สภาที่ปรึกษาฯ จัดวพากษ์ความพร้อมของประเทศไทยต่อการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)

จันทร์ ๐๓ มิถุนายน ๒๐๑๓ ๑๐:๑๐
คณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้ผู้บริโภค จัดสัมมนาเรื่อง “ ข้อตกลงทางการค้ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค กรณี TPP และ EU-ไทย FTA”” เพื่อศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยจากการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภค นักวิชาการ ภาคเอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนและสื่อมวลชน ในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ ศูนย์ราชการฯแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

โดยมี ศาสตรเมธี ดร.สุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม ประธานคณะทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิต สาธารณสุข และคุ้มครองผู้ผู้บริโภค สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ กล่าวเปิดสัมมนา โดยกล่าวว่า TPP เป็นความตกลงการค้าเสรีที่มีลักษณะกว้างขวาง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดภาษี ในประเทศสมาชิกลง 90 % ในปี 2549และมุ่งให้ภาษีเป็นศูนย์ภายในในปี 2558 นอกจากนี้ยังมีการเจรจาครอบคลุมประเด็นหลักอื่นๆ อาทิ การค้าสิ้นค้า กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การเยียวยาทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญาและนโยบายการแข่งขันและการจัดซื้อจัดหาโดยรัฐ ซึ่งสหรัฐอเมริกาเองก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้การเจรจา TPP ประสบความสำเร็จ โดยประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยที่จะเข้าร่วมในการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนดังกล่าว ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว แสดงการคัดค้านของกลุ่มนักวิชาการและภาคประชาชน ว่าอาจจะเกิดปัญหาขึ้น หากมิได้มีการพิจารณาถึงผลกระทบอย่างรอบครอบและรอบด้าน

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุขและคุ้มครองผู้บริโภค ด้านบริการ กล่าวว่า หัวข้อในการสัมมนาจะศึกษาผลกระทบจากการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP และ การเจรจาความตกลง FTA ไทย EU ซึ่งประเด็นเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขไม่แตกต่างกันในนัยยะสำคัญ หลังจากที่ทางสภาที่ปรึกษาฯเสนอให้รัฐบาลกำหนดให้ (ร่าง) กรอบการเจรจาฯ ระบุอย่างชัดเจนให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาต้องไม่เกินไปกว่าความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้าขององค์การการค้าโลก

นางพิราภรณ์ กิจไพฑูรย์ ผู้อำนวยการส่วนบูรณาการ ๒ (อเมริการิเหนือ) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP มีพัฒนาการมาจาก P4 ประกอบด้วย ประเทศชิลี นิวซีแลนด์ สิงค์โปร และบูรไน ต่อมาในปี 2551 ประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมเจรจากับประเทศสมาชิก P4 ในปี 2553 ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ประกาศว่า ความตกลง TPP จะเป็นต้นแบบสำหรับการเจราจาทำความตกลงเปิดเสรีทางเศรษฐกิจการค้าในกลุ่มเอเปค (Free Trade Area of the Asia Pacific : ETAAP) ปัจจุบันมีสมาชิก 11 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย บรูไน ชิลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ สหรัฐฯ เวียดนาม แคนนาดา และเม็กซิโก โดยที่ TPP เป็นต้นแบบในการเปิดการค้าเสรีในเศรษฐกิจยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ที่มีมาตรฐานสูงและมีกรอบกว้างขวาง ขณะนี้ประเทศญี่ปุ่นมีความสนใจเข้าร่วม แม้ประเทศสมาชิก 11 ประเทศก็มีฉันทามติให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้าร่วมเป็น สมาชิกลำดับที่ 12 ได้ แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันทีเพราะต้องรอให้ประเทศสมาชิกปรับแก้ไขข้อกฎเกณฑ์ในประเทศก่อน ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ คือ การรักษาส่วนแบ่งตลาดของไทย เนื่องจากไทยทำการค้ากับสมาชิก TPP 11 ประเทศมีมูลค่าสูง ทำให้สินค้าส่งออกของไทยได้รับสิทธิพิเศษเรื่องภาษีนำเข้าสหรัฐฯเป็นศูนย์เป็นการถาวร อีกทั้งช่วยรักษาและดึงดูดการค้า การลงทุนจากสมาชิก TPP และประเทศคู่ค้าอื่นๆ ให้ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต การค้า ในภูมิภาค และมีส่วนช่วยผลักดันการปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบเศรษฐกิจการค้าของไทย ในส่วนผลกระทบที่จะตามมาคือ การนำเข้าสินค้าและบริการจากสมาชิก TPP เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนกฏระเบียบต่างๆให้สอดคล้องกับมาตรฐานการค้าและการแข่งขันที่สูงขึ้น ตามเงื่อนไขและมาตรฐานของ TPP ด้วย

ดร.บัณทูร เศรษฐศิโรตน์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สำหรับประเด็นการเจรจาในเรื่องสิ่งแวดล้อมภายใต้ TPP มีข้อเรียกร้องสำคัญหลายประการที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งทางบวกและทางลบ เช่น สหรัฐฯมีข้อกำหนดให้คู่เจรจาต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อรองรับการให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม 7 ฉบับ ซึ่งมีในนัยว่า สหรัฐต้องการให้ประเทศคู่เจรจายอมรับสิทธิและพันธกรณีในความตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมที่สหรัฐฯเป็นสมาชิกอยู่เท่านั้น ประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อม ต้องศึกษาข้อมูลต่างๆให้รอบครอบก่อนที่จะดำเนินการขอเข้าร่วมเป็นสมาชิก TPP ประเทศไทยต้องคำนึงถึงต้นทุนทางเศรษฐกิจ ต้องมีการศึกษาในภาพรวมมิใช่มองส่วนใดส่วนหนึ่ง จำเป็นที่ต้องมีเครื่องมือในการประเมินผลกระทบด้านต่างๆ ของ TPP ด้วย

ด้านคุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล เลขานุการและสมาชิกคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นมีการศึกษามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี เกี่ยวกับการเข้าร่วม TPP ในขณะที่อเมริกาเองก็มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในกลุ่มประเทศอาเซียน ในส่วนของประเทศไทยยังไม่มีการวิจัยเรื่อง TPP โดยเฉพาะ แต่มีเอกสารอ้างอิงมางานวิจัยของบริษัท ไบรอัน เคฟ ที่ร่วมกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ร่วมกันทำการศึกษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย FTA ไทยสหรัฐฯ โดยการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการใช้ TPP ในการคานอำนาจกับประเทศจีน ไทยควรเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ TPP โดยมีเงื่อนไขว่า 1.ประเทศสมาชิก TPP ยอมรับที่จะไม่ผลักดันให้ไทยขยายอายุสิทธิบัตรยา มากไปกว่าระดับความคุ้มครองภายใต้กรอบความตกลงหรืออนุสัญญาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ไทยเป็นสมาชิก 2. ประเทศสมาชิก TPP ยอมรับที่จะไม่ผลักดันบทบัญญัติด้านบริการทางการเงินมากกว่าหลักการภายใต้ GATS 3.ประเทศสมาชิก TPP ยอมรับที่ไทยจะไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกอนุสัญญา UPOV

ดร.นุศราพร เกษสมบูรณ์ นักวิจัย HIA ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก หรือที่เรียกว่า ทริปส์พลัส ซึ่งนั่นจะบ่อนทำลายศักยภาพของประเทศไทยในการผลิตยาชื่อสามัญทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ จะเกิดผลกระทบต่อการเข้าถึงยา เพราะว่ายาจะมีราคาที่แพงขึ้น จากสถิติแล้วคนไทยเป็นเจ้าของสิทธิบัตรยามีน้อยถ้าเทียบกับ เจ้าของสิทธิบัตรจากต่างประเทศ ทำให้ไทยมีแนวโน้มในการนำเข้ายาจากต่างประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงร้อยละ 70 ขณะที่ประเทศไทยมีการอัตราการผลิตยาได้เองร้อยละ 30

นายจักรชัย โฉมทองดี กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน กล่าวว่า สิ่งที่สังคมไม่ทราบว่า การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ประเทศไทยจะได้อะไรบ้าง เกิดประโยชน์อะไร ข้อตกลง FTA แทบจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศโซนยุโรปเลย ทุกวันค่าเงินบาทแข็งค่าเพราะนักลงทุนจากต่างประเทศนำเม็ดเงินเข้ามาลงทุนตลอด ถ้ามีการเปลี่ยนก็ไม่อยู่ในปริมาณที่มีนัยยะสำคัญแต่อย่างใด แต่อาจจะมีนักลงทุนชาติอื่นมาใช้ฐานการผลิตของไทยเพื่อมาส่งออกสินค้าไปสู่ยุโรปส่วนนี้ก็อาจจะมีผลบ้าง จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบ ออกมาชี้แจงผลดีผลเสียที่ได้พิจารณาและนำมาสู่ข้อสรุปในการแสดงเจตจำนงในการเข้าร่วม TPP เพราะจนถึงขณะนี้สังคมยังไม่ทราบเลยว่า คณะรัฐมนตรีตัดสินใจบนฐานข้อมูลใด

และในช่วงบ่ายได้มีการแบ่งกลุ่มย่อย เพื่อเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเจรจาความตกลงดังกล่าวรวมทั้งการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการสัมมนาของคณะทำงานจะได้นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อจัดทำเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?