพและการพัฒนาดำรงอยู่ในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และประเทสกำลังพัฒนา” นางสาวเลย์ลา โบดอกซ์ แห่ง อ็อกซ์แฟม อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

เฮลธ์ แอคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (Health Action International (HAI) Europe) Tessel Mellema, [email protected]

อ๊อกซ์แฟม อินเตอร์เนชั่นแนล (Oxfam International) Leila Bodeux, [email protected]

แอคชั่น อเก้นส์ เอดส์ เยอรมนี (Action against AIDS Germany / Aktionsb?ndnis gegen AIDS) Marco Alves, [email protected]

Link to this press release online: http://haieurope.org/wp-content/uploads/2013/03/Press-release-EU-Thailand-FTA-5-March-final.pdf

Tessel Mellema

Policy Advisor- Trade, Innovation & Access to Medicines

Health Action International (HAI) Europe

Overtoom 60 II, 1054 HK Amsterdam

t. +31 20 683 3684

f. +31 20 685 5002

e. [email protected]

w. www.haieurope.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4